Page 212 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ
P. 212

ผก-8




                  ตามล าดับ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง เมื่ออายุได้ 7-10 และ 30 วัน หลังย้ายปลูก โดยขุดร่องข้างแถวห่างจากต้น

                  5-15 เซนติเมตร ลึก 3-5 เซนติเมตร ซึ่งลึกกว่าราก โรยปุ๋ยเป็นแถบกว้างประมาณ 5 เซนติเมตร นอกจากนี้
                  อาจใส่โพแทสเซียมไนเตรท อัตรา 12-15 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นปุ๋ยเสริมเมื่ออายุ 40-45 วันโดยละลายน้ ารด
                             2. ยาสูบเบอร์เลย์ มีความต้องการปุ๋ย ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม อัตรา 10-16 กิโลกรัม

                  N 12-24 กิโลกรัม P205 และ 20-30 กิโลกรัม K20 ต่อไร่โดยทั่วไปนิยมใส่ปุ๋ยผสมสูตร 4-16-24+4 (MgO)
                  6-18-24+4 (MgO) หรือ 6-12-24+4 (MgO) อัตรา 100-150 กิโลกรัมต่อไร่ และโบแรกซ์ (borax) อัตราไม่เกิน
                  0.5 กิโลกรัมต่อไร่ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อยาสูบอายุไม่เกิน 1 สัปดาห์ และครั้งที่ลองใส่เมื่อ อายุไม่เกิน
                  3 สัปดาห์ นอกจากนี้ควรให้ปุ๋ยโพแทสเซียมไนเตรทอัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ หรือแคลเซียม แอมโมเนียม
                  ไนเตรทอัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร่

                             3. ยาสูบเตอร์กิช ต้องการความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ ากว่ายาสูบ 2 ประเภทแรกที่กล่าวมา
                  สูตร ปุ๋ยที่ใช้คือ 3-10-8 อัตรา 70-80 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่ก่อนปลูก 2-3 วันไม่นิยมใส่หลังปลูกเพราะใช้ระยะปลูก
                  ค่อนข้างถี่ ในกรณีที่เป็นดินทรายจัดและมีอินทรียวัตถุต่ ากว่า 1 เปอร์เซ็นต์ ควรหว่านปุ๋ยคอกอัตรา 3 ตันต่อไร่

                  หลังการไถ แล้วไถแปรกลบอีก 2 ครั้งหลังหว่าน เพื่อให้ปุ๋ยคอกสลายตัว ควรหว่านก่อนปลูก 3-4 เดือน
                             การให้น้ า ในช่วง 6 วันหลังย้ายปลูก ยาสูบต้องการน้ ามาก เพื่อให้ดินเกาะราก เร่งให้ราก
                  เจริญเติบโต ลดการคายน้ า และลดอันตรายที่อาจเกิดกับรากเนื่องจากความเข้มข้นของปุ๋ย จึงควรให้น้ า 12 ลิตร
                  ต่อตารางเมตรต่อวัน จนยาสูบอายุ 6-35 วัน ควรงดให้น้ า เพื่อกระตุ้นให้รากเจริญมากขึ้นเพื่อหาน้ า ซึ่งจะท าให้มี

                  ผลผลิต และคุณภาพใบสูงขึ้น แต่อาจต้องให้น้ าบ้างถ้าต้นยาสูบเหี่ยวก่อน 11.00 น. ระยะที่ยาสูบอายุ 36-65 วัน
                  จะต้องการน้ ามาก เนื่องจากใบแผ่กว้างอย่างรวดเร็ว ควรให้น้ า 25-30 ลิตรต่อตารางเมตรต่อสัปดาห์ ถ้า
                  ขาดน้ าในระยะนี้จะมีผลให้การเจริญหยุดชะงัก แต่ถ้าได้รับน้ ามากเกินไป จะท าให้ใบยาสีซีด นิโคตินและ
                  น้ ามันต่ า โดยทั่วไปจะงดให้น้ า ในระยะเก็บเกี่ยว ยกเว้นเมื่อมีสภาพแล้งมากเท่านั้น การงดให้น้ าในระยะนี้

                  จะช่วยลดอัตราการเป็นโรคเช่น โรคใบจุดสีน้ าตาล และช่วยชะลอให้ใบยาสุกแก่เต็มที่อย่างช้าๆ แต่ถ้า
                  ขาดน้ ามากเกินไป จะท าให้ใบยาที่น ามาบ่มมีสีไม่เหลืองตามต้องการ จึงควรให้น้ า 15-25 ลิตรต่อตารางเมตร
                  เมื่อต้นยาสูบขาดน้ า นอกจากนี้ควรให้น้ าพอ  สมควรหลังการใส่ปุ๋ย เพื่อช่วยในการละลายปุ๋ย ส าหรับยาสูบ
                  เตอร์กิชนั้น หลังจากต้นกล้าตั้งตัวได้แล้ว ความชื้นจากน้ าค้างก็เพียงพอ เนื่องจากใบเล็กและต้นเตี้ยกว่า

                  ยาสูบประเภทอื่น จึงทนแล้งได้ดีกว่า
                             การให้น้ าอย่างถูกวิธี จะช่วยให้ต้นยาสูบเจริญเติบโตเร็ว ลดความเสียหายที่เกิดกับราก
                  จากโรคแข้งด าหรือไส้เดือนฝอย ผลผลิตเพิ่มขึ้นประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ และใบยามีคุณภาพดี เนื่องจากใบ

                  ยาสด สุกสม่ าเสมอ และใบแห้งมีการเผาไหม้ดี นอกจากนี้ยังสะดวกในการเก็บ และบ่มง่าย แต่ถ้าให้น้ ามาก
                  เกินไป รากจะได้รับอันตราย  และเกิดการชะล้างธาตุอาหาร โดยเฉพาะ ไนโตรเจนและโพแทสเซียมออกจาก
                  แปลง ดังนั้นหลังฝนตกหนักควรตรวจแปลงเสมอและท าการระบายน้ าทันที เนื่องมีน้ าขังในแปลง ต้นยาสูบที่
                  ได้รับน้ าไม่เหมาะสม จะให้ใบยาที่มี คุณภาพกลิ่น รส และ เนื้อใบต่ า
                             น้ าที่น ามาใช้เพื่อการเพาะปลูกยาสูบ ควรเป็นน้ าไหลจากแม่น้ าหรือคลองชลประทาน

                  ที่ไม่ผ่านแปลงที่เป็นโรคซึ่งสามารถติดมากับน้ า เช่น โรคแข้งด า โรคเหี่ยวเฉา โรคเหี่ยวด้านเดียว ไส้เดือน






                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ                               กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   207   208   209   210   211   212   213   214   215   216   217