Page 103 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดพังงา
P. 103

5-3





                                (3) ปลูกฝังให้ชุมชนมีความรู้สึกรัก และหวงแหนทรัพยากรป่าไม้ โดยให้ความรู้

                  เกี่ยวกับผลประโยชน์ที่ได้รับจากทรัพยากรป่าไม้ ผลเสียของการตัดไม้ท าลายป่า และความส าคัญ
                  ของทรัพยากรป่าไม้ที่มีต่อส่วนรวมเพื่อให้ชุมชนมีความเข้าใจ และมีส่วนร่วมในการฟื้นฟู และรักษา
                  สภาพป่าไม้

                              3) เขตฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ภายใต้เงื่อนไข 1 มีเนื้อที่ 211,659 ไร่ หรือร้อยละ
                  8.12 ของเนื้อที่จังหวัด พื้นที่ในเขตนี้มีลักษณะเช่นเดียวกับเขตคุ้มครองสภาพป่า และเขตฟื้นฟูสภาพป่า

                  1 คือ สภาพภูมิประเทศจะมีตั้งแต่ ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ จนไปถึงเนินเขา มีความลาดชัน
                  มากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งไม่เหมาะสมส าหรับการท าเกษตรกรรม แต่ปัจจุบันมีการบุกรุกท าลายป่าเพื่อท าการ
                  เกษตรกรรม ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ท านาข้าว ปลูกพืชไร่ผสมกับไม้ยืนต้น เช่น สับปะรด/ยางพารา และสับปะรด/

                  ปาล์มน้ ามัน ไม้ผล เช่น ไม้ผลผสม ทุเรียน เงาะ มะพร้าว มะม่วง มะม่วงหิมพานต์ กล้วย และมังคุด
                  ไม้ยืนต้น เช่น ไม้ยืนต้นร้าง/เสื่อมโทรม ไม้ยืนต้นผสม ยางพารา ปาล์มน้ ามัน และหมาก ซึ่งก่อให้เกิด
                  ปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จึงต้องเร่งรัดด าเนินการฟื้นฟูให้มีสภาพ
                  เป็นป่าไม้ ด้วยการปลูกป่าทดแทนโดยเร็ว เพื่อให้เป็นพื้นที่ป่าไม้ที่สมบูรณ์และเป็นแหล่งต้นน้ าล าธาร

                  พื้นที่เขตนี้ส่วนใหญ่จะพบการกระจาย และแทรกอยู่ในเขตคุ้มครองสภาพป่า
                                รูปแบบและแนวทางการพัฒนา
                                (1) แก้ไขการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ โดยใช้มาตรการ และแนวทางแก้ไขปัญหาที่ดิน
                  ในพื้นที่ป่าไม้ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 30 มิถุนายน 2541 อย่างเข้มงวด พร้อมกับการให้ความรู้แก่ชุมชน

                  เพื่อมีส่วนร่วมในการฟื้นฟู และรักษาสภาพป่าไม้โดยมีแนวทางการด าเนินงาน ดังนี้
                                  -  ส ารวจถือครองพื้นที่ป่าไม้ และขึ้นทะเบียนบุคคล เพื่อได้ฐานข้อมูลการใช้
                  ที่ดินป่าไม้ทั้งหมดว่าใครเป็นผู้ครอบครอง ใช้ท าประโยชน์อย่างไร รวมทั้งต าแหน่งที่ตั้งของที่ดิน
                                  -  ตรวจสอบพิสูจน์การครอบครองของชุมชน โดยใช้ภาพถ่ายทางอากาศ

                  (ถ้าไม่มีให้ใช้ภาพดาวเทียม) ซึ่งถ่ายภาพพื้นที่นั้นไว้เป็นครั้งแรก หลังวันประกาศสงวนหวงห้ามเป็นพื้นที่
                  ป่าไม้ตามกฎหมายครั้งแรก
                                  -  กรณีผลการตรวจพิสูจน์ พบว่าชุมชนอยู่อาศัย และท ากินมาก่อนวันประกาศ

                  สงวนหวงห้ามเป็นพื้นที่ป่าไม้ ให้จัดท าขอบเขตที่อยู่อาศัย ที่ท ากินให้ชัดเจน และด าเนินการตามกฎหมาย
                  ให้ชุมชนอยู่อาศัยท ากินตามความจ าเป็น ถ้าที่อยู่อาศัย และที่ท ากินเป็นพื้นที่ล่อแหลม และคุกคาม
                  ระบบนิเวศ และการป้องกันรักษาป่าอนุรักษ์ ให้พิจารณาช่วยเหลือหาที่อยู่อาศัยและที่ท ากินใหม่ ตลอดจน
                  ส่งเสริมอาชีพ และรับรองสิทธิในที่ดิน
                                  -  กรณีผลการตรวจพิสูจน์ พบว่าชุมชนอยู่อาศัย และท ากินหลังวันประกาศ

                  สงวนหวงห้ามเป็นพื้นที่ป่าไม้ ให้เคลื่อนย้ายชุมชนออกจากพื้นที่ป่าอนุรักษ์ เตรียมแผนการรองรับ
                  ในพื้นที่เหมาะสม ส่งเสริมอาชีพ และพิจารณารับรองสิทธิในที่ดิน ถ้าเคลื่อนย้ายออกไม่ได้ ให้ด าเนิน
                  การควบคุมไม่ให้ขยายพื้นที่เพิ่มเติมเด็ดขาด จัดระเบียบที่อยู่อาศัย ที่ท ากินให้พอเพียงกับการด ารงชีพ

                                  -  จัดท าแนวเขตป่าอนุรักษ์ให้ชัดเจน และท าแนวเขตควบคุมพื้นที่ไม่ให้มีการ
                  บุกรุกขยายที่ท ากินเพิ่มเติม
                                  -  ในกรณีที่จ าเป็นต้องจัดท าขอบเขตที่ท ากินให้กับชุมชน ควรมีมาตรการ
                  ด้านการจัดระบบอนุรักษ์ดิน และน้ าเป็นพิเศษ
   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108