Page 224 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ
P. 224

ผก-20




                             การจัดชั้นใบยา ยาสูบแต่ละประเภท มีเกณฑ์ในการจัดดังนี้

                             ยาสูบเวอร์ยิเนีย ลักษณะที่ใช้ในการพิจารณาจัดชั้นใบยา มี 3 ลักษณะ คือ
                                1.  ชนิดของใบยา แบ่งออกได้เป็น 3  คือ
                                   ใบยาตีน (X) เป็นใบยาที่เก็บจากส่วนล่างของล าต้น มีก้านใบเล็กและบาง น้ าหนักเบา

                  ปลายใบมน สีค่อนข้างซีด มักพบโรคใบจุดสีน้ าตาล (ตากบ) และมีต าหนิมากกว่าใบชนิดอื่น
                                   ใบยากลาง (C) เป็นใบยาที่เก็บจากส่วนกลางของล าต้นหรือต่ ากว่าเล็กน้อย ปลายใบ
                  ค่อนข้างแหลม มิต าหนิเล็กน้อย เนื้อใบบางหรือปานกลาง เส้นใบท ามุมกว้างกับเส้นกลางใบ ส่วนกลางใบ
                  กว้างกว่าส่วนปลาย และปลายใบม้วนเข้าหาก้านใบ
                                   ใบยายอด (B) เป็นใบยาที่เก็บจากครึ่งบนของล าต้น ปลายใบแหลม เนื้อใบหนากว่า

                  ชนิดอื่น มีต าหนิจากดินน้อยหรือเกือบไม่มี และเส้นใบท ามุมแหลมกับเส้นกลางใบ
                                2.  สีของใบยา แบ่งออกได้เป็น 6 ชนิด คือ
                                   L  สีมะนาวสุกทั้งใบ

                                   V  สีเหลืองอมเขียวในส่วนโคนของใบ
                                   F  สีส้มทั้งใบ
                                   S (Slicks) สีมะนาวสุกหรือสีส้ม แต่มีเนื้อใบบาง ไม่สุก และแข็งกระด้าง
                                   K  ในแต่ละใบอาจพบทั้งสีมะนาวสุก ส้ม และน้ าตาล แต่ไม่มีสีเขียว

                                   G  สีเขียวเกือบทั้งใบ หรือมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ใบ
                                   เมื่อพิจารณาสีร่วมกับการสุกแก่พบว่า โดยทั่วไปแล้วตลาดมีความต้องการใบยาชนิด L,
                  F และ V และอาจรับซื้อใบยาชนิด S และ K บ้าง แต่ใบยาชนิด G จะรับซื้อน้อยมาก โดยที่
                                   L และ F  เป็นใบยาทีได้จากการบ่มใบยาที่สุก และมีคุณภาพดีที่สุด

                                   V        เป็นใบยาทีได้จากการบ่มใบยาแก่
                                   S และ K  เป็นใบยาที่ได้จากการบ่มใบยาไม่สุก
                                   G        เป็นใบยาที่ได้จากการบ่มใบยาไม่แก่
                                3.  คุณภาพ แบ่งเป็น 5 ชั้น คือ 1) ดีเลิศ 2) ดีมาก 3) ดี 4) พอใช้ และ 5) ต่ า โดยระดับ

                  คุณภาพของใบยา (ตารางที่ 5) จะพิจารณาจากความกว้างและความยาวของใบยา ต าหนิ (จุดที่เกิดจากโรค
                  แมลง และรอยช้ าอื่นๆ) และส่วนเสีย (ส่วนที่น าไปใช้ท าบุหรี่ไม่ได้) ของใบยาจากต าแหน่งของต้นที่ต่างกัน
                  ได้แก่ใบยาตีน (X) ใบยากลาง (C) ใบยายอด (B)



















                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ                               กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   219   220   221   222   223   224   225   226   227   228   229