Page 94 - Land Use Plan of Thailand
P. 94

3-26





                  3.2  ทรัพยากรป่าไม้


                        3.2.1  สถานการณ์ทรัพยากรป่าไม้
                               ทรัพยากรป่าไม้เป็นฐานการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและความมั่นคงของ
                  ประเทศไทย มูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการสูญเสียทรัพยากรป่าไม้ จัดอยู่ในล้าดับต้นๆ ของมูลค่า
                  ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย พ.ศ. 2516 ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไม้

                  138,566,875 ไร่ หรือร้อยละ 43.21 ของพื้นที่ประเทศ พ.ศ. 2559 มีพื้นที่ป่าไม้เหลืออยู่เพียง
                  102,174,805 ไร่ หรือร้อยละ 31.58 ของพื้นที่ประเทศไทย (ตารางที่ 3-3) โดยในช่วง พ.ศ. 2551-2559
                  พื้นที่ป่าไม้ลดลง 5,066,226 ไร่ หรือประมาณ 6 แสนไร่ต่อปี หากพิจารณาย้อนหลังไป พื้นที่ป่าไม้ของ

                  ประเทศไทยมีแนวโน้มลดลงมาโดยตลอด เนื่องจากความต้องการใช้ประโยชน์จากไม้เพิ่มขึ้น โดยน้าไปใช้
                  ประโยชน์เพื่อการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ อย่างไม่สมดุลพื้นที่ป่าไม้ในปัจจุบันต่้ากว่าพื้นที่เป้าหมาย
                  ที่ก้าหนดไว้ในนโยบายป่าไม้แห่งชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)
                  และแผนแม่บทการพิทักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ ซึ่งก้าหนดเป้าหมายพื้นที่ป่าไม้ไว้ที่ร้อยละ 40 ของ

                  พื้นที่ประเทศ โดยแบ่งเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ร้อยละ 25 และพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ ร้อยละ 15 การลดลงของ
                  พื้นที่ป่าไม้ซึ่งเป็นพื้นที่ต้นน้้าล้าธารโดยเฉพาะพื้นที่ภูเขาต้นน้้าของภาคเหนือจ้านวนมากถูกบุกรุกท้าลาย
                  กลายเป็นภูเขาหัวโล้นส่งผลให้ระบบนิเวศเสียสมดุล เกิดผลกระทบด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและคุณภาพ
                  ชีวิตทั้งทางตรงและทางอ้อมมากมายต่อพื้นที่กลางน้้าและพื้นที่ปลายน้้าซึ่งเป็นพื้นที่เกษตรกรรม เช่น

                  ปริมาณน้้าท่าในล้าน้้ามีมากเกินไปในฤดูฝน มีน้อยเกินไปในฤดูแล้ง เกิดการชะล้างพังทลายของดิน
                  เพิ่มสูงขึ้น สูญเสียธาตุอาหารพืชและอินทรียวัตถุ ปริมาณตะกอนถูกพัดพามาสะสมในล้าน้้า เกิดการตื้น
                  เขินของล้าน้้า เกิดปัญหาล้าน้้าแห้งขอด เกษตรกรในพื้นที่ราบไม่สามารถเพาะปลูกได้ ปัญหาน้้าป่าไหลหลาก
                  ในช่วงฤดูฝน จนเกิดเป็นอุทกภัยและดินโคลนถล่ม การไหลปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตรลงสู่ที่ราบ

                  ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทวีความรุนแรงมากขึ้นตามล้าดับ สร้างความเสียหายทางด้าน
                  เศรษฐกิจเป็นจ้านวนมหาศาล

                        3.2.2  ประเด็นปัญหาหลักของทรัพยากรป่าไม้
                               คือการลดลงของพื้นที่ป่าไม้ ซึ่งมีสาเหตุดังนี้ (กองอ้านวยการรักษาความมั่นคงภายใน

                  ราชอาณาจักร กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม , 2557 : 14-15)
                               1)  การบุกรุกพื้นที่ป่าไม้อย่างต่อเนื่องและรุนแรงมากขึ้น ตามสภาพการเจริญเติบโต
                  ทางเศรษฐกิจ เพื่อขยายพื้นที่ทางการเกษตร เกษตรกรบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ เพื่อขยายพื้นที่ท้าการเกษตร
                  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการท้าการเกษตรเชิงเดี่ยว เช่น ข้าวโพดมันส้าปะหลัง ยางพารา เมื่อเกษตรกรต้องการ

                  ผลผลิตเพิ่มก็จะขยายพื้นที่เพิ่ม แทนที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตลดต้นทุนการผลิต เพื่อเพิ่มปริมาณ
                  และคุณภาพของผลผลิตการบุกรุกจับจองของนายทุนการขยายการครอบครองพื้นที่ของกลุ่มทุน
                  เพื่อท้าการเกษตร ซึ่งส่วนใหญ่ท้าเป็นแปลงใหญ่โดยมุ่งผลตอบแทนในเชิงเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว โดย
                  ไม่ได้ค้านึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมชุมชนท้องถิ่น
   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99