Page 222 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ
P. 222

ผก-18




                                2. ยาสูบเตอร์กิช น าใบที่มีขนาดและความสุกแก่ใกล้เคียงกัน มาร้อยเป็นพวง พวงละ

                  ประมาณ 300 ใบ จากนั้นน ามาแขวนกับตะปูที่กรอบไม้ขนาด 1.5 X 2.0 เมตร แต่ละพวงห่างประมาณ
                  10 เซนติเมตร เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ดี

                             การบ่มใบยาสูบ ใบยาสูบแต่ละประเภทใช้วิธีบ่มแตกต่างกันดังนี้
                                1.  ยาสูบเวอร์ยิเนีย ใช้วิธีบ่มด้วยไอร้อนโดยการสร้างโรงบ่มที่ควบคุมอุณหภูมิและ
                  ความชื้นได้ ส่วนผนังอาจใช้ดินผสมมูลสัตว์ฉาบทับฝาขัดซึ่งเป็นแบบประหยัด ใช้สังกะสีซึ่งไม่ค่อยได้รับความ

                  นิยมเพราะเป็นตัวน าความร้อนที่เร็ว ใช้อิฐมอญฉาบปูนซึ่งใช้อยู่ทั่วไปและถือเป็นแบบมาตรฐาน หรือใช้ผนัง
                  ซีเมนต์บลอก ในส่วนหลังคา ใช้สังกะสี และมีราวไม้ (ไม้เทโพ) ซึ่งท าด้วยไม้เนื้อแข็งขนาด 10 X 5 เซนติเมตร
                  มีช่องระบายอากาศเป็นจั่วบน ยอดหลังคาและเป็นช่อง หน้าต่างที่ฐานของโรงบ่ม มี 2 ประตู หน้าและหลัง บางโรง

                  บ่มท าประตู 2 ชั้นส าหรับดูปรอท และมีหน้าต่างอยู่ประมาณกึงกลางของความสูงของโรงบ่มทั้ง 2 ข้าง
                  ส าหรับดูสีและความแห้งของใบ โดยอาจท า เป็น 2 ชั้น ชั้นในเป็นกระจก เพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ
                  และความชื้น ในกรณีที่ใช้ฟืนหรือถ่านลิกไนท์จะมีเตาอยู่ด้านนอกส่วนหน้าของโรงบ่ม 2 เตา มีท่อเหล็กปลาย
                  ยกระดับส าหรับส่งความร้อนไปที่โรงบ่ม ปลายท่อที่ผ่านออกมาด้านนอกจะยกขึ้นตั้งฉาก และโค้งลงสู่แนวระดับ

                  อีกครั้ง เพื่อระบายควัน ในกรณีที่ใช้ก๊าซหรือแสงแดดไม่ต้องมีเตา โรงบ่มอาจมีขนาด 6x6x6 เมตร บรรจุได้
                  3,500-6,000 กิโลกรัม ขนาด 6x6x4 เมตร บรรจุ ได้ 2,500-3,500 กิโลกรัม หรือขนาด 4x4x5 เมตร
                  ซึ่งส่วนมากเป็นของซาวไร่ บรรจุได้ 500-650 กิโลกรัม
                                   ในระยะเริ่มบ่ม คือระยะท าสี ต้องเพิ่มอุณหภูมิทีละน้อยและรักษาความชื้นไว้

                  ไม่ให้ใบยาตายและมีสีตามต้องการ จากนั้นตรึงสีโดยเปิดช่องระบายอากาศ และเพิ่มอุณหภูมิให้สูง ตามด้วย
                  การเพิ่มความร้อน ระบายความชื้นออกทางช่องระบายด้านบน เปิดช่องระบายทั้งด้านล่างและบนทั้งหมด
                  เพื่อท าให้ใบยาและก้านแห้ง ซึ่งจะมีเสียงเมื่อแกว่งกระทบกัน
                                2.  ยาสูบเบอร์เลย์ โรงบ่มควรตั้งอยู่ในที่โล่ง บนเนินหรือที่สูง อากาศถ่ายเทสะดวก สร้างให้

                  ด้านข้างอยู่ในแนวขวางทิศทางลม สัดส่วนของขนาดโรงบ่มต้องเหมาะสมเพราะมีผลต่อการระบายอากาศ
                  โรงบ่มในสหรัฐอเมริกากว้าง 12 เมตร ยาว 18 เมตร และสูง 6 เมตร ส่วนที่สถานียาสูบแม่โจ้ ขนาดกว้าง
                  8.5 เมตร ยาว 15 เมตร และสูง 5 เมตร และมีช่องระบายอากาศด้านข้าง พื้นโรยด้วยกรวด ทราย หรืออิฐหัก

                  เพื่อเพิ่มความชื้น ภายในโรงบ่มโดยการใช้น้ าราดในเวลาที่อากาศแห้งจัด ในโรงบ่มมีชั้นวางไม้ราวยา
                  ระยะห่าง 1.2-1.5 เมตร
                                   หลังจากตากใบยาในไร่ เพื่อให้น้ าระเหยออกไปบางส่วนแล้ว น าราวที่เสียบต้นยาสูบ
                  ไปแขวนในโรงบ่ม โดยวางราวจากบนสุดลงล่าง ระวังไม่ให้ปลายใบยาของแต่ละชั้นซ้อนกัน ไม่ควรแขวนราว
                  ของต้นยาใหม่ใต้ต้นที่เข้าบ่มก่อน เพราะน้ าที่ระเหยชั้นไปจะท าให้ใบยาที่อยู่ชั้นบนสีคล้ าลง ใบยาจะเหี่ยว

                  เปลี่ยนเป็นสีเหสีอง และแห้งสีน้ าตาลในเวลา 4-5 และ 10-12 วัน ตามล าดับ จากนั้นควบคุมการเปิดปิด
                  ช่องระบายอากาศ เพื่อเร่งให้ก้านใบยา แห้งเร็วขึ้น ซึ่งจะใช้เวลา 18-20 วัน
                                3.  ยาสูบเตอร์กิช เริ่มบ่มโดยน ากรอบไม้ที่แขวนใบยาไปไว้ในที่อุณหภูมิ 21-27 องศาเซลเชียส

                  ความชื้นสัมพัทธ์ประมาณ 85 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 1-3 วัน ซึ่งอาจใช้ใต้ถุนบ้านก็ได้ เพื่อลดความชื้นของใบยา





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ                               กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   217   218   219   220   221   222   223   224   225   226   227