Page 79 - Land Use Plan of Thailand
P. 79

3-11





                                   (4)  ดินบริเวณพื้นที่ภูเขาสูง มีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ ได้แก่ กลุ่ม

                  ชุดดินที่ 62

                               5)  ทรัพยากรดินภาคใต้

                                   พื้นที่ภาคใต้ มีพื้นที่รวม 44,196,992 ไร่ ประกอบด้วย จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี
                  ระนอง พังงา กระบี่ ภูเก็ต นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส รวม 14
                  จังหวัด มีสภาพภูมิประเทศเป็นคาบสมุทรที่มีเทือกเขาเป็นสันอยู่ตอนกลาง และมีพื้นที่ลาดลงสู่ทะเลทั้ง 2

                  ด้าน ทางด้านตะวันออกเป็นอ่าวไทย ส่วนทางด้านตะวันตกเป็นทะเลอันดามัน พื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลของ
                  ทั้งสองด้านจะเป็นที่ราบแคบ โดยชายฝั่งด้านอ่าวไทยจะมีที่ราบกว้างและใหญ่กว่าด้านทะเลอันดามัน มี
                  เทือกเขาภูเก็ตทอดยาวตั้งแต่จังหวัดชุมพร ระนองจนถึงพังงา ต่อด้วยเทือกเขาหินปูนเตี้ยๆ และเทือกเขา
                  นครศรีธรรมราชเป็นแนวต่อจากเทือกเขาภูเก็ต และทอดจากทางตอนใต้ของจังหวัดสุราษฎร์ธานีผ่านจังหวัด
                  กระบี่ไปยังจังหวัดนครศรีธรรมราชถึงจังหวัดสตูล ทางตอนใต้สุดของภาคมีเทือกเขาสันกาลาคีรีทอดยาวใน

                  แนวตะวันออก-ตะวันตก บางส่วนของเทือกเขานี้เป็นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับสหพันธรัฐมาเลเซีย

                                   ชายฝั่งทะเลทางด้านตะวันออกมีลักษณะราบเรียบ เป็นบริเวณที่มีเขตน้้าตื้นกว้าง
                  เนื่องจากถูกยกตัวสูงขึ้น พบที่ราบชายฝั่งทะเลตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปจนถึงจังหวัดนราธิวาส และมีแม่น้้า
                  ขนาดสั้นหลายสายที่เกิดจากบริเวณเทือกภูเขาตอนกลางของภาค แล้วไหลลงสู่ทะเล แม่น้้าที่ส้าคัญได้แก่

                  แม่น้้าชุมพร แม่น้้าคีรีรัฐ แม่น้้าตาปี แม่น้้าปากพนัง แม่น้้าโก-ลก เป็นต้น ส่วนฝั่งทะเลทางด้านตะวันตกมี
                  ลักษณะขรุขระและเว้าแหว่งมาก ฝั่งทะเลมีความลาดชันมาก หาดทรายมีขนาดแคบ และมีน้้าลึกอยู่ใกล้ฝั่ง
                  เนื่องจากเป็นชายฝั่งจมตัว บริเวณปากแม่น้้าที่มีโคลนมากจะพบป่าชายเลน มีแม่น้้าสายสั้นๆ ไหลลงสู่ทะเลที่
                  ส้าคัญ ได้แก่ แม่น้้าปากจั่น แม่น้้ากระบุรี และแม่น้้าตรัง

                                   ทรัพยากรดินในพื้นที่ภาคใต้ ประกอบด้วย

                                   (1)  ดินในพื้นที่ราบลุ่มหรือพื้นที่น้้าขัง มีสภาพพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ

                  บริเวณที่ราบน้้าทะเลท่วมถึง ที่ราบน้้าทะเลเคยท่วมถึง ที่ลุ่มต่้าระหว่างสันทราย ที่ราบลุ่มน้้าท่วมถึงตะพักล้า
                  น้้าจนถึงที่ราบระหว่างเนินเขาและหุบเขา ในช่วงฤดูฝนมีน้้าแช่ขังแฉะมีระดับน้้าใต้ดินอยู่ใกล้ผิวดิน การ
                  ระบายน้้าค่อนข้างเลว เลว ถึงเลวมาก ดินมีสีเทาหรือสีเทาอ่อน มีจุดประสีตลอดหน้าตัดดิน ที่บ่งบอกถึงการมี
                  น้้าแช่ขังในหน้าตัดดิน ปฏิกิริยาดินส่วนใหญ่เป็นกรดปานกลางถึงเป็นด่างปานกลาง หากบริเวณใดมีอิทธิพล

                  ของดินเปรี้ยวจัดเข้ามาเกี่ยวข้อง ปฏิกิริยาดินจะเป็นกรดรุนแรงมากถึงเป็นกรดจัดมาก มีความอุดมสมบูรณ์ต่้า
                  ถึงปานกลาง ประกอบด้วย 19 กลุ่มชุดดิน โดยจ้าแนกตามกลุ่มเนื้อดินอย่างกว้างๆ ได้ 7 กลุ่ม ดังนี้

                                       -  กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินเลนเละ มีเนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายแป้งที่มี
                  ศักยภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด ยังได้รับอิทธิพลจากน้้าทะเลขึ้นลงเป็นประจ้า ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 13

                                       -  กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินเหนียว มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วน ดินร่วนเหนียวปนทราย

                  แป้งหรือดินเหนียว ส่วนดินล่างเป็นดินเหนียว หรือดินเหนียวปนทรายแป้ง บริเวณที่ได้รับอิทธิพลของ
                  ตะกอนทะเลเป็นดินเปรี้ยวจัด ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 2 3 5 6 7 10 11 และ 14
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84