Page 188 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะเขือเทศ
P. 188

4-12





                        15. แนะนำเกษตรกรใหผลิตพืชตามพื้นที่ที่เหมาะสมตาม Agri-Map

                        16. ใหความรูในเรื่องการจัดการดิน น้ำ และพืชอยางเหมาะสมและตอเนื่อง พรอมทั้งจัดหาพื้นที่
                  จัดทำแกมลิง เพื่อเพิ่มพื้นที่เก็บกักน้ำ และพื้นที่ระบายน้ำ
                        17. ใหองคการตลาดเพื่อเกษตรกรเตรียมความพรอมเปนแหลงรองรับผลผลิตทางการเกษตรจาก

                  เกษตรกรสูผูบริโภคโดยตรง พรอมทั้งขับเคลื่อนนโยบายการตลาดนำการผลิต โดยสำรวจความตองการ
                  ของตลาด กำหนดปริมาณการรับซื้อและเปนแหลงจำหนายสินคาสรางรายไดใหแกเกษตรกรในทองถิ่น
                        18. สงเสริมและสนับสนุนใหประชาชนนำแนวคิดของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช
                  ใหรูจักการใชทรัพยากรที่มีอยูอยางจำกัดใหเกิดประโยชนสูงสุด รวมถึงรูจักการออม

                        19. สงเสริมการแปรรูปในกลุมแมบานเกษตร/วิสาหกิจชุมชนและกลุมเกษตรกร โดยการ
                  สนับสนุนเงินทุน/เงินกูดอกเบี้ยต่ำ/เพื่อสนับสนุนการแปรรูปและการพัฒนาผลิตภัณฑ/บรรจุภัณฑให
                  ไดมาตรฐาน
                        20. ภาครัฐ ภาคเอกชนรวมทั้งเกษตรกรตองมีการติดตามสถานการณและรวมกันแกไขปญหา

                  และตองมีการปรับตัวโดยเฉพาะกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ไดผลิตภัณฑที่มีคุณภาพ
                  มาตรฐานสากลในราคาที่สามารถแขงขันตลาดตางประเทศได
                        21. สรางภาพลักษณใหแกผลิตภัณฑมะเขือเทศของประเทศไทย โดยมีการแนะนำและ
                  ประชาสัมพันธสินคาที่ผลิตจากมะเขือเทศ และมีเครื่องหมายรับรองที่เปนของทางราชการและ

                  เครื่องหมายการคาของผูสงออกที่ไดรับมาตรฐานจากทางราชการอยางตอเนื่อง เพื่อสรางความมั่นใจ
                  ใหกับผูบริโภคทั้งในและตางประเทศ
                        22. สงเสริมใหมีการปลูกพืชแซมระหวางแถวมะเขือเทศ เชน พริกพันธุเล็บมือนาง และพันธุฮอต
                  เปนตน พบวาไดรับผลตอบแทนที่สูงกวาการปลูกมะเขือเทศแบบพืชเชิงเดี่ยว เปนแนวทางในการเพิ่มรายได

                  แกเกษตรกร
                        23. โครงการและนโยบายของรัฐ ที่เกี่ยวของในเชิงพื้นที่ เชน โครงการขึ้นทะเบียนเกษตรกร
                  ผูปลูกพืช โครงการประกันรายไดเกษตรกร และอื่นๆ ควรใชเขตการใชที่ดินพืชเศรษฐกิจมะเขือเทศ
                  เปนฐานขอมูลเพื่อชวยในการกำหนดมาตรการ ตัดสินใจ

                        24.  การประกันรายไดเกษตรกรที่ปลูกมะเขือเทศ ควรดำเนินการเฉพาะเกษตรกรที่ทำการผลิตใน
                  เขตการใชที่ดินพืชเศรษฐกิจมะเขือเทศ
                        25. การใหการสนับสนุนดานปจจัยการผลิตที่มีคุณภาพ และราคายุติธรรมแกเกษตรกรที่ปลูก

                        26. ภาครัฐควรใหสิทธิพิเศษสำหรับเกษตรกรที่ปลูกพืชตามเขตการใชที่ดินที่กำหนด เชนการสนับสนุน
                  ดานเงินทุนดอกเบี้ยต่ำและใชมาตรการดานภาษี
                        27. สามารถใชพื้นที่ตามเขตการใชที่ดินพืชเศรษฐกิจมะเขือเทศเปนฐานขอมูลและเงื่อนไข
                  ในการพัฒนาระบบโลจิสติกสและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร เพื่อใชในการบริหาร การจัดการใหมี
                  ประสิทธิภาพตั้งแตการปลูก การเก็บเกี่ยวและการขนสง โดยดำเนินการจัดสรรโควตาไดตั้งแตวันที่ปลูก

                  เพื่อเปนการลดตนทุนโดยรวมและลดความเสียหายคุณภาพของสินคาเกษตร
                        28. ในการกำหนดเขตพัฒนาที่ดินเพื่อเปนพื้นที่ดำเนินการพัฒนา โดยการบูรณาการกิจกรรม
                  ที่เกี่ยวของ เชน การจัดทำระบบอนุรักษดินและน้ำทั้งวิธีกลและวิธีพืชปองกันการชะลางพังทลายของดิน

                  การปรับปรุงบำรุงดินที่มีปญหา รวมทั้งการฟนฟูดินเสื่อมโทรมในพื้นที่ที่ดินขาดอินทรียวัตถุ




                  เขตการใชที่ดินพืชเศรษฐกิจมะเขือเทศ                         กองนโยบายและแผนการใชที่ดิน
   183   184   185   186   187   188   189   190   191   192   193