Page 181 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะเขือเทศ
P. 181

4-5





                  มะเขือเทศนอกเขตปาไมตามกฎหมายไวที่ 3,961 ไร เนื่องจากผลผลิตมีราคาตกต่ำ จึงไมแนะนำในการขยาย

                  พื้นที่เพาะปลูก แตจะมีการยกระดับผลผลิตมะเขือเทศโรงงานตอไรจาก 4,000 กิโลกรัมตอไร ในพื้นที่
                  เหมาะสมมากในการปลูกมะเขือเทศ เปน 5,000 กิโลกรัมตอไร ดังนั้น ในการกำหนดเขตความเหมาะสมของพืช
                  เศรษฐกิจมะเขือเทศในครั้งนี้จึงตองรักษาระดับการเพาะปลูกเดิมไว โดยจะตองมีเปาหมายการผลิตและเพิ่ม

                  ผลผลิตตอไรใหไดตามเปาหมาย กลาวคือ เขตการใชที่ดินสำหรับปลูกพืชเศรษฐกิจมะเขือเทศที่มีความ
                  เหมาะสมมาก (Z-I) จะตองใหไดผลผลิตตอไรเทากับ 5,000 กิโลกรัมตอไร และไดผลผลิตรวม 695 ตัน
                  เขตเหมาะสมมากที่มีการจัดการพื้นที่สำหรับปลูกมะเขือเทศ (Z – IM)  จะตองใหไดผลผลิตตอไรเทากับ
                  5,000 กิโลกรัมตอไร และไดผลผลิตรวม 12,505 ตัน  เขตการใชที่ดินสำหรับปลูกพืชเศรษฐกิจมะเขือเทศที่มี

                  ความเหมาะสมปานกลาง (Z – IIM) จะตองใหไดผลผลิตตอไรเทากับ 4,000 กิโลกรัมตอไร และไดผลผลิตรวม
                  3,268 ตัน เขตเหมาะสมเล็กนอย ที่มีการจัดการพื้นที่สำหรับปลูกมะเขือเทศ (Z – IIIM) จะตองใหไดผลผลิตตอไร
                  เทากับ 3,000 กิโลกรัมตอไร และไดผลผลิตรวมเทากับ 1,062 ตัน ตามลำดับ และตองสงเสริมใหเกษตรกรที่
                  ใชพื้นที่ปาไมตามกฎหมายในการปลูกมะเขือเทศ หันมาปลูกปาในพื้นที่ปาตามกฎหมาย สวนผลผลิตที่ยังไมพอ

                  ตอโควตาการผลิตของโรงงาน อีกประมาณ 60,000 ตัน รัฐควรสงเสริมใหมีการปลูกมะเขือเทศหลังนาในพื้นที่
                  เกษตรกรรม และมีการพัฒนาแหลงน้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่ใกลโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปมะเขือเทศใน
                  พื้นที่จังหวัดสกลนคร และหนองคาย เปนตน หากสามารถทำไดตามเปาหมายที่ตั้งไว ในระยะเวลา 2-3 ป
                  ขางหนา ประเทศไทยก็จะไมประสบกับปญหาขาดแคลนผลผลิตมะเขือเทศ และไมมีปญหาเรื่องสินคามะเขือเทศ

                  ลนตลาด และราคาผลผลิตตกต่ำ แตทั้งนี้ รัฐตองเขามาใหความชวยเหลือดานการควบคุมกลไกราคาอยาง
                  จริงจัง และตองมีมาตรการการชดเชยรายไดใหเกษตรกรในกรณีเกษตรกรมีการใชพื้นที่ที่เหมาะสมสูงในการ
                  ปลูกมะเขือเทศ และมีการขึ้นทะเบียนเปนเกษตรกรผูปลูกมะเขือเทศกับกรมสงเสริมการเกษตร สำหรับ
                  เปาหมายผลผลิตมะเขือเทศโรงงาน ตามเขตการใชที่ดิน และเปาหมายพื้นที่ปลูกมะเขือเทศรวมตามเขตการใช

                  ที่ดิน มีรายละเอียดตามตารางที่ 4-2

                  ตารางที่ 4-2   เปาหมายผลผลิตมะเขือเทศโรงงาน ตามเขตการใชที่ดิน

                  เปาหมายการผลิต           เขตการใชที่ดิน          ผลผลิตเฉลี่ย  เนื้อที่  ผลผลิตรวมเฉลี่ย
                       (ตัน)                                         (กิโลกรัม/ไร)   (ไร)   (ตัน)
                      80,000      เขตเหมาะสมมาก                        5,000       139            695
                                  เขตเหมาะสมมากที่มีการจัดการ          5,000      2,501         12,505

                                  เขตเหมาะสมปานกลางที่มีการจัดการ      4,000       817           3,268

                                  เขตเหมาะสมเล็กนอยที่มีการจัดการ     3,000       354           1,062


                                  เขตพื้นที่ทดแทนการปลูกมะเขือเทศ      5,000     12,494         62,470

                                  ในเขตปาไมตามกฎหมาย* (พืชหลังนา)
                                               รวม                               16,305         80,000
                  หมายเหตุ :   รอยละของพื้นที่ปลูกมะเขือเทศ คิดจากพื้นที่ปลูกมะเขือเทศที่นำมาใชกำหนดเขตการใชที่ดินตอพื้นที่
                             ปลูกมะเขือเทศทั้งหมดในเขตเกษตรกรรมของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
                             * รัฐควรสงเสริมใหมีการปลูกมะเขือเทศหลังนาในพื้นที่เกษตรกรรม ในพื้นที่ใกลโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูป

                             มะเขือเทศในพื้นที่จังหวัดสกลนคร และหนองคาย
                  ที่มา : จากการวิเคราะหขอมูลดวยโปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร




                  เขตการใชที่ดินพืชเศรษฐกิจมะเขือเทศ                         กองนโยบายและแผนการใชที่ดิน
   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185   186