Page 208 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ
P. 208

ผก-4




                  ละเอียดมาก ก้านกลางใบเล็กบาง เมื่อบ่มแล้วจะมีสีเหลืองแถบน้ าตาล หรือเหลืองทอง กลิ่นหอมมาก ความ

                  ยืดหยุ่นและการไหม้ลามดีและมีเถ้าสีขาว

                  ภาคผนวก ก-2 สภาพแวดล้อมที่เหมาสม
                        กรมสรรพสามิตได้ก าหนดจังหวัดที่สามารถปลูกยาสูบโดยแบ่งชนิดของยาสูบดังนี้
                             1. เวอร์ยิเนีย โดยจังหวัดที่ได้ท าการปลูกได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ล าปาง ล าพูน

                  แม่ฮ่องสอน หนองคาย น่าน แพร่ นครพนม อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ และสุโขทัย รวม 13 จังหวัด
                             2. เบอร์เลย์ โดยจังหวัดที่ได้ท าการปลูกได้แก่ สุโขทัย เพชรบูรณ์ และอุตรดิตถ์ รวม 3 จังหวัด
                             3. เตอร์กิช โดยจังหวัดที่ได้ท าการปลูกได้แก่ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด สกลนคร นครพนม

                  กาฬสินธุ์ ยโสธร อุบลราชธานี ชัยภูมิ ขอนแก่น บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ สุรินทร์ นครสวรรค์ และเลย รวม 14 จังหวัด
                             สภาพพื้นที่ดิน ควรเป็นพื้นที่ที่ไม่ปลูกยาสูบ หรือพืชชนิดอื่นที่เป็นพืชอาศัยของโรค
                  และแมลงศัตรูยาสูบ นาน 2-3 ปี ดินชั้นบนลึก 25-35 เซนติเมตร ควรเป็นดินร่วนปนทราย (sandy loam)
                  หรือดินทรายร่วน (loamy sand) อุ้มน้ าและระบายน้ าได้ดี เมื่อแห้งไม่แข็งเป็นก้อน และเมื่อเปียกไม่เหนียว ปกติ

                  ดินประเภทนี้สีอ่อน ส่วนดิน ชั้นล่างลึก 70 เซนติเมตร ควรเป็นดินเหนียวปนทราย (sandy clay) เนื้อ
                  ละเอียดปานกลาง ระบายน้ าได้ดี สามารถอุ้มน้ าและเก็บธาตุอาหารไว้ใช้ในช่วงแล้งได้ดีกว่าดินชั้นบน
                  ในดินควรมีอาตุอาหารและอินทรียวัตถุไม่เกิน ร้อยละ 3 ซึ่งจะช่วยให้โครงสร้างของดินโปร่ง
                  อากาศถ่ายเทสะดวก การอุ้มน้ าดี ตลอดจนจุลินทรีย์ ที่เป็นประโยชน์ เจริญเติบโตได้ดี หากมีมากกว่านี้

                  โดยเฉพาะเมื่อปลูกพืชตระกูลถั่วก่อนจะท าให้มีไนโตรเจนสูง ซึ่งมีผลให้ใบยาสูบเนื้อหนา ช้ าและบ่มยาก
                  ดินควรมี pH 5.5-6.0 และไม่ควรมีคลอรีนเกิน 6 กิโลกรัมต่อไร่ ควรยกแปลงปลูกเพี่อช่วยการระบายน้ า
                  และควรมีแหล่งน้ าอยู่ใกล้ เพี่อที่จะน าน้ าเข้าแปลงได้ในเวลาที่ต้องการ ไม่ควรปลูกในพื้นที่นา ที่มีระดับน้ าใต้ดินตื้น
                  กว่า 1 เมตร เนื่องจากรากจะเจริญเติบโต ไม่ดี ล าหรับยาสูบเตอร์กิช ควรปลูกบนที่เนินที่ความเข้มของแสงน้อย

                  และอุณหภูมิค่อนข้างต่ า
                             สภาพอากาศ อุณหภูมิที่เหมาะสมในการปลูกยาสูบนั้น ในช่วงกลางวันไม่ควรสูงกว่า
                  29-32 องศาเซลเซียส และในเวลากลางคืนไม่ต่ ากว่า 18-21 องคาเซลเซียส อุณหภูมิที่เหมาะสม คือ

                  21-26 องศาเซลเซียส  และควรได้รับน้ าฝน 25-35 มิลลิเมตร ต่อสัปดาห์หรือ 10 วัน หรือ 250-1,270 มิลลิเมตร
                  ตลอดฤดูปลูก ลักษณะของฝนที่เหมาะสมส าหรับยาสูบ คือ ตกน้อยแต่บ่อยครั้ง
                             ฤดูปลูก เป็นปัจจัยที่ส าคัญอย่างหนึ่งในการปลูกยาสูบ เนื่องจากในแต่ละฤดูปลูกมีสภาพแวดล้อม
                  ที่แตกต่างกัน ทั้งในด้านปริมาณน้ าฝน ช่วงแสง อุณหภูมิ และความชื้นในอากาศ ปัจจัยเหล่านี้ ล้วนมีอิทธิพลต่อ
                  ผลผลิตและคุณภาพของใบยาสูบ ฤดูปลูกของยาสูบเวอร์ยิเนียแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ

                               1. ยาปีปลูกระหว่างเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม คุณภาพของใบยาที่ดีที่สุด เนื่องจาก
                  ได้รับปัจจัยในการผลิตต่างๆ อย่างเหมาะสม ยาสูบในรุ่นนี้มีพื้นที่ปลูกน้อยที่สุด
                                      2. ยาทาปลูกระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม ใบยาคุณภาพต่ าที่สุด เนื่องจากมัก

                  ประสบ ปัญหาการเกิดโรค และคุณภาพในการบ่มยาของใบยาไม่ดี มักปลูกในนาข้าวหลังเก็บเกี่ยว ยาสูบ
                  ประเภทนี้มีพื้นที่ปลูกมากที่สุด





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ                               กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   203   204   205   206   207   208   209   210   211   212   213