Page 25 - oil palm
P. 25

(2) ภูมิประเทศลาดเชิงเขา ลูกเนิน และเขาเตี้ย

                     เปนลักษณะภูมิประเทศที่ลดระดับจากพื้นที่ภูเขาลงมา โดยมีระดับสูงตั้งแต 200-300 เมตร ภูมิ
               ประเทศเขตนี้จะสัมพันธกับพื้นที่สวนยางพารา พืชเศรษฐกิจหลักของคนในภาคใต โดยพื้นที่ลาดเชิงเขา ลูก

               เนิน และเขาเตี้ยที่สําคัญที่มีพื้นที่มากที่สุดอยูในเขตติดตอของ 3 จังหวัด ไดแก จังหวัดกระบี่ ตรัง และ

               นครศรีธรรมราช คือ บริเวณเขาสามจอม นอกจากนี้ยังพบภูมิประเทศเหลานี้กระจายอยูโดยทั่วไปลดระดับ

               ลงมาจากพื้นที่ภูเขา ภูมิประเทศลาดเชิงเขา ลูกเนินและเขาเตี้ย ที่สําคัญ ไดแกบริเวณโดยรอบเขาพนมเบญจา
               จังหวัดกระบี่ บริเวณพื้นที่ระหวางปลายพระยา-บานตาขุน จังหวัดกระบี่-จังหวัดสุราษฎรธานี บริเวณพื้นที่ระหวาง

               ลําทับ-บางขัน จังหวัดกระบี่-จังหวัดนครศรีธรรมราช บริเวณพื้นที่ระหวางนาหมอม-นาทวี-สะเดา จังหวัด

               สงขลา บริเวณพื้นที่ระหวางนาทวี-สะบายอย จังหวัดสงขลา

                   (3) ภูมิประเทศชายฝงและกลุมเกาะ
                     ที่ราบชายฝงทะเลของคาบสมุทรภาคใตทั้ง 2 ดาน มีลักษณะที่แตกตางกันคอนขางมาก โดย

               แยกพิจารณาไดดังนี้

                     ชายฝงดานตะวันออกหรือชายฝงทะเลดานอาวไทย อยูในเขตจังหวัดชุมพร สุราษฎรธานี
               นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปตตานี ยะลา และนราธิวาส ลักษณะของชายฝงเปนชายฝงทับถมที่เปนอิทธิพล

               ของทะเล ทําใหมีชายหาดสันทรายเกาใหมและที่ลุมระหวางสันทรายมากมาย พื้นที่ราบชายฝงมีพื้นที่

               มากกวาชายฝงดานตะวันตก โดยเขตที่ราบดอนจะเปนพื้นที่สวนยางพารา ที่ราบเปนสวนผลไมและที่นา ตาม
               ชายฝงหาดทรายเปนสวนมะพราว มีปาพรุน้ํากรอยขึ้นโดยทั่วไปสลับดวยปาชายเลนบางในบางชวง

               นอกจากนี้พบวา ระบบแมน้ําเปนสายที่มีความยาวมากกวาชายฝงดานตะวันตก วางตัวเกือบตั้งฉากกับชายฝง มี

               แนวของสันทรายทั้งใหมและเกาปรากฏอยู มีสันดอนจงอยทราย (Sand  Spit) บริเวณแหลมตะลุมพุก จังหวัด

               นครศรีธรรมราช และแหลมโพธิ์ จังหวัดปตตานี มีอาวที่สําคัญ คือ อาวสวี อาวบานดอน และอาวปากพนัง
               มีทะเลภายใน คือ ทะเลสาบสงขลา ขณะที่เกาะในทะเลภาคใตฝงตะวันออกมีจํานวนนอย โดยเกาะที่มีขนาด

               ใหญ ไดแก เกาะสมุย เกาะพงัน สวนเกาะขนาดเล็ก ไดแก เกาะบริเวณทะเลชุมพร เปนตน

                      ที่ราบชายฝงตะวันตกหรือชายฝงทะเลอันดามัน อยูในเขตจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่

               ตรัง และสตูล เปนชายฝงที่มีไหลทวีปแคบ ภูเขาอยูชิดติดกับชายฝงทะเล ลักษณะชายฝงเวาๆ แหวงๆ ไม
               เปนระเบียบ เปนชายฝงที่สัมพันธกับพื้นที่หินปูนกับหินแกรนิต แมน้ําเปนสายสั้นๆ ปรากฏแนวของพื้นที่

               ปาชายเลนอยูโดยทั่วไปตามแนวชายฝงตั้งแตจังหวัดระนองจนถึงจังหวัดสตูลลักษณะเดนอีกอยางหนึ่งของ

               ชายฝงดานนี้ คือ  เกาะและกลุมเกาะตางๆ ซึ่งแบงออกเปน 2 กลุมใหญ คือ เกาะที่มีหินแกรนิตเปนหินฐาน
               ตั้งแตจังหวัดระนองถึงจังหวัดภูเก็ตและเกาะหินปูนตั้งแตจังหวัดพังงาถึงจังหวัดสตูล ยกเวน เกาะตะรุเตาที่

               เปนหินในกลุมหินตะรุเตาและเกาะอาดัง เกาะราวี ที่เปนเกาะหินแกรนิต กลุมเกาะเหลานี้ตางเปนสถานที่

               ทองเที่ยวที่สําคัญของภาคใตและของประเทศไทย เชน เกาะภูเก็ต หมูเกาะสุรินทร หมูเกาะสิมิลัน เกาะตะรุ
               เตา เกาะพีพี เปนตน

                 2.1.2  ภาคตะวันออก
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30