Page 83 - Land Use Plan of Thailand
P. 83

3-15





                                       การแจกกระจายพื้นที่ดินอินทรีย์พบในบริเวณที่ลุ่มน้้าขังชายฝั่งทะเลของ

                  ภาคใต้มีพื้นที่ประมาณ345,444 ไร่ ประกอบด้วย กลุ่มดินที่มีชั้นวัสดุอินทรีย์หนา 40-100 เซนติเมตรจาก
                  ผิวดิน มีเนื้อที่ 149,279 ไร่และกลุ่มดินที่มีชั้นวัสดุอินทรีย์หนามากกว่า 100 เซนติเมตรจากผิวดิน มีเนื้อ
                  ที่ 196,165 ไร่

                                   (2)  ดินเค็ม

                                       การเกิดดินเค็มในประเทศไทยดินเค็มเกิดจากการสะสมของเกลือที่มาจากการ

                  ละลายของโดมเกลือหรือจากน้้าใต้ดินที่มีเกลือละลายน้้าอยู่มาก หรือเป็นพื้นที่ที่เคยมีน้้าทะเลท่วมถึงมา
                  ก่อน และเกิดจากการทับถมของตะกอนน้้าทะเลและตะกอนน้้ากร่อยอยู่ใต้ตะกอนน้้าจืด หรือเกิดจาก
                  อิทธิพลของน้้าทะเลท่วมถึงหรือเคยท่วมมาก่อน

                                       สภาพปัญหาของดินเค็มสภาพปัญหาของดินเค็มที่มีผลกระทบต่อการปลูกพืช
                  คือ เกิดความไม่สมดุลของธาตุอาหารมีความเป็นพิษของธาตุโซเดียมและคลอไรด์พืชที่ปลูกไม่

                  เจริญเติบโต มีล้าต้นแคระแกร็น และให้ผลผลิตต่้า

                                       ดินเค็มแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

                                       (1) ดินเค็มบกภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นดินที่มีการสะสมเกลือจากการ
                  ละลายของหินเกลือหรือจากน้้าใต้ดินที่มีเกลือละลายน้้าอยู่มาก ท้าให้พบชั้นสะสมเกลือมาก
                  นอกจากนั้น ยังมีดินเค็มที่พบคราบเกลือที่ผิวดิน และได้รับผลกระทบจากความเค็มโดยใช้คราบเกลือใน
                  ฤดูแล้งเป็นหลักอีกด้วย

                                       (2) ดินเค็มบกภาคกลางเป็นพื้นที่ที่เคยมีน้้าทะเลท่วมถึงมาก่อน และเกิดจาก

                  การทับถมของตะกอนน้้าทะเลและตะกอนน้้ากร่อยอยู่ใต้ตะกอนน้้าจืด เมื่อมีการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างไม่
                  เหมาะสม เช่น การน้าน้้าใต้ดินที่มีความเค็มมาใช้ในการเกษตร และการชลประทานมากเกินไปอย่างไม่
                  เหมาะสม การขุดหน้าดินขายท้าให้เกลือที่อยู่ใต้ผิวดินได้เคลื่อนย้ายมาสู่ผิวดิน ท้าให้เกิดการ
                  แพร่กระจายของพื้นที่ดินเค็มเพิ่มมากขึ้นโดยพบในพื้นที่จังหวัดนครปฐม สุพรรณบุรี กาญจนบุรี อ่างทอง

                  สิงห์บุรี และชัยนาท

                                       (3) ดินเค็มชายทะเล เกิดจากอิทธิพลของน้้าทะเลท่วมถึงหรือเคยท่วมมาก่อน
                  บริเวณที่มีสภาพพื้นที่เป็นที่ลุ่ม น้้าทะเลท่วมถึง วัตถุต้นก้าเนิดดินเป็นตะกอนน้้าทะเลและน้้ากร่อย ดิน
                  บริเวณนี้จะมีความชื้นของดินสูงและมีความเค็มสูง พืชพรรณที่ขึ้นในบริเวณนี้เป็นไม้ชายเลน ซึ่งทนเค็มได้ดี
                  เช่น โกงกาง แสม ล้าพู เป็นต้น และบริเวณที่น้้าทะเลเคยท่วมถึงมาก่อน เกิดจากตะกอนน้้าทะเลและ

                  ตะกอนน้้ากร่อย บางแห่งอาจพบชั้นทรายและเปลือกหอยในดินชั้นล่าง

                                       การแจกกระจายพื้นที่ดินเค็ม

                                       ดินเค็มมีพื้นที่รวมทั้งประเทศประมาณ 4,200,111 ไร่ ประกอบด้วยพื้นที่ดิน
                  เค็มบก (ดินเค็มบกภาคตะวันออกเฉียงเหนือและดินเค็มบกภาคกลาง) มีเนื้อที่ 2,238,196 ไร่ และดิน
                  เค็มชายทะเล 1,961,915 ไร่ ซึ่งดินเค็มบกจะพบกระจายตัวในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88