Page 91 - Land Use Plan of Thailand
P. 91

3-23





                        3.1.3 การชะล้างพังทลายของดิน


                               กรมพัฒนาที่ดินได้เริ่มศึกษาในด้านการชะล้างพังทลายของดิน เพื่อเป็นข้อมูลส้าคัญใน

                  การอนุรักษ์ดินและน้้า โดยใช้สมการการสูญเสียดินสากล (Universal Soil Loss Equation ; USLE) ซึ่ง
                  เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน การวิเคราะห์พื้นที่แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ พื้นที่ราบ
                  หมายถึงที่ราบล้าน้้า ที่ลาดเชิงเขาและเนินเขา ความลาดชันไม่เกินร้อยละ 35 และพื้นที่สูง หมายถึง ภูเขา

                  และที่ลาดหุบเขา พื้นที่ส่วนใหญ่มีความลาดชันมากกว่าร้อยละ 35 ซึ่งได้จ้าแนกชั้นความรุนแรงของการ
                  ชะล้างพังทลายของดินเป็น 5 ระดับ คือ ระดับการสูญเสีดินน้อย (อัตราการสูญเสียดิน 0–2 ตันต่อไร่ต่อปี)
                  ระดับการสูญเสียดินปานกลาง (อัตราการสูญดิน 2–5 ตันต่อไร่ต่อปี) ระดับการสูญเสียดินรุนแรง (อัตรา
                  การสูญดิน 5–15 ตันต่อไร่ต่อปี) ระดับการสูญเสียดินรุนแรงมาก (อัตราการสูญดิน 15–20 ตันต่อไร่ต่อปี)

                  และ ระดับการสูญเสียดินรุนแรงมากที่สุด (อัตราการสูญดินมากกว่า 20 ตันต่อไร่ต่อปี)

                         การประเมินการสูญเสียดินโดยสมการการสูญเสียดินโดยใช้สมการการสูญเสียดินสากลของกรม
                  พัฒนาที่ดินเมื่อปี พ.ศ. 2545 นั้น พบว่า ประเทศไทยมีพื้นที่ในระดับการสูญเสียดินรุนแรงมากที่สุด การ
                  สูญเสียดินรุนแรงมาก และระดับการสูญเสียดินรุนแรง เนื้อที่ประมาณ 12.87 , 3.36 และ 24.02 ล้านไร่
                  คิดเป็นร้อยละ 4.01 , 1.05 และ 7.43 ของพื้นที่ทั้งหมดของพื้นที่ประเทศไทย (รูปที่ 3-3) โดยทั้ง

                  3 ระดับพบมากในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคตะวันออกของประเทศไทย ตามล้าดับ ซึ่งใน
                  ภาคเหนือเป็นพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง จึงพบการสูญเสียดินมากกว่าในภาคอื่นๆ โดยพบบริเวณพื้นที่
                  ลาดชันสูงที่มีการปลูกพืชไร่ ส้าหรับภาคที่พบความรุนแรงต่้าที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับภาคอื่นๆ คือ ภาค
                  ตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบบนที่สูง มีพื้นที่ลาดชันสูงอยู่เพียงร้อยละ 7.6

                  ของพื้นที่ทั้งหมดของภาค โดยมีสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณ
                         การประเมินการชะล้างพังทลายสามารถน้าไปในการก้าหนดระบบอนุรักษ์ดินและน้้า การ
                  วางแผนการใช้ที่ดิน การปรับปรุงบ้ารุงดิน ที่เหมาะสม (ตารางที่ 3-2) รวมถึงการศึกษาเกี่ยวกับการ
                  ยอมรับและทัศนคติของชุมชนต่อระบบอนุรักษ์ดินและน้้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น (กรมพัฒนา

                  ที่ดิน , 2558 : 147-158)
   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96