Page 71 - Land Use Plan of Thailand
P. 71

3-3





                  ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตรไม่แตกต่างกันมากนักมาอยู่ในกลุ่มเนื้อดินเดียวกัน ทรัพยากรดินประเทศไทย

                  สรุปเป็นรายภาคได้ดังนี้

                               1)  ทรัพยากรดินภาคเหนือ

                                   พื้นที่ภาคเหนือมีเนื้อที่รวม 106,027,680 ไร่ ประกอบด้วย 17 จังหวัด ได้แก่ จังหวัด
                  อุทัยธานี นครสวรรค์ ก้าแพงเพชร สุโขทัย ตาก พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ แพร่ น่าน พะเยา
                  เชียงราย ล้าปาง ล้าพูน เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไป เป็นเทือกเขาสูงสลับกับที่

                  ราบระหว่างหุบเขาที่ราบตะกอนน้้าพาหรือเนินตะกอนน้้าพารูปพัด มีทิวเขาทอดยาวในแนวเหนือ-ใต้และ
                  ตะวันออก-ตะวันตก ทางทิศเหนือ มีทิวเขาแดนลาวกั้นเขตแดนระหว่างไทยกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพ
                  เมียนมา ซึ่งเป็นต้นก้าเนิดของแม่น้้าปิง ทางตะวันตกมีทิวเขาถนนธงชัยและทิวเขาตะนาวศรีบางส่วน
                  ตอนกลางของภาคมีทิวเขาผีปันน้้า ซึ่งเป็นต้นก้าเนิดของแม่น้้าวังและแม่น้้ายม ด้านตะวันออกมีทิวเขา
                  หลวงพระบาง ซึ่งเป็นต้นก้าเนิดของแม่น้้าน่าน และมีทิวเขาเพชรบูรณ์บางส่วนเป็นแนวกั้นระหว่าง

                  ภาคเหนือกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส้าหรับที่ราบระหว่างหุบเขาหรือเนินตะกอนน้้าพารูปพัดที่เกิดขึ้น
                  เป็นพื้นที่ผืนใหญ่จะพบบริเวณ 2 ฝั่งของแม่น้้ากกที่ไหลลงสู่แม่น้้าโขง และแม่น้้าปิง แม่น้้าวัง แม่น้้ายม
                  แม่น้้าน่าน ที่จะไหลลงสู่ภาคกลางรวมกันเป็นแม่น้้าเจ้าพระยาที่จังหวัดนครสวรรค์ ที่ราบของแต่ละ

                  หุบเขาจะมีระดับพื้นที่ตั้งแต่ราบเรียบจนถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย พื้นที่ดอนที่เป็นพื้นที่ราบเรียบและ
                  เป็นที่ลุ่มพบเป็นบริเวณกว้างในเขตจังหวัดพิจิตร พิษณุโลก อุตรดิตถ์ และสุโขทัย

                                   ทรัพยากรดินพื้นที่ภาคเหนือ ประกอบด้วย

                                   (1)  ดินในพื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ราบลุ่มหรือพื้นที่น้้าขังส่วนใหญ่พบบริเวณพื้นที่ราบ
                  ตะกอนน้้าพาและตะพักล้าน้้า บางส่วนพบบริเวณพื้นที่ราบในหุบเขา สภาพพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้าง
                  ราบเรียบ ช่วงฤดูฝนมีน้้าแช่ขังแฉะหรือมีระดับน้้าใต้ดินอยู่ใกล้ผิวดินเป็นเวลานาน การระบายน้้าค่อนข้าง

                  เลวถึงเลว ดินมีสีเทาหรือสีเทาอ่อน จุดประสีตลอดหน้าตัดดิน ซึ่งบ่งบอกถึงมีน้้าแช่ขังในหน้าตัดดิน
                  ปฏิกิริยาดินส่วนใหญ่เป็นกรดปานกลางถึงเป็นด่างปานกลาง ความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงสูง
                  ประกอบด้วย 13 กลุ่มชุดดิน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 1 4 5 6 7 15 16 17 18 21 22 25 และ 59 จ้าแนกตาม

                  กลุ่มเนื้อดินอย่างกว้างๆ ได้ 3 กลุ่ม ดังนี้
                                       -  กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินเหนียว มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วน ดินร่วนเหนียวปนทราย

                  แป้งหรือดินเหนียว ส่วนดินล่างเป็นดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทรายแป้ง บางบริเวณอาจได้รับอิทธิพลของ
                  หินปูนหรือหินอัคนี ท้าให้มีเนื้อดินเป็นดินเหนียวจัด ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 1 4 5 6 และ 7

                                       -  กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินร่วน มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วน ดินร่วนปนทราย ดินร่วน
                  ปนทรายแป้ง ส่วนดินล่างเป็นดินร่วน ดินร่วนเหนียว ดินร่วนปนทราย  ดินร่วนเหนียวปนทราย หรือดินร่วน
                  เหนียวปนทรายแป้ง ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 15 16 17 18 21 22 และ 59


                                       -  กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินตื้น มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินร่วนเหนียว
                  ส่วนดินล่างเป็นดินร่วน ดินร่วนเหนียวหรือดินเหนียว มีกรวดหรือลูกรังปะปน ปริมาณเท่ากับหรือมากกว่า
                  ร้อยละ 35 โดยปริมาตร ภายในความลึก 50 เซนติเมตรจากผิวดิน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 25
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76