Page 87 - Land Use Plan of Thailand
P. 87

3-19





                  ไถพรวนที่ระดับความลึกเดียวกันบ่อยครั้ง นานหลายๆ ปี ท้าให้ดินแน่นทึบส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต

                  และการให้ผลผลิตของพืชที่ปลูกพบในบางพื้นที่ที่ใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่เตรียมดินปลูกพืช พบในพื้นที่
                  ปลูกพืชไร่เช่น อ้อย ข้าวโพด มันส้าปะหลัง เป็นต้น

                                   (2)  ดินปนเปื้อน

                                       ดินปนเปื้อนซึ่งเป็นดินที่ได้รับสารเคมีปนเปื้อนที่เป็นโลหะหนักในปริมาณ
                  ที่มากกว่าอัตราการสลายตัวหรือการเสื่อมฤทธิ์ของสารนั้นๆ เช่น  ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี แคดเมียม

                  สารหนู และปรอท เป็นต้นเมื่อมีการสะสมโลหะหนักเหล่านี้เป็นปริมาณมากในดินอาจถูกพัดพา
                  ลงสู่แหล่งน้้า และถ้าหากเข้าสู่ระบบห่วงโซ่อาหารก็จะมีผลโดยตรงต่อสุขภาพของมนุษย์

                                       สาเหตุการปนเปื้อนของดินอาจเกิดตามธรรมชาติจากวัตถุต้นก้าเนิดดิน หรือ
                  เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ได้แก่การท้าเหมืองแร่การถลุงแร่และเถ้าลอย เป็นต้น การใช้ปุ๋ยและสารเคมี
                  ทางการเกษตรที่มีสิ่งปนเปื้อนที่เป็นโลหะหนักธาตุต่างๆ การใช้น้้าเสียในระบบชลประทานการใช้กาก

                  ตะกอนน้้าเสีย และการใช้ปุ๋ยคอกที่ได้จากมูลสัตว์ที่กินอาหารที่มีวัตถุเจือปน ซึ่งผลผลิตทางการเกษตรที่
                  ปลูกในดินปนเปื้อน หรือการดื่มน้้าที่เจือปนด้วยโลหะหนัก เช่น แร่ทองแดง ตะกั่ว แคดเมียม และ
                  สังกะสี เมื่อบริโภคเข้าไปจะท้าให้เกิดโรคที่ส้าคัญ ได้แก่ โรคอิไต-อิไต โรคไข้ด้าหรือมะเร็งผิวหนังจากพิษ
                  สารหนูเรื้อรัง โรคที่เกิดจากความเป็นพิษของตะกั่ว เป็นต้น

                                   (3)  ดินเหมืองแร่ร้าง

                                       ดินเหมืองแร่ร้างพบในพื้นที่ที่ผ่านขบวนการท้าเหมืองแร่มาแล้ว เป็นดินไม่มี

                  โครงสร้างและอัดตัวกันแน่นจึงมีความสามารถในการอุ้มน้้าต่้า มีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชน้อย
                  มาก มีความอุดมสมบูรณ์ต่้า และบางพื้นที่ดินเป็นกรดจัด จนหมดสรูปที่จะน้ามาใช้ท้าการเกษตรได้อีก
                  การใช้ประโยชน์พื้นที่ในปัจจุบัน มีการปลูกสร้างสวนป่าหรือสวนสาธารณะด้วยการปลูกไม้โตเร็ว ไม้ที่ทน
                  แล้ง เช่น กระถินเทพา ยูคาลิปตัส เพื่อสร้างความร่มรื่นให้กับพื้นที่ และช่วยฟื้นฟูสภาพแวดล้อมต่างๆ

                                   (4)  ดินในพื้นที่นากุ้งร้าง


                                       การเพาะเลี้ยงสัตว์น้้าชายฝั่งที่ผ่านมา ใช้พื้นที่แถบชายฝั่งทะเลที่มีศักยภาพในการ
                  ผลิต ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเลี้ยงกุ้งทะเล ปลา หอย และปู เป็นต้น และมีการขยายตัวของพื้นที่เพาะเลี้ยง
                  มากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเกิดปัญหาที่มีผลกระทบต่อการเพาะเลี้ยงชายฝั่งที่ส้าคัญได้แก่ ความเสื่อมโทรม
                  ของระบบนิเวศทางธรรมชาติ ทั้งดิน น้้า และป่าชายเลน รวมถึงการเกิดโรคระบาดอย่างรุนแรง ท้าให้
                  การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลต้องขยับขยายหาพื้นที่ใหม่ โดยรุกล้้าเข้าไปในหลายพื้นที่ที่อยู่ห่างจากชายฝั่งทะเล

                  ซึ่งเป็นพื้นที่น้้าจืด โดยปรับเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงใหม่ ในรูปแบบของการเลี้ยงกุ้งน้้ากร่อย โดยการน้าน้้าเค็ม
                  จากทะเลมาผสมกับน้้าจืด หรือใช้เกลือมาปรับสภาพน้้าในบ่อให้เป็นน้้าเค็ม การเลี้ยงกุ้งในรูปแบบนี้ถ้า
                  ขาดการจัดการที่ดีก็จะมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในพื้นที่บริเวณใกล้เคียงได้ ผลจากการน้ากุ้งน้้า

                  กร่อยเข้ามาเลี้ยงในพื้นที่น้้าจืด เมื่อประสบปัญหาเรื่องโรคระบาดของกุ้ง ก็ไม่สามารถเพาะเลี้ยงในที่เดิม
                  ได้อีกต่อไป จ้าเป็นต้องย้ายไปหาพื้นที่ใหม่ที่ไม่ได้อยู่ชายฝั่งทะเล พื้นที่เดิมจึงถูกทิ้งให้กลายเป็นนากุ้งร้าง
                  บางแห่งมีปัญหาทั้งดินเค็มและดินเปรี้ยวจัด ท้าให้ดินนั้นไม่สามารถปลูกพืชได้ สภาวการณ์เช่นนี้จะท้าให้
   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92