Page 169 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ
P. 169

บทที่ 4

                                                    เขตการใชที่ดิน



                        การจัดท าเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สามารถน าไปใช้เพื่อ
                  บูรณาการงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลได้ เช่น โครงการโซนนิ่งภาคเกษตร
                  ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โครงการจัดท าแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Zoning by
                  Agri-Map) เป็นยุทธศาสตร์หนึ่งที่มุ่งเน้นการพัฒนาการเกษตร ตั้งแต่การผลิต การแปรรูป การตลาดแบบ
                  ครบวงจร การอารักขาพืช และเฝ้าระวังโรคแมลงศัตรูพืชที่ระบาด นอกจากนี้ยังสามารถน ามาพิจารณาจัดท า
                  ยุทธศาสตร์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยการน าเทคโนโลยีต่างๆ มาช่วยเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ และ

                  ยุทธศาสตร์การปรับเปลี่ยนการผลิตให้เหมาะสมสอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ โดยเลือกกิจกรรมการ
                  เพาะปลูกที่เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการบริโภคภายในประเทศ
                  รวมถึงการส่งออกและน าเข้ากับตลาดต่างประเทศอย่างเพียงพอ
                        ดังนั้น หากจะพิจารณาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชยาสูบ ควรบูรณาการงานทุกภาคส่วน พร้อมทั้ง
                  เลือกกิจกรรมปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมสอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ทดแทนการปลูกยาสูบ โดยการก าหนด

                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบนี้ สามารถใช้เป็นแนวทางน าไปสู่การท าแผนในระดับต่างๆ น าไปสู่การ
                  บริหารจัดการพื้นที่ปลูกยาสูบอย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่ายาสูบจะเป็นพืชที่มีสารพิษและเป็นโทษต่อ
                  ร่างกาย แต่การปลูกพืชนี้สามารถสร้างรายได้ให้ครัวเรือนเกษตรกรค่อนข้างสูงกว่าการปลูกพืชอายุสั้นอื่นๆ
                  เนื่องจากมีการประกันราคาที่ค่อนข้างสูง มีการจ่ายเงินชดเชยเมื่อปรับลดโควตา และมีการจ่ายเงินชดเชย
                  ในกรณีพื้นที่ปลูกยาสูบได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติ นอกจากนี้ การยาสูบแห่งประเทศไทยยังมีการ

                  ส่งเสริมการเพาะปลูกใบยาตามแนวทาง GAP เพื่อให้การผลิตใบยาของการยาสูบแห่งประเทศไทยเป็นไป
                  ตามคุณภาพที่ก าหนด และเป็นไปตามมาตรฐานที่ยอมรับของตลาดใบยาระดับสากล มีการพัฒนาความรู้
                  และให้ความช่วยเหลือในการเพาะปลูกใบยา เพื่อส่งเสริมการเพาะปลูกใบยาให้เป็นไปตามมาตรฐานและมี
                  คุณภาพตามที่ก าหนด อีกทั้งมีการจัดหาและรับซื้อใบยาสูบที่ชัดเจนตามเงื่อนไขในระเบียบข้อก าหนด และ
                  มีข้อตกลงที่ท าไว้กับชาวไร่ยาสูบ/ผู้บ่มอิสระอย่างตรงไปตรงมา

                        ปัจจุบัน รัฐมีการออกนโยบายในการเก็บภาษีใบยาเพิ่มขึ้น การยาสูบแห่งประเทศไทยจึงวางแผนเพื่อ
                  ลดโควตารับซื้อใบยาสูบในอนาคตลง และวางแผนเพื่อลดพื้นที่ปลูกยาสูบ โดยตั้งเป้าหมายในการลดพื้นที่
                  ปลูกยาสูบลงร้อยละ 50 ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงต้องมีการพัฒนาพื้นที่ปลูกยาสูบที่เหลืออยู่ให้มีผลิต
                  ภาพสูงสุด กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน จึงจัดท าโครงการเขตการใช้ที่ดินพืช
                  เศรษฐกิจยาสูบที่มุ่งเน้นการพัฒนาการเกษตรทั้งระบบขึ้น โดยมีหลักเกณฑ์ในการก าหนดเขตการใช้ที่ดิน
                  และรายละเอียดการก าหนดเขตการใช้ที่ดินพร้อมมาตรการด าเนินงานพัฒนาพืชเศรษฐกิจยาสูบ ดังนี้


                  4.1  หลักเกณฑ์ก าหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจ
                        4.1.1 หลักเกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่เพื่อก าหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ
                            พื้นที่ปลูกยาสูบของประเทศไทย มีทั้งในเขตเกษตรกรรมและในเขตพื้นที่ป่าไม้ตามกฎหมาย

                  แต่หลักเกณฑ์ในการก าหนดเขตของกรมพัฒนาที่ดิน จะวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อก าหนดเขตการใช้ที่ดิน
                  พืชเศรษฐกิจยาสูบเฉพาะในเขตเกษตรกรรมนอกเขตป่าไม้ตามกฎหมายเท่านั้น จากข้อมูลของกรมพัฒนาที่ดิน
                  พบว่ามีพื้นที่ปลูกยาสูบทั้งประเทศ 231,047 ไร่ (กลุ่มวิเคราะห์สภาพการใช้ที่ดิน, 2561) โดยพื้นที่ดังกล่าว





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ                             กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   164   165   166   167   168   169   170   171   172   173   174