Page 77 - Land Use Plan of Thailand
P. 77

3-9





                  อ่าวไทยเป็นที่ราบชายฝั่งแคบๆ ที่มีแม่น้้าหลายสายไหลผ่าน ทางตะวันตกและทางใต้เป็นฝั่งทะเลติดกับอ่าว

                  ไทย มีเกาะใหญ่น้อยมากมาย นอกจากนี้ยังประกอบด้วยพื้นที่เนินเตี้ยสลับกับพื้นที่ราบ บางบริเวณมีภูเขา
                  ติดกับฝั่งทะเล บริเวณฝั่งทะเลเป็นที่ราบลุ่มที่น้้าทะเลเข้าถึงและปกคลุมไปด้วยป่าชายเลนและป่าโกงกางเป็น
                  ส่วนใหญ่ และมีเกาะขนาดต่างๆ อีกหลายเกาะ แม่น้้าสายส้าคัญในภาคนี้เป็นแม่น้้าที่มีขนาดสั้น มีต้นก้าเนิด

                  จากภูเขาภายในภาคเองและไหลลงสู่ทะเล ได้แก่ แม่น้้าระยอง แม่น้้าเวฬุ แม่น้้าประแสร์ แม่น้้าจันทบุรี
                  คลองใหญ่ ดังนั้นจึงพบบริเวณที่ราบชายฝั่งที่เกิดจากแม่น้้าดังกล่าว แต่เป็นบริเวณที่ไม่กว้างมากนัก

                                   ทรัพยากรดินในพื้นที่ภาคตะวันออก ประกอบด้วย

                                   (1)  ดินในพื้นที่ราบลุ่มหรือพื้นที่น้้าขัง พบตั้งแต่ที่ราบชายฝั่งน้้าทะเลท่วมถึง ที่ราบน้้า
                  ทะเลเคยท่วมถึง บริเวณที่ลุ่มต่้าระหว่างสันทราย ที่ราบลุ่มน้้าท่วมถึงตะพักล้าน้้าจนถึงที่ราบระหว่างเนินเขา
                  และหุบเขา มีสภาพพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ ช่วงฤดูฝนมีน้้าแช่ขังแฉะมีระดับน้้าใต้ดินอยู่ใกล้ผิว
                  ดิน การระบายน้้าค่อนข้างเลว เลว ถึงเลวมาก ดินมีสีเทาหรือสีเทาอ่อน จุดประสีตลอดหน้าตัดดิน ที่บ่งบอก

                  ถึงการมีน้้าแช่ขังในหน้าตัดดิน ปฏิกิริยาดินส่วนใหญ่เป็นกรดปานกลางถึงเป็นด่างปานกลาง ความอุดม
                  สมบูรณ์ต่้าถึงสูง หากบริเวณใดมีอิทธิพลของดินเปรี้ยวจัดเข้ามาเกี่ยวข้อง ปฏิกิริยาดินจะเป็นดินกรดรุนแรง
                  มากถึงเป็นกรดจัดมาก ประกอบด้วย 23 กลุ่มชุดดิน โดยจ้าแนกตามกลุ่มเนื้อดินอย่างกว้างๆ ได้ 6 กลุ่ม ดังนี้

                                       -  กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินเลนเละ มีเนื้อดินเป็นดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทราย

                  แป้ง ดินมีศักยภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด ยังได้รับอิทธิพลจากน้้าทะเลขึ้นลงเป็นประจ้าทุกวัน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 13

                                       -  กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินเหนียว มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วน ดินร่วนเหนียวปนทราย
                  แป้งหรือดินเหนียว ส่วนดินล่างเป็นดินเหนียว หรือดินเหนียวปนทรายแป้ง บางบริเวณอาจได้รับอิทธิพลของ
                  หินปูนหรือหินอัคนี ท้าให้มีเนื้อดินเป็นดินเหนียวจัด ส่วนบริเวณที่ได้รับอิทธิพลของตะกอนทะเลมักมี
                  ศักยภาพในการเป็นดินเปรี้ยวจัด ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 1 2 3 4 5 6 7 9 10 11 และ 14

                                       -  กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินร่วน มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วน ดินร่วนปนทราย ดินร่วน

                  ปนทรายแป้ง ส่วนดินล่างเป็นดินร่วน ดินร่วนเหนียว ดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียวปนทราย หรือดินร่วน
                  เหนียวปนทรายแป้ง ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 15 16 17 18 21 22 และ 59

                                       -  กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินทราย มีเนื้อดินทั้งบนและล่างเป็นดินทราย หรือดิน
                  ทรายปนดินร่วน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 23 และ 24

                                       -  กลุ่มชุดดินที่ยกร่อง ส่วนใหญ่ทั้งดินบนและดินล่างเป็นดินเหนียว ได้แก่
                  กลุ่มชุดดินที่ 8


                                       -  กลุ่มดินที่เป็นดินตื้น มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วน ดินร่วนปนทราย หรือดินร่วน
                  เหนียว ส่วนดินล่างเป็นดินร่วน ดินร่วนเหนียวหรือดินเหนียว มีกรวดหรือลูกรังปะปนปริมาณเท่ากับหรือ
                  มากกว่าร้อยละ 35 โดยปริมาตร ภายในความลึก 50 เซนติเมตรจากผิวดิน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 25

                                   (2)  ดินในพื้นที่ดอนที่อยู่ในเขตดินชื้น ดินมีช่วงแห้งติดต่อกันน้อยกว่า 45 วัน หรือดิน
                  แห้งรวมกันน้อยกว่า 90 วันในรอบปี พบเฉพาะบริเวณพื้นที่ด้านตะวันออกของจังหวัดระยอง จันทบุรี และ

                  ตราด สภาพพื้นที่มีตั้งแต่ราบเรียบ ลูกคลื่น เนินเขา บริเวณลานตะพักล้าน้้า ลานตะพักที่เกิดจากการกัด
   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82