Page 69 - Land Use Plan of Thailand
P. 69

3-1





                                                         บทที่ 3

                                           สถานภาพทรัพยากรของประเทศไทย


                        ประเทศไทยตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระหว่างละติจูดที่ 5 องศา 37 ลิปดาเหนือ
                  ถึงละติจูดที่ 20 องศา 27 ลิปดาเหนือ และลองติจูดที่ 97 องศา 22 ลิปดาตะวันออกถึงลองติจูดที่ 105 องศา
                  37 ลิปดาตะวันออก มีพื้นที่ทั้งหมด 513,115 ตารางกิโลเมตร หรือ 320,696,893 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

                        ทิศเหนือ       ติดต่อกับ  สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาและสาธารณรัฐประชาธิปไตย
                                                  ประชาชนลาว

                        ทิศใต้         ติดต่อกับ  สหพันธรัฐมาเลเซีย
                        ทิศตะวันออก    ติดต่อกับ  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและราชอาณาจักรกัมพูชา
                        ทิศตะวันตก     ติดต่อกับ  สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
                        ประเทศไทยมี 77 จังหวัด แบ่งออกเป็น 5 ภาค (ราชบัณฑิตยสถาน, 2557: 3) ซึ่งมีความแตกต่าง

                  ตามลักษณะภูมิประเทศ ดังนี้

                        1) ภาคเหนือ

                          มีพื้นที่ 106,027,680 ไร่ ประกอบด้วย 17 จังหวัด ภูมิประเทศเป็นพื้นที่ภูเขาสูงสลับซับซ้อน
                  ทอดตัวในแนวเหนือใต้ ทิศเหนือมีเทือกเขาแดนลาวกั้นพรมแดนระหว่างไทยกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพ
                  เมียนมา ทิศตะวันตกมีเทือกเขาถนนธงชัยซึ่งมีดอยอินทนนท์เป็นเขาที่สูงที่สุดในประเทศ สูงจากระดับ
                  ทะเลปานกลาง 2,595 เมตร ตอนกลางมีเทือกเขาผีปันน้้า ทิศตะวันออกมีเทือกเขาหลวงพระบาง

                  เป็นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เทือกเขาในภาคเหนือ
                  เป็นต้นก้าเนิดของแม่น้้า 4 สาย ได้แก่ แม่น้้าปิง แม่น้้าวัง แม่น้้ายม และแม่น้้าน่าน

                        2) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                          มีพื้นที่ 105,533,963 ไร่ ประกอบด้วย 20 จังหวัดภูมิประเทศเกิดจากการยกตัวของแผ่นดินด้าน
                  ตะวันตกและด้านใต้ การยกตัวของแผ่นดินด้านตะวันตกท้าให้เกิดเทือกเขาทอดตัวในแนวเหนือใต้มีเทือกเขา

                  ที่ส้าคัญคือ เทือกเขาเพชรบูรณ์อยู่ตอนเหนือ เทือกเขาดงพญาเย็นอยู่ทางตอนใต้การยกตัวของแผ่นดินด้าน
                  ใต้ท้าให้เกิดเทือกเขาทอดตัวในแนวตะวันตกไปตะวันออกมีเทือกเขาที่ส้าคัญคือ เทือกเขาสันก้าแพง
                  เทือกเขาพนมดงรักเป็นพรมแดนระหว่างประเทศไทยและราชอาณาจักรกัมพูชา ตอนกลางของภาคเป็นแอ่ง
                  กระทะ ประกอบด้วยแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร มีแม่น้้าที่ส้าคัญคือ แม่น้้าชี แม่น้้ามูล และแม่น้้าโขง

                        3) ภาคกลาง

                          มีพื้นที่ 43,450,440 ไร่ ประกอบด้วย 19 จังหวัด ภูมิประเทศเป็นที่ราบน้้าท่วมถึง ลาดเทจากทิศ

                  เหนือลงไปทิศใต้ ด้านตะวันออกมีเทือกเขาดงพญาเย็นและเทือกเขาสันก้าแพงเป็นแนวกันระหว่างภาคกลาง
                  กับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้านตะวันตกมีเทือกเขาถนนธงชัยและเทือกเขาตะนาวศรีเป็นพรมแดนระหว่าง
                  ไทยกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา  และมีที่ราบตอนใต้เป็นดินดอนสามเหลี่ยม
                  ปากแม่น้้าเจ้าพระยา ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของแม่น้้าปิง วัง ยม และน่าน ไหลมารวมกันเป็นแม่น้้าเจ้าพระยา
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74