Page 213 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ
P. 213

ผก-9




                  ฝอย และโรคใบจุดสีน้ าตาล ถ้าใช้น้ าประปา ควรระวังปริมาณคลอรีน โดยเฉพาะจากแหล่งน้ าที่อยู่ใกล้ทะเล

                  หรือสระทีมีมูลสัตว์ น้ าที่มีคลอรีน สูงกว่า 200 ppm จะท าให้ใบยาแห้ง เกิดฝ้า และมีสีอมเขียว น้ าก้นบ่อ
                  หรือก้นบึง ที่มีเหล็กและอะลูมินัมออกไซด์สูง ไม่ควรน ามาใช้ เพราะเมื่อแห้งติดผิวใบจะท าให้ใบยาคุณภาพต่ า
                             การตอนยอดและตอนหน่อ การตอนยอด หมายถึง การเด็ดช่อดอกและใบขนาดเล็ก 4-7 ใบ

                  ที่ยอดทิ้งไป ส่วนการตอนหน่อ หมายถึง การก าจัดกิ่งแขนงที่เกิดขึ้นหลังการเด็ดยอดทิ้งนี้ มีวัตถุประสงค์
                  ที่จะก าจัดยอดและ ใบขนาดเล็ก ท าให้อาหารไปเลี้ยงใบส่วนล่างให้เจริญได้เต็มที่ ใบกว้างยาว หนา แก่ช้าลง
                  และคุณภาพดีขึ้น ช่วยกระตุ้นให้เกิดรากช่วยดูดน้ าและอาหารได้มากขึ้นลดการโค่นล้ม และลดความเสียหาย
                  จากโรคและแมลงที่ท าลายใบอ่อน อย่างไรก็ตามชาวไร่ไม่นิยมการเด็ดยอด เนื่องจากตลาดนอกประเทศ
                  นิยมใบยาสูบเนื้อบาง นอกจากนี้ยังท าให้เก็บ ใบยาสูบได้ช้าลง และมีความรู้สึกว่าเสียผลผลิตไปบางส่วน

                  การตอนหน่อ ท าได้ 2 วิธีคือ การเด็ดด้วยมือ ซึ่งจะท าให้ตาที่มุมใบสามารถเจริญขึ้นมาทดแทนกิ่งที่ถูกเด็ดไป
                  จึงด้องเด็ด 3-4 ครั้ง จึงต้องใช้แรงงานเป็นจ านวนมากและการใช้สารเคมี ซึ่งสารเคมีที่ใช้แบ่งออกได้
                  เป็น 3 ประเภท ได้แก่

                             1. ประเภทสัมผัสได้แก่ น้ ามันมะพร้าวอีมัลชั่น และ โรแยลแทค (Royaltac) เข้มข้น
                  3 เปอร์เซ็นต์ น ามาทาหรือรดกิ่งแขนงสั้นกว่า 3 เซนติเมตร ต้นละ 100 มิลลิลิตร สารดังกล่าวจะท าให้เซลล์
                  สูญเสียน้ า และเหี่ยวแห้งไป อาจมีกิ่งแขนงงอกใหม่ได้อีกใน 2-3 สัปดาห์ ซึ่งช้ากว่าวิธีเด็ด และในบางครั้ง
                  ไม่มีแขนงงอกใหม่อีก  การทาและรดให้ผลผลิตใกล้เคียงกัน แต่การทาสิ้นเปลืองแรงงานมากกว่า

                             2. ประเภทดูดซึม ได้แก่ มาเลอิคไฮดราไซด์ (MH-30) เข้มข้น 3 เปอร์เซ็นต์ หรือ 20-30 มิลลิลิตร
                  ต่อต้น ทากิ่งแขนงมีผลท าให้การแบ่งเซลล์หยุดชะงัก แต่เซลล์ยังมีการขยายตัว กิ่งแขนงจึงเจริญทางด้านยาว
                  มากกว่ากว้างใบเรียวเล็ก เนื่องจากกิ่งยังไม่ตายจึงไม่เกิดกิ่งแขนงใหม่ขึ้นอีก
                             3. ประเภทกึ่งสัมผัสกึ่งดูดซึม ได้แก่ A-820 (Tamex) เมื่อน ามาทากิ่งแขนงจะถูกดูดซึมเข้าไป

                  เฉพาะบริเวณที่สัมผัสกับสารเท่านั้น กิ่งที่ได้รับสารเคมีจะเหลืองซีด และไม่เจริญเติบโต แต่ยังไม่ตาย
                             จากการทดลองใช้ A-820 โรแยลแทค มาเลอิคไฮดราไซด์ และการตอนด้วยมือ พบว่าการใช้
                  สารเคมี ทั้ง 3 ชนิด จะให้ผลผลิตใบยาสดเท่ากัน แต่ A-820 ให้น ้าหนักใบยาแห้งและรายได้สูงที่สุด ในขณะ
                  ที่การใช้โรแยลแทค มาเลอิคไฮดราไซด์ และวิธีตอนด้วยมือ ให้น้ าหนักใบยาแห้งใกล้เคียงกัน

                             การตอนยอดยาสูบเวอร์ยิเนีย ควรท าในระยะที่ดอกบาน 1 ดอกในแต่ละช่อ หรืออายุ 65-75 วัน
                  จ านวนใบที่ตัดทิ้งขึ้นกับความสมบูรณ์ของต้น ถ้าต้นแข็งแรงเหลือใบไว้ 16-18ใบ แต่ถ้าต้นอ่อนแอควรเหลือ

                  ใบประมาณ 12 ใบ ยาสูบเบอร์เลย์ จะตอนยอดเพียงครั้งเดียว เมื่อต้นทั้งแปลงดอกบานประมาณ  /3 หรือ
                                                                                                    2
                  3 /4 โดยเหลือใบ ไว้ที่ต้นมากกว่าที่ต้องการเก็บ 2 ใบ สองใบนี้จะเด็ดทิ้งไปขณะเก็บเกี่ยว เนื่องจากต้องการ
                  ลดปริมาณสารนิโคตินลง ซึ่งแตกต่างจากใบยาสูบเวอร์ยิเนีย ที่ต้อง การปริมาณสารนิโคตินในใบยาสูงที่สุด

                  ส าหรับการตอนหน่อ มีการไว้หน่อที่ส่วนยอดจ านวน 2 หน่อ เพื่อลดปริมาณสารนิโคตินดังกล่าวแล้ว ส่วน
                  ยาสูบเตอร์กิชนั้น ต้องการใบยาที่มีกลิ่นหอม โดยใบยาขนาดเล็กจะมีความหอมมากกว่าใบยาขนาดใหญ่

                  เนื่องจากใบยาทั้งสองขนาดมีต่อมที่ให้สารหอมจ านวนเท่ากัน ดังนั้นจึงไม่มีการตอนยอดและตอนหน่อในยา
                  ลูบเตอร์กิช เนื่องจากจะท าให้ใบยาขนาดใหญ่ขึ้น ความหอมลดลง และใบยาสุกแก่เกินไป





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ                               กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   208   209   210   211   212   213   214   215   216   217   218