Page 177 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะเขือเทศ
P. 177

บทที่ 4


                                                    เขตการใชที่ดิน


                        การจัดทำเขตการใชที่ดินพืชเศรษฐกิจของกระทรวงเกษตรและสหกรณ สามารถนำไปใชเพื่อ
                  บูรณาการงานทุกภาคสวนที่เกี่ยวของเพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลได เชน โครงการโซนนิ่งภาคเกษตร
                  ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ โครงการจัดทำแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก
                  (Zoning by Agri-Map) เปนยุทธศาสตรหนึ่งที่มุงเนนการพัฒนาการเกษตร ตั้งแตการผลิต การแปรรูป
                  การตลาดแบบครบวงจร การอารักขาพืช และเฝาระวังโรคแมลงศัตรูพืชที่ระบาด นอกจากนี้ยังสามารถ
                  นำมาพิจารณาจัดทำยุทธศาสตรในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยการนำเทคโนโลยีตางๆ มาชวยเพิ่ม

                  ผลผลิตตอพื้นที่ และยุทธศาสตรการปรับเปลี่ยนการผลิตใหเหมาะสมสอดคลองกับศักยภาพของพื้นที่
                  โดยเลือกกิจกรรมการเพาะปลูกที่เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ เพื่อใหสามารถตอบสนองความตองการ
                  บริโภคภายในประเทศ รวมถึงการสงออกและนำเขากับตลาดตางประเทศอยางเพียงพอ ดังนั้นการจัดทำ
                  เขตการใชที่ดินพืชเศรษฐกิจมะเขือเทศ ที่มุงเนนการพัฒนาการเกษตรทั้งระบบ ควรมีหลักเกณฑและ

                  เขตการใชที่ดิน ดังนี้
                  4.1  หลักเกณฑกำหนดเขตการใชที่ดินพืชเศรษฐกิจ

                        กรมพัฒนาที่ดินไดมีการวิเคราะหเพื่อกำหนดเขตการใชที่ดินพืชเศรษฐกิจมะเขือเทศ โดยได
                  พิจารณากำหนดเขตการใชที่ดินในพื้นที่เพาะปลูกมะเขือเทศของประเทศไทย ซึ่งมีเนื้อที่รวมประมาณ
                  47,619 ไร ทั้งในเขตเกษตรกรรมและในเขตพื้นที่ปาไมตามกฎหมาย แตเนื่องจากปจจุบันสถานการณ

                  การเพาะปลูกมะเขือเทศของประเทศไทยมีแนวโนมที่เปลี่ยนไป พบวาพื้นที่ปลูกมะเขือเทศโรงงานใน
                  ปจจุบัน (พ.ศ. 2562) มีการปลูกในเขตพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย โดยมีการปลูก
                  ในพื้นที่ใกลแหลงรับซื้อ หรืออยูไมไกลจากโรงงานแปรรูปผลผลิตมะเขือเทศมากนัก สวนภาคอื่นๆ เกษตรกรจะ
                  ปลูกมะเขือเทศบริโภคผลสดเนื่องจากผลตอบแทนตอพื้นที่สูงกวา จากขอมูลสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (2561)
                  พบวา การผลิตมะเขือเทศโรงงานมีแนวโนมลดลง พบวา โดยมีแนวโนมลดลงจากปการผลิต พ.ศ. 2559/60

                  ซึ่งมีเนื้อที่เพาะปลูกมะเขือเทศ 22,313 ไร เหลือเพียง 20,888 ไร ในปการผลิต พ.ศ. 2560/61 เนื่องจาก
                  ปญหาในดานของราคารับซื้อที่ตกต่ำ อีกทั้งปญหาขอจำกัดดานการผลิตยังมีอยูมาก เนื่องจากมะเขือเทศเปน
                  พืชที่อายุสั้น เนาเสียงาย การขนสงคอนขางลำบาก มีโรคแมลงรบกวน ตองการดูแลรักษาเปนอยางมาก

                  รวมทั้งผลผลิตตองไดคุณภาพ ปราศจากโรคแมลง และสารเคมี นอกจากนี้ ยังมีการแยงพื้นที่ปลูกกับ
                  พืชเศรษฐกิจอื่น เชน ขาวโพด พริก ยาสูบ ประกอบกับราคาประกันของโรงงานที่ต่ำกวาปกอนๆ ทำใหพื้นที่
                  ปลูกมะเขือเทศโรงงานลดนอยลงอยางตอเนื่อง หากรัฐไมใหความสำคัญในการกำหนดยุทธศาสตรมะเขือเทศ
                  การควบคุมกลไกราคาไมใหตกต่ำเชนในปจจุบัน พื้นที่เพาะปลูกมะเขือเทศของประเทศไทยจะคอยๆ หมดไป

                  โดยเปลี่ยนประเภทการใชที่ดินเปนพืชอื่นที่ใหผลตอบแทนสูงกวา

                        จากการสำรวจและวิเคราะหขอมูลสภาพการใชที่ดินรวมกับราคาผลผลิตและปริมาณการบริโภค
                  ภายในประเทศ ในอดีตจนถึงปจจุบันและคาดการณถึงอนาคต รวมถึงการรวมกลุมของเกษตรกรและกลุม
                  ธุรกิจตอเนื่องของพื้นที่เปาหมายในการปลูกมะเขือเทศของประเทศไทย พบวาเนื้อที่เพาะปลูกมะเขือเทศ
                  ของประเทศไทยมีแนวโนมลดลง เมื่อวิเคราะหจากขอมูลสภาพการใชที่ดินพบวาเนื้อที่ปลูกมะเขือเทศ






                  เขตการใชที่ดินพืชเศรษฐกิจมะเขือเทศ                         กองนโยบายและแผนการใชที่ดิน
   172   173   174   175   176   177   178   179   180   181   182