Page 209 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ
P. 209

ผก-5




                                       3. ยาแล้งปลูกระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนสิงหาคม ใบยามีคุณภาพรองจากยาปี พื้นที่ปลูกยา

                  แล้งมากกว่ายาปี มักพบโรคตากบ ซึ่งท าให้เกิดแผลที่ใบ และก้านใบเน่าหลุดร่วงในขณะบ่ม
                             ยาสูบเบอร์เลย์ จะปลูกในเดือนพฤศจิกายนหรือเดือนธันวาคม เพราะพื้นที่ปลูกยาสูบประเภท
                  นี้ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ริมแม่น้ า ซึ่งต้องให้น้ าในแม่น้ าลดลงเสียก่อน ส่วนยาสูบเตอร์กิชโดยปกติจะปลูกประมาณ
                  เดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับการปลูกยาสูบพื้นเมือง ใบยาจะสุกแก่ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือน

                  มีนาคม ซึ่งเป็นฤดูแล้ง เหมาะแก่การเก็บเกี่ยว และไม่มีน้ าฝนที่จะซะยางบนใบยาสูบออก ซึ่งจะท าให้ใบยาบาง
                  และกลิ่นหอมจางลง

                  ภาคผนวก ก-3 การปลูกและการดูแลรักษา
                        การปลูกต้องมิการดูแลรักษาอย่างใกล้ซีด เพราะนอกจากต้องการผลผลิตสูงแล้วยังต้องค านึงถึง

                  คุณภาพใบยาด้วย ขั้นตอนการปฏิบัติในการปลูกและดูแลรักษามีดังนี้
                        การเตรียมดิน ควรด าเนินการดังนี้
                             1. เตรียมแปลงให้เสร็จ ในเวลาทีใกล้เคียงกับที่ต้นกล้าในแปลงมีขนาดเหมาะสมที่จะย้ายปลูก
                             2. ไถดินผึ่งแดด เพื่อก าจัดวัชพืช เชื้อโรค และแมลงที่อาศัยอยู่ในดิน
                             3. ต้องก าจัดเศษต้นยาสูบหรือพืชอื่น ออกจากแปลงให้หมดไม่ให้เป็นที่อาศัยของโรคและแมลง

                             4. ไถดินลึกอย่างน้อย 15-20 เซนติเมตร ในกรณีที่มีดินดานซึ่งมีผลต่อการเจริญของราก ควร
                  ไถเปิดดินดานก่อน ไม่ควรไถในฤดูฝนขณะที่มีปริมาณน้ าในดินมาก เพราะจะท าให้ดินแน่นและยาสูบให้
                  ผลผลิตลดลง

                             5. พรวนก่อนปลูกไม่ควรพรวนทิ้งไว้นาน ขนาดของเม็ดดินหลังการพรวนไม่ควรเล็กเกินไป เพราะ
                  เมื่อได้รับน้ าจะรัดตัวแน่นและแข็งเมื่อแห้ง และถ้ามีขนาดใหญ่ เกินไป จะไม่ เหมาะสมต่อการเจริญของราก
                             6. ยกแปลงและท าร่องระหว่างแปลง โดยเฉพาะในพื้นที่ระบายน้ าไม่ดี หรือปลูกในช่วงฤดูฝน หรือ
                  แปลงที่มีการชลประทาน เพราะจะช่วยให้ดินมีความร่วนซุย ระบายน้ าดีขึ้น โดยเฉพาะเมื่อหน้าดินตื้นและดิน

                  ล่างและดินเหนียว ซึ่งท าให้ล าดับส่วนที่ฝังดินออกรากยาวขึ้น เพิ่มพื้นที่ของส่วนราก ต้นยาสูบเจริญเติบโต
                  เร็วกว่าวัชพืช และก าจัดวัชพืชได้สะดวก ช่วยให้รากได้รับอากาศมากขึ้น จึงมีความแข็งแรงช่วยให้ต้นยาสูบ
                  ต้านทานแรงลมได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังปลูกเป็นแถวตรงซึ่งช่วยให้การใส่ปุยข้างแถวพืชง่ายขึ้น
                        การเตรียมวัสดุปลูก

                             การเตรียมเมล็ด ก่อนหว่านเมล็ดควรตรวจสอบความงอก เพื่อประมาณจ านวนเมล็ดที่
                   จะหว่านให้ ต้นกล้า 500-600 ต้นต่อตารางเมตร หรือต้นห่าง 2.5-37 เซนติเมตร ปกติใช้ 1-2 กรัมต่อแปลง
                   ท าลายโรคที่ติดมากับเมล็ด โดยน าเมล็ดใส่ผ้าขาวบาง จุ่มลงในสารละลายซิลเวอร์ไนเตรท 1 กรัมต่อน้ า
                   1 ลิตร 10- 15นาที ล้างน้ า 5-10 นาที 2-3 ครั้ง แล้วน าไปผึ่งลมจนเมล็ดแห้ง เก็บใส่ภาชนะปิดฝาให้แน่น

                   ไม่ควรล้างแล้ว เก็บไว้นานเพราะอาจท าให้เปอร์เซ็นต์การงอกลดลง หรือใช้วิธีคลุกเมล็ดกับออโธไซด์ 50 อัตรา
                   3 กรัมต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม
                             การเพาะกล้า เนื่องจากเมล็ดยาสูบมีขนาดเล็กจึงควรเพาะกล้าแล้วย้ายปลูกลงแปลง

                  อย่างระมัดระวัง เพราะถ้าปลูกซ่อมเพียงร้อยละ 10 อาจท าให้มีผลผลิตลดลงถึงร้อยลง 5 เวลาเพาะกล้า





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ                               กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   204   205   206   207   208   209   210   211   212   213   214