Page 74 - Land Use Plan of Thailand
P. 74

3-6





                                       -  กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินร่วน มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วน ดินร่วนปนทราย ดินร่วน

                  ปนทรายแป้ง ส่วนดินล่างเป็นดินร่วน ดินร่วนเหนียว ดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียวปนทราย หรือดินร่วน
                  เหนียวปนทรายแป้งได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 33 35 36 37 38 40 56 และ 60

                                       -  กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินทราย มีเนื้อดินทั้งบนและล่างเป็นดินทราย หรือดินทราย
                  ปนดินร่วน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 41 และ 44

                                       -  กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินตื้น มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วน ดินร่วนปนทราย หรือดิน

                  ร่วนเหนียว ส่วนดินล่างเป็นดินร่วน ดินร่วนเหนียวหรือดินเหนียวปนกรวดหรือลูกรัง ปริมาณเท่ากับหรือ
                  มากกว่าร้อยละ 35 โดยปริมาตร หรือถึงชั้นหินพื้นหรือชั้นมาร์ล ภายในความลึก 50 เซนติเมตรจากผิวดิน
                  ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 46 47 48 49 และ 52

                                   (3)  ดินบริเวณพื้นที่ภูเขาสูง มีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ ได้แก่ กลุ่ม
                  ชุดดินที่ 62

                               3)  ทรัพยากรดินภาคกลาง

                                   พื้นที่ภาคกลาง มีเนื้อที่รวม 43,450,440 ไร่ ประกอบด้วยพื้นที่ 19 จังหวัด ได้แก่

                  จังหวัดกรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี
                  สุพรรณบุรี กาญจนบุรี นครนายก ราชบุรี นครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี
                  และประจวบคีรีขันธ์ ลักษณะสภาพภูมิประเทศทางด้านตะวันตกเป็นภูเขาและเทือกเขาสูง ทอดยาวใน
                  แนวเหนือ-ใต้ ต่อเนื่องจากทางภาคเหนือด้านตะวันออกของเทือกเขาเป็นที่ลาดชันเชิงเขาที่ทอดลงสู่ที่

                  ราบภาคกลางและชายฝั่งทะเลมีลักษณะเป็นเนินตะกอนรูปพัด ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบ
                  ลุ่มตามล้าน้้าที่ไหลลงสู่อ่าวไทย แบ่งได้เป็น 4 บริเวณ คือ 1) บริเวณที่ราบลุ่มน้้าตอนบนตั้งแต่จังหวัด
                  นครสวรรค์ขึ้นไปเป็นที่ราบถึงลูกคลื่น 2) บริเวณเขาโดดนครสวรรค์เป็นที่ราบถึงลูกคลื่นและมีกลุ่มเนิน
                  เขาเตี้ยๆ ในแนวเหนือ-ใต้ จากจังหวัดนครสวรรค์ถึงชัยนาท และเป็นแนวแบ่งเขตที่ราบลุ่มน้้าตอนบนและ

                  ตอนล่างออกจากกัน 3) บริเวณขอบที่ราบลุ่มตอนบนและตอนล่างเป็นเนินเขา และที่ราบเชิงเขา ที่เกิด
                  จากการกร่อนและทับถมของตะกอนเป็นชั้นบางๆ ปะปนกับเศษชิ้นส่วนหิน บริเวณบางส่วนของจังหวัด
                  อุทัยธานี สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี และพิษณุโลก และ 4) บริเวณที่ราบลุ่มตอนล่างตั้งแต่จังหวัดชัยนาท
                  ลงมาถึงอ่าวไทย เป็นดินดอนสามเหลี่ยมที่เกิดจากการทับถมของตะกอนแม่น้้า มีความลาดชันน้อย


                                   ทรัพยากรดินในพื้นที่ภาคกลาง ประกอบด้วย
                                   (1)  ดินในพื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ราบลุ่มหรือพื้นที่น้้าขังพบตั้งแต่ที่ราบชายฝั่งน้้าทะเลท่วม

                  ถึง ที่ราบน้้าทะเลเคยท่วมถึง ที่ราบลุ่มน้้าท่วมถึงตะพักล้าน้้าจนถึงพื้นที่ราบระหว่างเนินเขาและหุบเขา มี
                  สภาพพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีน้้าแช่ขังและมีระดับน้้าใต้ดินอยู่ใกล้ผิวดินเป็นเวลานานในช่วงฤดู
                  ฝน การระบายน้้าค่อนข้างเลวถึงเลวมาก ดินมีสีเทาหรือสีเทาอ่อน มีจุดประสีตลอดหน้าตัดดิน ที่บ่งบอกถึง

                  การมีน้้าแช่ขังนานในหน้าตัดดิน ปฏิกิริยาดินส่วนใหญ่เป็นกรดปานกลางจนถึงเป็นด่างปานกลาง หากบริเวณ
                  ใดมีอิทธิพลของดินเปรี้ยวจัดเข้ามาเกี่ยวข้อง ปฏิกิริยาดินจะเป็นดินกรดรุนแรงมากถึงเป็นกรดจัดมาก ความอุดม
                  สมบูรณ์ปานกลางถึงสูง ประกอบด้วย 22 กลุ่มชุดดิน โดยจ้าแนกตามกลุ่มเนื้อดินอย่างกว้างๆ ได้ 6 กลุ่ม ดังนี้
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79