Page 98 - Land Use Plan of Thailand
P. 98

3-30





                   ด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว ส้าหรับผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาแหล่งน้้าและระบบ

                   กระจายน้้าขนาดใหญ่และขนาดกลางตั้งแต่ก่อนมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติจนถึง พ.ศ.
                   2560 นั้น มีรายละเอียดดังนี้
                                   (1)  โครงการชลประทานขนาดใหญ่ มีพื้นที่ชลประทานทั้งหมด 17,955,285 ไร่

                   ประกอบด้วยโครงการชลประทานขนาดใหญ่ทั้งหมด 94 แห่ง โดยในช่วงก่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
                   สังคมแหงชาติ สามารถพัฒนาโครงการชลประทานขนาดใหญ่ได้ 19 แห่ง และในช่วงแผนพัฒนา
                   เศรษฐกิจและสังคมแหงชาติฉบับที่ 1 ถึง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2505-2559) สามารถพัฒนาโครงการ
                   ชลประทานขนาดใหญ่ได้ 75 แห่ง โดยมีปริมาตรน้้าเก็บกักของโครงการชลประทานขนาดใหญ่ทั้งหมด
                   73,216.74 ล้านลูกบาศก์เมตร

                                   (2)  โครงการชลประทานขนาดกลาง มีพื้นที่ชลประทานทั้งหมด 6,552,055 ไร่
                   ประกอบด้วยโครงการชลประทานขนาดกลางทั้งหมด 671 แห่ง โดยในช่วงก่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
                   และสังคมแหงชาติ สามารถพัฒนาโครงการชลประทานขนาดกลางได้ 11 แห่ง และในช่วงแผนพัฒนา

                   เศรษฐกิจและสังคมแหงชาติฉบับที่ 1 ถึง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2505-2559) สามารถพัฒนาโครงการ
                   ชลประทานขนาดกลางได้ 660 แห่ง โดยมีปริมาตรน้้าเก็บกักของโครงการชลประทานขนาดกลาง
                   ทั้งหมด 4,219.21 ล้านลูกบาศก์เมตร
                               ในเขตชลประทานนี้ ยังประกอบไปด้วยเขตการจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กระจายอยู่

                  ในพื้นที่จังหวัดต่างๆ ของไทย ในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ จาก
                  การวิเคราะห์โดยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ พบว่าเขตการจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีพื้นที่ประมาณ
                  1,967,912 ไร่ โดยเขตนี้ มีการพัฒนาพื้นที่เพาะปลูกในระดับไร่นา โดยเน้นเรื่องน้้าเป็นส้าคัญ เพื่อทุก
                  แปลงที่เพาะปลูกจะได้รับน้้าชลประทานโดยทั่วถึง และมีทางล้าเลียงหรือถนนเข้าถึงทุกแปลง เป็นการ

                  ปรับปรุงพื้นที่เพาะปลูก เพื่อให้ใช้ท้าประโยชน์ได้สูงสุด โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน การ
                  คุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม การส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรม และการบริหารจัดการ (สุภัทร, 2560: 1-8)
   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103