Page 171 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ
P. 171

4-3





                             2) เขตการใช้ที่ดินมีความเหมาะสมปานกลางส าหรับปลูกยาสูบ ใช้สัญลักษณ์ Z-II เป็น

                  บริเวณซึ่งที่ดินมีระดับความเหมาะสมทางกายภาพของดินปานกลาง (S2) และที่ดินมีระดับความเหมาะสม
                  ทางกายภาพของดินเล็กน้อยในการปลูกยาสูบ (S3) แต่มีแหล่งน้ าธรรมชาติ สระน้ า หรือบ่อน้ าในไร่นาเป็น
                  แหล่งน้ าส ารองส าหรับการปลูกยาสูบ สภาพปัญหาหรือข้อจ ากัดของพื้นที่ปลูกนี้ สามารถแก้ไขได้ง่าย มีการ

                  จัดการด้านเครือข่ายการตลาดเพื่อขนส่งผลผลิตสู่ตลาด สภาพการใช้ที่ดินปัจจุบันเป็นพื้นที่ปลูกยาสูบพันธุ์
                  เวอร์ยิเนีย พันธุ์เบอร์เลย์ และพันธุ์พื้นเมือง
                             3) เขตการใช้ที่ดินมีความเหมาะสมเล็กน้อยส าหรับปลูกยาสูบ ก าหนดสัญลักษณ์ของเขตนี้
                  เป็น Z-III ปัจจุบันเป็นพื้นที่ปลูกยาสูบพันธุ์เวอร์ยิเนีย พันธุ์เบอร์เลย์ และพันธุ์พื้นเมือง สภาพพื้นที่
                  เหมาะสมต่อการปลูกยาสูบเล็กน้อย ดินมีระดับความเหมาะสมทางกายภาพของดินเล็กน้อยในการปลูก

                  ยาสูบ (S3) และสภาพปัญหาหรือข้อจ ากัดเรื่องของที่ดินจัดการได้ยาก หรืออยู่ห่างไกลกับตลาดรับซื้อ
                  ผลผลิต

                        4.1.2 เปาหมายของพื้นที่เพื่อการก าหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ
                              ในการจัดท าเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบในครั้งนี้ มีการพิจารณาจัดท าเขตการใช้ที่ดิน

                  ตามความเหมาะสมของลักษณะทางกายภาพของดินและที่ดิน ร่วมกับข้อมูลเศรษฐกิจและสังคมของยาสูบ
                  พร้อมทั้งจัดท าเขตที่เหมาะสมมากในพื้นที่ที่มีการจัดการส าหรับปลูกยาสูบไว้ด้วย โดยได้ด าเนินการวิเคราะห์
                  และประเมินคุณภาพที่ดิน ทั้งระดับความต้องการปัจจัยส าหรับยาสูบด้านคุณภาพของดินและสภาพภูมิอากาศ
                  เพื่อจัดชั้นความเหมาะสมของที่ดินส าหรับยาสูบ รวมทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยพื้นที่

                  ทั้งหมดที่น ามาจัดท าเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบอยู่นอกพื้นที่ป่าไม้ตามกฎหมาย
                            ในการพิจารณาก าหนดเป้าหมายการปลูกยาสูบของกองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน (2562) ได้
                  พิจารณาตามแนวทางการจัดท าเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบทั้งประเทศ โดยพิจารณาและวิเคราะห์
                  ข้อมูลสถิติผลผลิตรวมของทั้งประเทศของส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร โดยตั้งเป้าหมายให้เพิ่มผลผลิตยาสูบ

                  ให้เพียงพอกับความต้องการของโรงงานแปรรูปภายในประเทศ ไม่ต่ ากว่า 135,000 ตัน รักษาระดับพื้นที่ปลูก
                  ยาสูบนอกเขตป่าไม้ตามกฎหมายไว้เฉพาะเขตที่มีความเหมาะสมมากและเหมาะสมปานกลางต่อการปลูกยาสูบ
                  ซึ่งมีเนื้อที่ 178,388 ไร่ และ 119 ไร่ ตามล าดับ โดยเนื้อที่รวมทั้ง 2 เขต อยู่ที่ 178,457 ไร่ เนื่องจากผลผลิต

                  ยาสูบเกินโควตารับซื้อของการยาสูบแห่งประเทศไทย จึงไม่แนะน าในการขยายพื้นที่เพาะปลูก และแนะน าให้
                  มีการปรับเปลี่ยนการใช้ที่ดินในพื้นที่เขตการใช้ที่ดินที่ความเหมาะสมเล็กน้อยส าหรับการปลูกยาสูบไปปลูกพืช
                  ชนิดอื่น โดยปลูกพืชตามศักยภาพของดิน และจะมีการยกระดับผลผลิตยาสูบต่อไร่ในเขตเหมาะสมมาก
                  ของพันธุ์เบอร์เลย์ พันธุ์เวอร์ยิเนีย และพันธุ์เตอร์กิช จากค่าเฉลี่ยน้ าหนักต่อไร่ที่ได้มีการประเมินไว้
                  (กรมสรรพสามิต, 2562) ที่ 400 และ 300 กิโลกรัมต่อไร่ เป็น 450 กิโลกรัมต่อไร่ส าหรับพันธุ์เบอร์เลย์

                  และ 350 กิโลกรัมต่อไร่ ส าหรับพันธุ์เวอร์ยิเนีย ส่วนพันธุ์เตอร์กิช ใช้ค่าเฉลี่ยน้ าหนักเดิม คือ 200 กิโลกรัม
                  ต่อไร่ เนื่องจากเงื่อนไขพิเศษของใบยาสูบเตอร์กิชคุณภาพดี ที่ได้จากการปลูกในพื้นที่ที่แห้งแล้ง การยกระดับ
                  ผลผลิตยาสูบต่อไร่ของพันธุ์เตอร์กิชจึงท าได้ค่อนข้างยาก เป้าหมายการผลิตพืชเศรษฐกิจตามเขตการใช้ที่ดิน

                  เขตเหมาะสมมาก (Z–I) ผลผลิตรวมของพันธุ์เบอร์เลย์ และพันธุ์เวอร์ยิเนีย มีเป้าหมายผลผลิต 132,102 ตัน
                  ในพื้นที่ปลูก จ านวน 165,128 ไร่  พันธุ์เตอร์กิช มีเป้าหมายผลผลิต 2,642 ตัน โดยมีพื้นที่ปลูกในจังหวัด
                  นครพนม จังหวัดมหาสารคาม และร้อยเอ็ดทั้งหมด จ านวนเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 13,210 ไร่ ดังนั้น ผลผลิตรวมของ
                  เขตเหมาะสมมาก (Z–I) อยู่ที่ 134,744 ตัน เขตเหมาะสมปานกลาง (Z-II) ค่าเฉลี่ยผลผลิตยาสูบพันธุ์




                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ                             กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   166   167   168   169   170   171   172   173   174   175   176