Page 216 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ
P. 216

ผก-12




                             อาการ : ใบยาสูบด้านใดด้านหนึ่งของต้น จะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลีอง เหี่ยว และโค้งงอ ล า

                  ต้น โค้งไปทางด้านที่เป็นโรค เมื่อพิจารณาจากภายนอกจะไม่พบแผล แต่เมื่อลอกเปลือกออกพบว่าล าต้น
                  มีสีน้ าตาลปนด า รอยแผลไม่เน่าเละ เมื่อเกิดรุนแรงต้นยาสูบจะเหี่ยวทั้งต้นเหมือนกับโรคเหี่ยวอื่น ๆ
                             การแพร่ระบาด : มักพบทั้งในดินกรดและด่าง แต่พบมากในดินที่เป็นด่าง อุณหภูมิที่เหมาะสม

                  คือ 18- 31 องศาเซลเซียส แต่ระบาดได้เมื่ออุณหภูมิสูง
                             การป้องกันก าจัด :
                                1. ใช้พันธุ์ต้านทาน โดยในยาสูบประเภทบ่มไอร้อนได้แก่ Coker หมายเลขต่างๆ
                                2. ปลูกพืชหมุนเวียน แต่ต้องไม่ใช่มันเทศ
                                3. ใช้สารก าจัดศัตรูพืชป้องกันไส้เดือนฝอยรากปมที่ท าลายรากยาสูบ ซึ่งท าให้เชื้อโรค

                  เข้าท าลายได้ง่าย

                             โรคใบด่าง (tobacco mosaic virus, TMV)
                             เชื้อสาเหตุ : เกิดจากเชื้อวิสา
                             อาการ : ส่วนระหว่างเส้นใบเกิดรอยด่างสีเขียวเข้มหรือสีเขียวอ่อน ถ้าเกิดกับต้นยาสูบที่ยังเล็ก
                  จะท าให้ต้นแคระแกร็นและเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ ถ้าเกิดกับต้นยาสูบที่โตแล้ว จะพบอาการอย่างชัดเจน

                  เฉพาะใบที่แตกออกมาใหม่เท่านั้น
                              การแพร่ระบาด : โรคนี้มีการระบาดได้ง่ายเนื่องจากเชื้อวิสามีพืชอาศัยมาก เช่น มะเขือเทศ
                  มันฝรั่ง และพืชตระกูลถั่วบางชนิด และอยู่ในดินได้นาน ทั้งยังแพร่ระบาดได้ง่ายโดยการสัมผัส บุหรี่ และ
                  แมลงทั้งปากกัด และปากดูด

                              การป้องกันก าจัด :
                               1. อบแปลงกล้าด้วยเมธิล โบรไมด์
                               2. ล้างมือให้สะอาดทั้งก่อนและหลังท างานในไร่ด้วยสบู่ หรือน้ ายาไตรโซเดียม ฟอสเฟต
                  (trisodium phosphate) 3 เปอร์เซ็นต์
                               3. ไม่สูบบุหรี่ หรือเคี้ยวหรือสูดผลิตภัณฑ์จากยาสูบขณะปฏิบัติงานทั้งในแปลงเพาะกล้า

                  หรือในไร่
                             โรครากปมที่เกิดจากไส้เดือนฝอย (root knot nematode)
                             เชื้อสาเหตุ : ไส้เดือนฝอย Meloidogyne javanica แ ล ะ Meloidogyn incognita

                             อาการ : ต้นยาสูบแคระแกร็น ล าต้นและใบมีสีซีด ในเวลากลางวันที่มีอากาศร้อนและแห้งแล้ง
                  ใบยาสูบจะเหี่ยวเร็ว แต่จะฟื้นตัวในเวลากลางคืน ปลายใบและขอบใบสีเหลือง คล้ายลักษณะของต้นที่ขาด
                  ธาตุอาหาร หรือใบยาแก่เมื่อบ่มจะได้ใบยาตาย อาการของโรคที่เห็นได้ชัดคือรากบวมเป็นปม ลักษณะคล้าย
                  ผลฝรั่งหรือผลมะนาว สีขาวใส ขนาดเล็กมาก ถ้ามีไส้เดือนฝอยมาก อาจท าให้ต้นยาสูบตายได้ นอกจากนี้

                  ยังท าให้เชื้อโรคชนิดอื่น เช่น โรคแข้งด า โรคเหี่ยวเฉา และโรคเหี่ยวด้านเดียว เข้าท าลายได้ง่ายขึ้น









                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ                               กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   211   212   213   214   215   216   217   218   219   220   221