Page 96 - Land Use Plan of Thailand
P. 96

3-28





                               5)  การออกโฉนดที่ดินหรือเอกสารสิทธิ์ที่ไม่ถูกต้อง ทับซ้อนพื้นที่ป่าไม้ ซึ่งถูกร้องเรียน

                  และตรวจสอบพบมากขึ้นในปัจจุบัน
                               6)  ข้อจ้ากัดของเทคโนโลยีการท้าแผนที่ในอดีต ไม่สามารถก้าหนดรายละเอียด
                  ขอบเขตของพื้นที่ป่าไม้อย่างถูกต้อง ชัดเจน จึงเกิดความสับสนในการน้าไปใช้ ท้าให้เกิดปัญหา

                  มาโดยตลอด อีกทั้งยังพบข้อผิดพลาดที่มิได้กันพื้นที่ชุมชน พื้นที่ท้ากินที่อยู่ก่อนการประกาศเขตป่าไม้
                  ออกจากพื้นที่ป่าไม้ที่สงวนคุ้มครอง ท้าให้ประชาชนที่ควรเป็นผู้มีสิทธิ์ในที่ดินเหล่านี้ กลายเป็นผู้บุกรุก
                  มาเป็นระยะเวลานานกว่า 70 ปี
                               7)  ความสับสนในเรื่องแนวเขตที่ดินของรัฐ รัฐบาลที่ผ่านมาน้าพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม
                  มาจัดสรรพื้นที่ท้ากินให้กับประชาชน ผ่านการจัดที่ดินท้ากินในรูปแบบต่างๆ เช่น เขตปฏิรูปที่ดิน เขต

                  นิคมสร้างตนเอง เขตนิคมสหกรณ์ ท้าให้เกิดความสับสนในเรื่องแนวเขตที่ดินเพิ่มขึ้น เนื่องจากแนวเขตที่ดิน
                  ของรัฐเหล่านั้น และแนวเขตป่าไม้ทับซ้อนกัน เพราะแผนที่แต่ละหน่วยงานไม่ได้จัดท้าบนพื้นฐานเดียวกัน
                  ท้าให้เกิดความสับสนยากต่อการป้องกันปราบปราม และการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้อย่าง

                  มีประสิทธิผล
                               8)  การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่หน่วยงานรับผิดชอบ หลายพื้นที่มีการทุจริต
                  หรือปล่อยปละละเลย จนผู้บุกรุกมีอิทธิพลมากขึ้นยากที่จะแก้ไขตามหลักกฎหมายได้
                               9)  การลักลอบตัดไม้พะยูง ไม้สัก โดยขบวนการใหญ่ที่มีชาวต่างชาติ ผู้มีอิทธิพลและ

                  เจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปเกี่ยวข้อง เพื่อส่งขายต่างประเทศในราคาสูง โดยเฉพาะไม้พะยูงเป็นแรงกระตุ้นให้
                  คนกล้ากระท้าความผิดเพื่อแลกกับผลประโยชน์ และเมื่อไม้พะยูงเหลือน้อยลง ก็จะมีการลักลอบ
                  ตัดไม้ชิงชัน ไม้ประดู่ มาทดแทนมากขึ้น
                               10)  ผู้กระท้าความผิดได้รับโทษที่ไม่รุนแรง เมื่อเทียบกับความผิดข้อหาอื่นๆ

                        3.2.3  ป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี

                               ความเป็นมา ใน พ.ศ. 2503 รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีนโยบายที่จะรักษาพื้นที่
                  ป่าไม้ไว้ให้ได้ร้อยละ 50 ของพื้นที่ประเทศไทย (แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1
                  พ.ศ. 2504-2509 ให้มีพื้นที่ป่าไม้ถาวรของชาติร้อยละ 50 ของพื้นที่ประเทศไทย หรือประมาณ

                  156 ล้านไร่) โดยแต่งตั้งคณะกรรมการส้ารวจจ้าแนกประเภทที่ดิน เพื่อส้ารวจและจ้าแนกที่ดินในท้องที่
                  60 จังหวัด (ยกเว้น11 จังหวัด ที่ไม่มีพื้นที่ป่าไม้ คือสิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี
                  นนทบุรี พระนคร ธนบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และนครปฐม) เพื่อพิจารณาแนวเขต
                  ที่ดินที่เห็นสมควรรักษาไว้เป็นเขตป่าไม้โดยประมาณ และลงไว้ในแผนที่มาตราส่วน 1:1,000,000
                               ต่อมา คณะรัฐมนตรีมีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504 อนุมัติ

                  ประกาศเขตป่าที่จะสงวนคุ้มครองในจังหวัดต่างๆ ซึ่งถูกเรียกว่า “ป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี” รวม
                  1,300 แปลง เป็นพื้นที่ประมาร 175 ล้านไร่ (คิดเป็นร้อยละ 54 ของพื้นที่ประเทศไทย) และพื้นที่ที่จะ
                  จัดสรรเพื่อเกษตรกรรมและการใช้ประโยชน์อย่างอื่นอีกประมาณ 31 ล้านไร่

                               พ.ศ. 2525 กรมป่าไม้ซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการน้าพื้นที่ที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้
                  รักษาไว้เป็นป่าไม้ถาวร ไปด้าเนินการประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ หรือเขตรักษาพันธุ์
                  สัตว์ป่า ซึ่งได้ด้าเนินการไปแล้วประมาณ 116 ล้านไร่ แต่ยังมีพื้นที่ป่าไม้ถาวรเหลือประมาณ30 ล้านไร่
                  ที่ยังไม่ได้ประกาศ พื้นที่เหล่านี้ส่วนใหญ่หมดสภาพป่า และมีราษฎรเข้าท้าประโยชน์โดยไม่ถูกต้องตาม
   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101