Page 88 - Land Use Plan of Thailand
P. 88

3-20





                  เกิดการสูญเสียพื้นที่เพาะปลูก กระทบต่อความมั่นคงและความปลอดภัยด้านอาหาร เกิดความเสียหาย

                  ต่อสภาพแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง น้าไปสู่การเสื่อมโทรมทรัพยากรดินในที่สุด

                               3)  ดินที่มีปัญหาเล็กน้อยที่เป็นข้อจ้ากัดทางการเกษตร

                                   (1)  ดินกรด

                                       ลักษณะของดินกรดส่วนใหญ่มักพบในดินเนื้อหยาบ ดินร่วนหยาบ ดินร่วน
                  ละเอียด พบทั้งในที่ลุ่มและในที่ดอน พื้นที่ที่มีการชะล้างหน้าดินสูง มีการใช้ปุ๋ยเคมีต่อเนื่องกันเป็น
                  เวลานานและขาดการปรับปรุงบ้ารุงดิน ซึ่งอาจพบอาการผิดปกติของพืชร่วมด้วย ดินกรดจัดถึงกรดปาน
                  กลาง(pH 4.5-5.5) มีผลต่อการปลดปล่อยธาตุอาหารพืชในดิน ท้าให้ธาตุอะลูมินัม เหล็ก แมงกานีส และ

                  สังกะสีละลายออกมามากจนเป็นพิษต่อพืช

                                       สภาพปัญหาของดินกรด ขาดธาตุอาหารพืชที่เป็นประโยชน์ เช่น ฟอสฟอรัส
                  ถูกตรึงท้าให้พืชดูดไปใช้ไม่ได้ พืชไม่เจริญเติบโต ผลผลิตเสียหายและได้ผลผลิตต่้า ระบบรากพืชถูก
                  ท้าลาย เนื่องจากมีอะลูมินัมและเหล็กละลายออกมามากจนเป็นพิษต่อพืช และอาจพบอาการที่เกิดจาก

                  แมงกานีสเป็นพิษ คือใบพืชจะซีดเหลือง พืชตระกูลถั่วรากจะมีปมน้อยลง มีการระบาดของเชื้อโรคทาง
                  ดิน เช่นโรครากเน่า โคนเน่า และพืชแสดงอาการเหี่ยวจากการขาดน้้าได้ง่ายผิดปกติ

                                       ดินกรดพบการแจกกระจายทั่วทุกภาคของประเทศไทย และยังพบว่าดินอื่นๆ
                  มีแนวโน้มจะเป็นกรดรุนแรงเพิ่มขึ้นตามการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นข้อจ้ากัดประเภทหนึ่งในด้านความ
                  เป็นประโยชน์ของธาตุอาหารดินกรดประเภทนี้จึงเกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่ เกิดการชะละลายธาตุที่

                  เป็นด่างออกไปจากดิน ทั้งจากน้้าฝนและน้้าท่า การใช้ปุ๋ยเคมีไม่ถูกต้อง พืชที่ปลูกดูดเอาธาตุที่เป็นด่าง
                  ออกไปแล้วปลดปล่อยกรดออกไปแทนที่ การใช้ปุ๋ยเคมีหรือสารเคมีต่างๆที่มีก้ามะถันเป็นองค์ประกอบ
                  รวมทั้งดินกรดที่เกิดจากฝนกรดบริเวณใกล้โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น

                                   (2)  ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่้า

                                       จากรายงานสถานภาพทรัพยากรดินของประเทศไทย (กรมพัฒนาที่ดิน, 2558)

                  พบว่า ทรัพยากรดินในประเทศไทยส่วนใหญ่ยังคงมีความอุดมสมบูรณ์ในระดับต่้า โดยภาค
                  ตะวันออกเฉียงเหนือเป็นพื้นที่ที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่้ากว่าภาคอื่นๆ และมีการกระจายตัวครอบคลุม
                  แทบทั้งภาค ระดับความอุดมสมบูรณ์ดินในแต่ละภาคของประเทศที่แตกต่างกันนั้นสัมพันธ์กับสาเหตุ
                  ทางธรรมชาติของดิน และเกิดจากการใช้ที่ดินที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการเช่น การชะล้างพังทลายของ
                  ดินดินขาดอินทรียวัตถุ เป็นต้น หรืออาจเป็นปัญหาที่เกิดจากสภาพธรรมชาติของดินร่วมกับการกระท้า

                  ของมนุษย์ เช่น ดินเค็มดินเปรี้ยว ดินอินทรีย์ ดินทราย และดินตื้น

                                       ปัญหาดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่้าจึงจ้าเป็นต้องมีการฟื้นฟูและปรับปรุงบ้ารุง
                  ดินที่เหมาะสม โดยการเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุให้แก่ดิน รวมทั้งการเพิ่มเติมธาตุอาหารพืชให้แก่ดินใน
                  รูปของปุ๋ยด้วย โดยแนะน้าและส่งเสริมให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยพืชสดในอัตรา
                  อย่างน้อย 1 ตันต่อไร่ ส้าหรับการใช้ปุ๋ยเคมี ควรพิจารณาให้เหมาะสมกับชนิดของพืช ชนิดของดิน และ

                  ระยะเวลาที่เหมาะสมจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนั้นการใช้ปุ๋ยแบบผสมผสาน คือ การใช้ปุ๋ยเคมี
   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93