Page 106 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดพังงา
P. 106

5-6





                  ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์จากการส่งน้ าช่วยในการปลูกพืช โดยเฉพาะเวลาฝนทิ้งช่วง และช่วยระบายน้ า

                  ในช่วงฤดูน้ าหลาก หรือเป็นเขตที่มีการปลูกพืช GI ของไทย (สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์) ซึ่งพืช GI
                  ของจังหวัดพังงา ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์  ได้แก่ ข้าวไร่ดอกข่าพังงา
                  ทุเรียนสาลิกาพังงา มีชั้นความเหมาะสมในการปลูกพืชสูง (S1) ถึงปานกลาง (S2) เขตเกษตรกรรมนี้

                  มีศักยภาพสูงในการผลิต และสามารถพัฒนาการผลิตทั้งทางด้านคุณภาพ และปริมาณ เพื่อเพิ่มมูลค่า
                  ของผลผลิตให้สูงขึ้นได้มากกว่าเขตอื่นในพื้นที่จังหวัด เขตเกษตรกรรมชั้นดี สามารถแบ่งได้เป็น 3 เขตย่อย
                  ได้แก่ เขตท านา เขตปลูกไม้ผล และเขตปลูกไม้ยืนต้น โดยมีรายละเอียดดังนี้

                              1) เขตท านา มีเนื้อที่ 627 ไร่ หรือร้อยละ 0.02 ของเนื้อที่จังหวัด สภาพพื้นที่ในเขตนี้
                  เป็นพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีเนื้อดินเป็นดินเหนียวปนทรายแป้ง ดินร่วนเหนียวถึงดินร่วน

                  เหนียวปนทราย ดินร่วนปนทรายแป้ง และดินร่วนทราย เป็นดินลึกมาก มีการระบายน้ าดีปานกลางถึง
                  เลว ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ า สภาพการใช้ที่ดินในปัจจุบันเป็นนาข้าว นาร้าง ทุ่งหญ้าธรรมชาติ
                  และทุ่งหญ้าสลับไม้พุ่ม/ไม้ละเมาะ พื้นที่เขตนี้ก าหนดให้เป็นเขตเกษตรกรรมเพื่อการปลูกข้าวที่อาศัย
                  ระบบชลประทาน พื้นที่เขตนี้พบทางตอนกลางของอ าเภอทับปุด ทางตะวันออกของอ าเภอเมืองพังงา

                  และทางตอนใต้ของอ าเภอท้ายเหมือง

                              2) เขตปลูกไม้ผล มีเนื้อที่ 1,229 ไร่ หรือร้อยละ 0.04 ของเนื้อที่จังหวัด สภาพพื้นที่
                  ในเขตนี้เป็นพื้นที่ราบเรียบ หรือค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนชัน มีเนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียว ดินร่วนเหนียว
                  ปนทราย ดินร่วนถึงดินร่วนปนทรายแป้ง และดินร่วนทราย เป็นดินลึกมาก มีการระบายน้ าดีถึงดีปานกลาง
                  ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ าถึงปานกลาง มีความเหมาะสมปานกลางถึงสูงส าหรับปลูกไม้ผล สภาพการ

                  ใช้ที่ดินในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นไม้ผล เช่น ไม้ผลผสม ทุเรียน เงาะ มะพร้าว มะม่วงหิมพานต์ กล้วย มังคุด
                  ลางสาด ลองกอง และมะนาว พื้นที่เขตนี้พบทางตอนกลางของอ าเภอคุระบุรี ตอนกลางอ าเภอทับปุด
                  ตอนใต้อ าเภอท้ายเหมือง และรอยต่อระหว่างอ าเภอเมืองพังงาและอ าเภอตะกั่วทุ่ง

                              3) เขตปลูกไม้ยืนต้น มีเนื้อที่ 27,038 ไร่ หรือร้อยละ 1.04 ของเนื้อที่จังหวัด สภาพพื้นที่
                  ในเขตนี้เป็นพื้นที่ราบเรียบ หรือค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนชัน มีเนื้อดินเป็นดินเหนียวปนทรายแป้ง

                  ดินร่วนเหนียวปนทราย ดินร่วนปนทรายแป้ง และดินร่วนทราย ลักษณะดินเป็นดินลึกปานกลางถึงลึกมาก
                  มีการระบายน้ าค่อนข้างดีถึงเลว ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ าถึงปานกลาง มีความเหมาะสมปานกลางถึงสูง
                  ส าหรับปลูกไม้ยืนต้น บางบริเวณเป็นที่ลุ่มซึ่งมีการจัดการพื้นที่ในรูปแบบต่างๆ เพื่อป้องกันปัญหาน้ าท่วม

                  เช่น การท าคันดิน การยกร่องและการพูนโคน เป็นต้น สภาพการใช้ที่ดินในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็น
                  ไม้ยืนต้น เช่น ไม้ยืนต้นร้าง/เสื่อมโทรม ไม้ยืนต้นผสม ยางพารา ปาล์มน้ ามัน กระถิน ไผ่ หมาก มีบางพื้นที่
                  ปลูกไม้ยืนต้นร่วมกับไม้ผล เช่น ยางพารา/ไม้ผลผสม ยางพารา/กล้วย ยางพารา/มังคุด ยางพารา/ลางสาด
                  ลองกอง และปาล์มน้ ามัน/กล้วย พื้นที่เขตนี้จะมีลักษณะแบบกระจุกตัวซึ่งพบทางตอนกลางค่อนไปทาง
                  ตะวันออกของอ าเภอคุระบุรี ตอนกลางอ าเภอทับปุด และรอยต่อกับอ าเภอเมืองพังงา ทางตะวันตกของ

                  อ าเภอเมืองพังงารอยต่ออ าเภอตะกั่วทุ่ง และทางตอนล่างของอ าเภอท้ายเหมือง
   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111