Page 82 - Land Use Plan of Thailand
P. 82

3-14






                        3.1.2  ดินปัญหา

                               กองส้ารวจดินและวิจัยทรัพยากรดิน (2561: 51-58) ได้จัดท้าฐานข้อมูลและแผนที่ดิน
                  ปัญหาของประเทศไทย โดยการน้าเอาฐานข้อมูลของแผนที่กลุ่มชุดดิน มาตราส่วน 1:25,000 มาจ้าแนก

                  หน่วยแผนที่ปัญหาทรัพยากรดินใหม่ ตามลักษณะและสมบัติประจ้ากลุ่มชุดดิน ได้ 5 หน่วยแผนที่ ได้แก่
                  ดินที่มีปัญหาเฉพาะทางการเกษตร (ดินอินทรีย์ ดินเค็ม ดินเปรี้ยวจัด ดินทรายจัด ดินตื้น) ดินที่ไม่มี
                  ปัญหา พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน พื้นที่น้้า และพื้นที่เบ็ดเตล็ด

                               ดินปัญหาทางการเกษตรสามารถจ้าแนกตามสาเหตุของการเกิด ได้เป็น 2 ประเภท คือ
                  ดินปัญหาที่เกิดตามสภาพธรรมชาติ และดินปัญหาที่เกิดจากการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยดินปัญหาหลัก

                  ของประเทศไทย ประกอบด้วย ดินอินทรีย์ ดินเค็ม ดินเปรี้ยวจัด ดินทรายจัด และดินตื้น ซึ่งเป็นดิน
                  ปัญหาที่เกิดตามสภาพธรรมชาติ นอกจากนี้ยังมีดินที่มีปัญหาจากการใช้ที่ดินที่ไม่เหมาะสม เช่น ดินดาน
                  จากการไถพรวน ดินปนเปื้อน ดินเหมืองแร่ร้าง และดินในพื้นที่นากุ้งร้าง เป็นต้น รวมถึงดินที่มีปัญหา

                  เล็กน้อยที่เป็นข้อจ้ากัดทางการเกษตร เช่น ดินกรด และดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่้า เป็นต้น

                               1)  ดินปัญหาที่เกิดตามสภาพธรรมชาติ

                                   ดินปัญหาที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติโดยมีสาเหตุมาจากวัตถุต้นก้าเนิดของดินคือ หิน
                  ชนิดต่างๆตลอดจนคุณสมบัติทางเคมีที่ปะปนอยู่จึงท้าให้เป็นดินที่มีปัญหา  ได้แก่ ดินอินทรีย์ ดิน
                  เค็ม ดินเปรี้ยวจัด ดินทรายจัดและดินตื้น ซึ่งดินปัญหาบางชนิด การแก้ไขจัดการเพียงเล็กน้อยสามารถ
                  เพิ่มประสิทธิภาพของการใช้ที่ดินได้ แต่บางพื้นที่อาจมีปัญหาดินมากกว่าหนึ่งอย่าง เช่น ปัญหาดินทราย

                  หรือดินตื้น จะมีปัญหาดินมีปฏิกิริยาเป็นกรดร่วมด้วย ซึ่งจ้าเป็นต้องแก้ไขร่วมกันทุกปัญหา จึงจะท้าให้การ
                  ใช้ที่ดินเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล

                                   (1)  ดินอินทรีย์

                                       ลักษณะดินอินทรีย์เป็นดินที่มีการสะสมเศษชิ้นส่วนพืชที่ก้าลังสลายตัวเกิดเป็น
                  ชั้นหนามากกว่า 40 เซนติเมตรพบในพื้นที่ลุ่มต่้า มีน้้าขังหรือชื้นแฉะเกือบตลอดปี เช่น ที่ลุ่มชื้นแฉะ ที่

                  ลุ่มต่้าระหว่างสันทรายชายฝั่งทะเล ที่เรียกว่า พรุ ในพื้นที่เหล่านี้กิจกรรมการย่อยสลายอินทรียวัตถุโดย
                  จุลินทรีย์เกิดขึ้นได้ไม่ดี ท้าให้มีกระบวนการสะสมของอินทรียวัตถุมากกว่ากระบวนการย่อยสลาย
                                   สภาพปัญหาของดินอินทรีย์ ในชั้นดินอินทรีย์จะมีกรดฮิวมิค ส่วนใต้ชั้นดินอินทรีย์ที่
                  ระดับความลึกประมาณ 80-300 เซนติเมตร เป็นดินเลนตะกอนน้้าทะเลสีเทาปนน้้าเงิน มีสารประกอบ
                  ก้ามะถันอยู่มาก เมื่อมีการระบายน้้าออกไป ดินแห้งและสัมผัสกับอากาศ เกิดเป็นกรดก้ามะถัน ท้าให้ดินมี

                  สภาพเป็นกรดรุนแรงมาก (ค่า pHต่้ากว่า 4.5)

                                       ดินอินทรีย์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

                                       (1) กลุ่มดินที่มีชั้นวัสดุอินทรีย์หนา 40-100 เซนติเมตรจากผิวดิน ได้แก่ กลุ่มชุด
                  ดินที่ 57

                                       (2) กลุ่มดินที่มีชั้นวัสดุอินทรีย์หนามากกว่า 100 เซนติเมตรจากผิวดิน ได้แก่
                  กลุ่มชุดดินที่ 58
   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87