Page 221 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ
P. 221

ผก-17




                             1.1) ใบยาไม่แก่ หรือใบยาหนุ่ม เมื่อน าไปบ่มจะมีสีเขียว โครงสร้างทึบถึงทึบมาก ท าให้การไหม้

                  ลามไม่ดี และมีกลิ่นไม่ชวนสูบ ถ้าสูดควันเข้าไปในขณะสูบอาจล าลักได้
                             1.2) ใบยาไม่สุก เป็นใบยาที่เก็บเร็วเกินไป ถ้าบ่มไม่ดีจะเกิดฝ้า โครงสร้างใบทึบ และกลิ่นไม่ชวนสูบ
                             1.3) ใบยาแก่ เป็นใบยาที่เก็บเร็วเกินไปเพียง 2-3 วัน โครงสร้างของใบโปร่ง การไหม้ลามดี แต่

                  กลิ่นยังไม่หอมเท่าที่ควร เมื่อบ่มใหม่ ๆ จะมีสีเขียวปน แต่ถ้าทิ้งไว้นานจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือส้ม
                             1.4) ใบยาสุก เป็นใบยาที่เจริญเต็มที่ ทั้งนี้ได้รวมใบยาที่สุกจัดด้วย เมื่อบ่มแล้วจะมีโครงสร้างที่
                  โปร่งการไหม้ลามดี และกลิ่นรสดีมาก
                             การเก็บใบยาจะเก็บทีละใบ เรียกว่า priming ปกติเริ่มเก็บครั้งแรกเมื่อ 70-75 วันหลังย้ายปลูก ครั้ง
                  ต่อๆไปเก็บทุก 5-7 วัน ครั้งละ 2-3 ใบ แต่ละต้นเก็บใบได้ 7-8 ครั้ง ครั้งสุดท้ายเมื่ออายุประมาณ 120 วัน ใน

                  กรณีที่ใบยาแก่เร็ว อาจต้องเก็บ 7-10 ใบต่อต้นต่อสัปดาห์ แต่ถ้าใบยาแก่ช้า เพราะเกิดความแห้งแล้ง หรือ
                  ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป อาจงดเก็บบางสัปดาห์ก็ได้ ควรเก็บตอนเช้า เพราะถ้าแดดจัดใบจะสร้างสารเหนียว ไม่
                  สะดวกในการเก็บ ไม่ควรเก็บขณะฝนตกหรือก่อน 3 วันหลังฝนตก เพราะเมื่อน าไปบ่มจะได้ใบยาคุณภาพต่ า

                  ควรปลิดใบออกทางด้านข้าง ไม่ปลิดลง เพราะจะท าให้เปลือกล าต้นลอกติดมาด้วย รีบน าใบยา
                  เข้าที่ร่มทันทีด้วยภาชนะปากกว้าง ไม่ควรทิ้งไว้กลางแดด
                           2. ยาสูบเบอร์เลย์ ใช้วิธีตัดทั้งต้น โดยเด็ดใบที่สุกแก่ส่วนล่าง 3-4 ใบแยกไปบ่ม เมื่อปลายใบยา
                  ล่างสุดมีสีน้ าตาล และใบยาบนเริ่มเหลือง ตัดทั้งต้นมาแขวนบนไม้ราวๆ ละ 5-6 ต้น ทิ้งไว้ในไร่ 1-2 วัน

                  เพื่อให้ใบยาเหี่ยวและอ่อนตัว ก่อนน าเช้าโรงบ่มอากาศ วิธีดังกล่าวจะได้ราคาใบยาแห้งต่อไร่สูงสุด แต่ใน
                  ประเทศไทยยังนิยมการเก็บทีละใบเช่นเดียวกับยาสูบ เวอร์ยิเนีย
                           3. ยาสูบเตอร์กิช เก็บเมื่อปลายใบเปลี่ยนเป็นลีเหลืองประมาณ 2.5 เซนติเมตร ขอบใบเริ่มเหลือง เมื่อ
                  เด็ดจากล าต้นจะมีเสียงดัง ใบหลุดโดยง่าย ลักษณะอ่อนตัว น ามาพันม้วนได้  ข้อควรระวังในการเก็บใบ

                  ยาสูบเตอร์กิช คือ ไม่ควรเก็บเมื่อเหลืองเกินไป เพราะเมื่อบ่มแล้วใบยาจะเบา ไม่มีเนื้อ เปราะและสีคล้ า
                  นอกจากนี้ก็ไม่ควรเก็บใบยาที่มีลักษณะไหม้เนื่องจากถูกแดดเผาและใบยาอ่อน เพราเมื่อบ่มแล้วจะมี
                  คุณภาพต่ า วิธีเก็บจะเก็บใบยาทีละใบเช่นเดียวกับยาสูบเวอร์ยิเนีย โดยเก็บครั้งละ 3-5 ใบ ซึ่งจะสามารถ
                  เก็บได้ทั้งหมด 5-6 ครั้ง แต่ละครั้ง ห่างกัน 1 สัปดาห์ ใบยาที่อยู่ด้านล่างสุด 2-3 ใบแรกควรเด็ดทิ้ง
                  เนื่องจากคุณภาพต่ า ใบยายอดจะมีคุณภาพดีที่สุดโดยมีกลิ่นหอมจัด ควรเก็บใบยาในเวลาเช้าก่อนที่น้ าค้าง

                  จะแห้ง เพราะใบยาสด หักง่าย รอยแผลไม่ช้ ามาก ไม่ควรเก็บในขณะแดดจัดเพราะใบยาเหี่ยวเด็ดยากใบยาผลิต
                  ยางเหนียวท าให้ใบยาติดกัน ต้องเสียเวลาแยกก่อนน าไปร้อย ท าให้ใบยาช้ า และเมื่อบ่มแล้วจะสูญเสียมาก
                  ในขณะฝนตกก็ไม่ควรเก็บใบยาเช่นกัน เพราะฝนจะชะสารหอมจากใบ แต่ถ้าหลังฝนแสงแดดจัด 2-3 ชั่วโมง
                  ใบยาก็สามารถสร้างสารหอมขึ้นมาใหม่ได้

                             การเสียบใบยาสูบ ก่อนน าไปบ่มหรือผึ่งให้แห้ง มีวิธีการดังนี้

                                1. ยาสูบเวอร์ยิเนีย น าไม้ไผ่แบนยาวประมาณ 45 เซนติเมตร เสียบก้านใบยาที่มีขนาดและ
                   การสุกแก่ใกล้เคียงกันเป็นคู่ โดยให้หลังใบชนกัน แต่ละคู่ห่างกัน 2-3 เซนติเมตร ควรเสียบใบยา
                   แต่ละชนิดแยกกัน






                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ                               กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   216   217   218   219   220   221   222   223   224   225   226