Page 184 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะเขือเทศ
P. 184

4-8





                        ภาคเหนือ กำหนดเขตการใชที่ดินพืชเศรษฐกิจมะเขือเทศโรงงานครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัด ไดแก

                  เชียงใหม แมฮองสอน ตาก และเชียงราย แตเนื่องจากพื้นที่ปลูกมะเขือเทศของจังหวัดเชียงราย ปลูกใน
                  พื้นที่ปาไมตามกฎหมายทั้งหมด จึงไมกำหนดเขตการใชที่ดินพืชเศรษฐกิจมะเขือเทศในพื้นที่จังหวัด
                  ดังกลาว สำหรับพื้นที่ที่นำมากำหนดเขตการใชที่ดินของภาคเหนือ แบงออกเปนเขตเหมาะสมมาก

                  สำหรับมะเขือเทศโรงงาน เขตความเหมาะสมมากในพื้นที่ที่มีการจัดการสำหรับปลูกมะเขือเทศ เขตการ
                  ใชที่ดินที่มีความเหมาะสมปานกลางในพื้นที่ที่มีการจัดการสำหรับปลูกมะเขือเทศ และเขตเหมาะสม
                  เล็กนอยในพื้นที่ที่มีการจัดการสำหรับปลูกมะเขือเทศ รวมเนื้อที่ 3,119 ไร โดยจังหวัดเชียงใหมมีพื้นที่
                  เขตการใชที่ดินของมะเขือเทศมากที่สุดมีเนื้อที่ 2,269 ไร คิดเปนรอยละ 87.07 ของพื้นที่เขตการใชที่ดิน

                  มะเขือเทศภาคเหนือ (ตารางที่ 4-4 และรูปที่ 4-2)

                        ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กำหนดเขตการใชที่ดินพืชเศรษฐกิจมะเขือเทศครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด
                  โดยเขตความเหมาะสมมากในพื้นที่ที่มีการจัดการสำหรับปลูกมะเขือเทศ มีพื้นที่เขตการใชที่ดิน
                  พืชเศรษฐกิจมะเขือเทศ มีพื้นที่รวม 692 ไร (ตารางที่ 4-6) โดยจังหวัดนครพนม มีพื้นที่เขตการใชที่ดิน

                  มะเขือเทศมากที่สุด คือ มีเนื้อที่ 391 ไร คิดเปนรอยละ 56.50 ของพื้นที่เขตการใชที่ดินมะเขือเทศ
                  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ตารางที่ 4-7 และรูปที่ 4-3)


                  4.3  มาตรการดำเนินงานพัฒนาพืชเศรษฐกิจมะเขือเทศ

                        นโยบายของประเทศที่กำหนดใหประเทศไทยเปนครัวของโลกและสามารถผลิตอาหารสงออกสู
                  ตลาดโลกไดอยางพอเพียงและสม่ำเสมอ เนื่องจากภัยแลง และศัตรูพืชระบาด สงผลใหผูมีสวนเกี่ยวของทั้ง
                  ภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชนจนถึงเกษตรกรผูผลิตตองตระหนักถึงความเสียหายและผลกระทบที่เกิดขึ้น ดังนั้น
                  เพื่อใหการผลิตมะเขือเทศและธุรกิจตอเนื่องมีความมั่นคง จึงควรมีมาตรการดำเนินงานที่ชัดเจนและ
                  เหมาะสม ในการนี้หลายมาตรการไดดำเนินการอยางเปนรูปธรรมโดยหนวยงานที่รับผิดชอบ ซึ่งมีทั้ง

                  มาตรการระยะสั้นจนถึงมาตรการระยะยาวดังนี้

                        4.3.1 มาตรการในการจัดการศัตรูพืชมะเขือเทศที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
                            มาตรการเรงดวน กลุมอารักขาพืช ของกรมสงเสริมการเกษตร มีการควบคุมการใชสารเคมี
                  ที่มีการวิจัยแลววาไมมีอันตรายตอผูบริโภค การใชสารกำจัดแมลงที่ไมเปนอันตรายตอมนุษย แตตองทำ
                  ดวยความระมัดระวัง หรือกรณีการระบาดยังไมรุนแรง อาจใชการจัดการควบคุมศัตรูมะเขือเทศดวยชีววิธี
                            มาตรการระยะกลาง โดยการสรางระบบเตือนภัยและจัดตั้งศูนยจัดการศัตรูพืชชุมชน

                  เพื่อถายทอดเทคโนโลยีและความรูใหเกษตรกร และสรางความรวมมือในการจัดการควบคุมศัตรูมะเขือเทศ
                  รวมกับทางราชการ
                            มาตรการระยะยาว สงเสริมใหมีการวิจัยและพัฒนาเพื่อสรางองคความรูในการควบคุม
                  ศัตรูพืชมะเขือเทศ และสามารถถายทอดเปนเทคโนโลยีที่เหมาะสมแกเกษตรกร

                        4.3.2 มาตรการในการเพิ่มผลผลิตมะเขือเทศ เนื่องจากพื้นที่ปลูกมะเขือเทศของประเทศ
                  มีแนวโนมลดลง ดังนั้นการที่จะคงผลผลิตของมะเขือเทศใหเพียงพอตอการบริโภคและอุตสาหกรรมที่มี

                  แนวโนมเพิ่มขึ้น จำเปนตองยกระดับผลผลิตตอหนวยพื้นที่ใหสูงขึ้น







                  เขตการใชที่ดินพืชเศรษฐกิจมะเขือเทศ                         กองนโยบายและแผนการใชที่ดิน
   179   180   181   182   183   184   185   186   187   188   189