Page 72 - Land Use Plan of Thailand
P. 72

3-4





                                   (2)  ดินบริเวณพื้นที่ดอนที่อยู่ในเขตดินแห้ง ดินมีช่วงแห้งนานในรอบปีและแห้ง

                  ติดต่อกันมากกว่า 45 วัน หรือแห้งรวมกันมากกว่า 90 วันในรอบปี การเพาะปลูกพืชจะท้าได้เฉพาะในช่วง
                  ฤดูฝน หลังจากช่วงนี้จะต้องมีแหล่งน้้าไว้ใช้ในช่วงที่พืชขาดน้้า มีท้าการเกษตรกรรมบริเวณพื้นที่สันดินริมน้้า
                  เนินตะกอนรูปพัด ตะพักล้าน้้าระดับกลางถึงสูง สภาพพื้นที่มีตั้งแต่ราบเรียบ ลูกคลื่น เนินเขาถึงพื้นที่สูงชัน

                  บริเวณพื้นที่ที่ได้รับอิทธิพลของหินและโครงสร้างทางธรณีวิทยาที่มีกระบวนการกร่อนและการปรับระดับ
                  ของพื้นที่ทั้งหินตะกอน หินแกรนิต หินบะซอลต์ และภูมิประเทศ มีระดับน้้าใต้ดินอยู่ลึกกว่า 2 เมตร พื้นที่
                  ราบมีการระบายน้้าของดินดีปานกลางหรือดี พื้นที่ดอนถึงพื้นที่สูงชัน มีการระบายน้้าดีหรือดีมากเกินไป
                  มีสีด้า สีน้้าตาล สีเหลือง หรือสีแดง และอาจพบจุดประสีเล็กน้อย ค่าปฏิกิริยาดินมีตั้งแต่เป็นกรดจัดจนถึง
                  เป็นด่างปานกลาง ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่้าถึงสูง ซึ่งขึ้นอยู่กับกระบวนการทางดินและชนิดของวัตถุต้น

                  ก้าเนิดดิน ประกอบด้วย 22 กลุ่มชุดดิน โดยจ้าแนกตามกลุ่มเนื้อดินอย่างกว้างๆ ได้ 4 กลุ่ม ดังนี้

                                       -  กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินเหนียว มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วน ดินร่วนเหนียวปนทราย
                  แป้ง ดินร่วนเหนียวหรือดินเหนียว ส่วนดินล่างเป็นดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทรายแป้ง ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่
                  28 29 30 31 54 และ 55

                                       -  กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินร่วน มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วน ดินร่วนปนทราย ดินร่วน

                  เหนียวปนทราย ดินร่วนปนทรายแป้ง ส่วนดินล่างเป็นดินร่วน ดินร่วนเหนียว ดินร่วนเหนียวปนทราย หรือ
                  ดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 33 35 36 37 38 40 56 และ 60

                                       -  กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินทราย มีเนื้อดินบนและล่างเป็นดินทรายหรือดินทราย
                  ปนดินร่วน ได้แก่กลุ่มชุดดินที่ 41 และ 44

                                       -  กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินตื้น มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินร่วน
                  เหนียว ส่วนดินล่างเป็นดินร่วน ดินร่วนเหนียวหรือดินเหนียวปนกับกรวดหรือลูกรัง ปริมาณเท่ากับหรือ

                  มากกว่าร้อยละ 35 โดยปริมาตรหรือพบชั้นหินพื้นหรือชั้นมาร์ล ภายในความลึก 50 เซนติเมตรจากผิวดิน
                  ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 46 47 48 49 52 และ 61

                                   (3)  ดินบริเวณพื้นที่ภูเขาสูง มีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ ได้แก่
                  กลุ่มชุดดินที่ 62

                               2)  ทรัพยากรดินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                                   พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเนื้อที่รวม 105,533,963 ไร่ หรือประมาณหนึ่งในสาม
                  ของพื้นที่ทั้งประเทศ ประกอบด้วยจังหวัดกาฬสินธุ์ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บึงกาฬ บุรีรัมย์

                  มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย สกลนคร สุรินทร์ ศรีสะเกษ หนองคาย หนองบัวล้าภู อุดรธานี
                  อุบลราชธานี และอ้านาจเจริญ รวม 20 จังหวัด สภาพภูมิประเทศมีลักษณะเป็นที่ราบสูงแยกตัวจากบริเวณ
                  ภูเขาสูงภาคเหนือและที่ราบภาคกลางอย่างชัดเจน ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสลับกับที่ดอนแบบลูกคลื่นลอนลาด

                  พื้นที่ลาดต่้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีทิวเขาเพชรบูรณ์และทิวเขาดงพญาเย็นเป็นขอบชันด้านตะวันตก
                  มีทิวเขาสันก้าแพงและทิวเขาพนมดงรักเป็นขอบชันทางด้านใต้ พื้นที่ตอนกลางของภาคมีเทือกเขาภูพาน
                  วางตัวทอดยาวแบ่งภาคออกเป็น 2 แอ่ง คือ 1) บริเวณตอนเหนือ-แอ่งรับน้้าสกลนคร อยู่ในเขตพื้นที่จังหวัด
                  สกลนคร นครพนม หนองคาย มุกดาหาร และอุดรธานี มีแม่น้้าสายหลัก ได้แก่ แม่น้้าโขง ศรีสงคราม ล้าน้้า
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77