Page 70 - Land Use Plan of Thailand
P. 70

3-2





                        4) ภาคตะวันออก


                          มีพื้นที่ 21,487,812 ไร่ ประกอบด้วย 7 จังหวัด ภูมิประเทศบริเวณตอนบนเป็นภูเขาสูงและ
                  แนวเทือกเขาสูง มีเทือกเขาสันก้าแพงและเทือกเขาพนมดงรักทอดตัวในแนวตะวันตกไปตะวันออก
                  กั้นภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้านตะวันออกของภาคมีเทือกเขาบรรทัดทอดตัวใน
                  แนวเหนือใต้เป็นพรมแดนกั้นระหว่างประเทศไทยกับราชอาณาจักรกัมพูชา ถัดลงมาเป็นเทือกเขา
                  จันทบุรี ทางตอนใต้ของภาคเป็นที่ราบชายฝั่งทะเลลักษณะของชายฝั่งเว้าแหว่ง ประกอบด้วยเกาะและ

                  หาดทรายที่สวยงาม และบริเวณพื้นที่ราบมีแม่น้้าบางปะกงเป็นแม่น้้าสายส้าคัญ

                        5) ภาคใต้

                          มีพื้นที่ 44,196,992 ไร่ ประกอบด้วย 14 จังหวัด ภูมิประเทศมี 4 ลักษณะด้วยกัน คือ
                  เทือกเขาสูง ที่ราบชายฝั่งอ่าวไทย ที่ราบชายฝั่งอันดามัน และเกาะ โดยเทือกเขาสูงจะอยู่ทางด้าน
                  ตะวันตกของภาคทอดตัวในแนวเหนือใต้ ได้แก่ เทือกเขาตะนาวศรีเป็นพรมแดนกั้นระหว่างประเทศไทย

                  กับสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ถัดลงมาคือเทือกเขาภูเก็ต ตอนกลางของภาคมีเทือกเขา
                  นครศรีธรรมราชทอดตัวในแนวเหนือใต้ ตอนใต้ของภาคมีเทือกเขาสันกะลาคีรีเป็นพรมแดนกั้นระหว่าง
                  ประเทศไทยกับสหพันธรัฐมาเลเซีย ด้านตะวันตกของภาคเป็นที่ราบชายฝั่งอันดามันมีลักษณะเป็น
                  ชายฝั่งยุบตัวจึงมีที่ราบแคบบริเวณชายฝั่ง ด้านตะวันออกของภาคเป็นที่ราบชายฝั่งอ่าวไทยมีลักษณะ

                  เป็นชายฝั่งยกตัวจึงมีที่ราบกว้างบริเวณชายฝั่ง และมีเกาะในทะเลทั้งสองด้านของภาคใต้

                  3.1  ทรัพยากรดินและที่ดิน


                        ทรัพยากรดินส่วนใหญ่ที่พบในประเทศไทยเป็นดินที่มีการพัฒนาค่อนข้างสูงซึ่งจะส่งผลให้ดิน
                  มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่้า ทรัพยากรดินของภาคเหนือ โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ราบหรือ
                  ค่อนข้างราบมีศักยภาพทางการเกษตรอยู่ในระดับปานกลางถึงสูง แต่มีข้อจ้ากัดที่ภาคเหนือมีพื้นที่เป็น
                  เทือกเขาและมีความลาดชันสูงมากเป็นส่วนใหญ่ ทรัพยากรดินภาคกลางเป็นดินที่มีศักยภาพทาง

                  การเกษตรปานกลางถึงสูง ดินส่วนใหญ่มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงสูง เนื่องจากในช่วงฤดูน้้าหลาก
                  ได้พาตะกอนมาทับถมทุกปี ดินมีข้อจ้ากัดน้อย และจัดการดินได้ค่อนข้างง่าย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
                  ทรัพยากรดินส่วนใหญ่มีศักยภาพทางการเกษตรต่้าเนื่องจากดินมีข้อจ้ากัดในเรื่องเนื้อดิน เช่น มีเนื้อดิน

                  เป็นดินทราย หรือดินร่วนหยาบ ท้าให้ดินมีความจุในการอุ้มน้้าต่้า ดินตื้นหรือดินมีก้อนกรวดลูกรังปะปน
                  หนาแน่นในระดับตื้นถึงตื้นมาก ดินเค็มและพื้นที่เกษตรกรรมที่ได้รับผลกระทบจากความเค็มของดิน และ
                  ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่้า ทรัพยากรดินภาคตะวันออกเป็นดินที่มีศักยภาพทางการเกษตรต่้าถึงปานกลาง
                  คล้ายคลึงกับทรัพยากรดินภาคใต้ ซึ่งมีฝนตกชุกและต่อเนื่องนาน มีการชะล้าง น้าพาหรือชะละลายธาตุ
                  อาหารออกไปจากดินสูงและดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่้า แต่เนื่องจากดินมีความชื้นค่อนข้างสม่้าเสมอท้าให้

                  เหมาะสมในการปลูกพืชประเภทไม้ผลและไม้ยืนต้น จึงท้าให้มีปัญหาทางการเกษตรน้อยกว่าภูมิภาคอื่นๆ

                        3.1.1  ทรัพยากรดิน

                               กรมพัฒนาที่ดินได้จัดท้าข้อมูลทรัพยากรดินในแต่ละภูมิภาค โดยใช้ข้อมูลกลุ่มชุดดินที่
                  ได้ศึกษาในช่วงพ.ศ. 2548-2555 และกลุ่มเนื้อดินได้จากการรวมกลุ่มชุดดินที่มีลักษณะเนื้อดินกับการใช้
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75