Page 85 - Land Use Plan of Thailand
P. 85

3-17





                                   (4)  ดินทรายจัด


                                       ลักษณะดินทรายจัด มีลักษณะเนื้อดินเป็นทรายหรือทรายปนดินร่วน เนื้อดิน
                  เหนียวมีน้อย เป็นดินที่ไม่มีโครงสร้าง มีลักษณะเป็นเม็ดเดี่ยวๆ การเกาะตัวหรือยึดตัวของเม็ดดินต่้า ท้าให้
                  เกิดปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน บางพื้นที่ดินแน่นทึบเนื่องจากเนื้อดินเป็นทรายละเอียด เป็นอุปสรรค
                  ต่อการเจริญเติบโตของพืช มีการระบายน้้าดีเกินไป ท้าให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้้า ความสามารถในการอุ้ม
                  น้้าและดูดซับธาตุอาหารต่้า ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่้า การใช้ประโยชน์เพื่อการปลูกพืชต้องมีการจัดการเป็น

                  พิเศษกว่าดินทั่วไป

                                       สภาพปัญหาของดินทรายจัด เป็นดินเกิดที่การชะล้างพังทลายได้ง่าย มีการ
                  ระบายน้้าดีถึงดีเกินไป ดินไม่อุ้มน้้าท้าให้เกิดปัญหาพืชขาดน้้า ความสามารถในการแลกเปลี่ยนธาตุอาหาร
                  ต่้า ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่้า สมบัติทางกายภาพของดินไม่ดี ไม่มีโครงสร้าง เป็นเม็ดเดี่ยวๆ ท้าให้ไม่เกาะ
                  ยึดตัว เกิดการสูญเสียดิน น้้า และธาตุอาหารได้ง่าย ในบางพื้นที่ดินแน่นทึบจากการเขตกรรมไม่เหมาะสม

                  โดยเฉพาะดินนาที่มีเนื้อดินค่อนข้างเป็นทรายละเอียด ท้าให้เป็นอุปสรรคต่อการชอนไชของรากพืช และ
                  พืชมีการเจริญเติบโตไม่ดี

                                       ดินทรายจัด แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

                                       (1) ดินทรายในพื้นที่ลุ่ม เป็นดินที่พบตามบริเวณที่ลุ่มระหว่างสันหาดหรือเนิน
                  ทรายชายฝั่งทะเล หรือในพื้นที่ราบเรียบที่อยู่ใกล้ภูเขาหินทรายเนื้อหยาบ เป็นกลุ่มดินทรายลึกมาก การ

                  ระบายน้้าเลวหรือค่อนข้างเลว มีเนื้อที่ 1,043,979 ไร่ ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 23 และ 24

                                       (2) ดินทรายในพื้นที่ดอน พบตามบริเวณหาดทราย สันทรายชายทะเล หรือ
                  บริเวณพื้นที่ลอนลาดจนถึงที่ลาดเชิงเขา เป็นกลุ่มดินทรายลึกมาก การระบายน้้าดีถึงค่อนข้างมาก มีเนื้อ
                  ที่ 10,443,153 ไร่ พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออก
                  ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 41 43 และ44

                                       (3) ดินทรายในพื้นที่ดอนที่มีชั้นดานอินทรีย์ พบตามบริเวณหาดทรายเก่าหรือ

                  สันทรายชายทะเลของภาคใต้และภาคตะวันออก มีลักษณะเฉพาะ ดินชั้นบนจะเป็นทรายสีขาว ถัดลงไปที่
                  ระดับความลึกประมาณ 60-80 เซนติเมตร จะพบชั้นทรายสีน้้าตาลปนแดงอัดตัวแน่นเป็นชั้นดานเกิด
                  จากการจับตัวกันของสารประกอบจ้าพวกเหล็กและอินทรียวัตถุ ในช่วงฤดูแล้งชั้นดานจะแห้งและแข็งมาก

                  มีเนื้อที่ 376,485 ไร่ พบมากทางภาคใต้ และพบทั่วไปในภาคตะวันออก ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 42
                                       การแจกกระจายพื้นที่ดินทรายจัด


                                       ดินทรายจัดมีเนื้อที่รวมทั้งประเทศ 11,863,617 ไร่ โดยพบทั่วไปในทุกภาค
                  ของประเทศ พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 8,634,546 ไร่รองลงมาคือภาคกลาง 1,008,035 ไร่ ภาค
                  ตะวันออก996,925 ไร่ ภาคใต้ 962,770 ไร่ และภาคเหนือ 261,341 ไร่

                                   (5)  ดินตื้น

                                       ลักษณะดินตื้นเป็นดินที่มีลูกรัง ก้อนกรวดหรือเศษหินปะปนอยู่ในเนื้อดิน
                  ความหนาของชั้นดินบนน้อยกว่า 50 เซนติเมตรจากผิวดิน ท้าให้พืชมีการเจริญเติบโตไม่ดี
   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90