Page 170 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ
P. 170

4-2





                  อยู่ในเขตเกษตรกรรม 227,771 ไร่ หรือร้อยละ 98.58 ของพื้นที่ปลูกยาสูบทั้งประเทศ และอยู่ใน

                  เขตป่าตามกฎหมาย 3,276 ไร่ หรือร้อยละ 1.42 ของพื้นที่ปลูกยาสูบทั้งประเทศ (ตารางที่ 2-9) โดย
                  ภาคเหนือมีการปลูกยาสูบมากในจังหวัดสุโขทัย เพชรบูรณ์ และแพร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการ
                  ปลูกยาสูบมากในจังหวัดหนองคาย นครพนม และบึงกาฬ ส่วนภาคกลาง พบว่ามีการปลูกยาสูบเล็กน้อย

                  ในจังหวัดกาญจนบุรี ในการพิจารณาก าหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ ได้คัดเลือกเฉพาะพื้นที่ปลูก
                  ยาสูบในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมาใช้วิเคราะห์ก าหนดเขต สามารถก าหนดเขตการใช้ที่ดิน
                  พืชเศรษฐกิจยาสูบได้มีเนื้อที่รวม 227,290 ไร่ พื้นที่ปลูกยาสูบที่น ามาใช้ในการก าหนดเขต ประมาณร้อยละ 50
                  เป็นการปลูกตามโควตาของการยาสูบแห่งประเทศไทย พื้นที่ที่เหลือเกษตรกรจะมีการจ าหน่ายตามโควตา
                  บริษัทที่รับซื้อ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจ าหน่ายผ่านช่องทางใด เกษตรกรที่จะปลูกยาสูบต้องขออนุญาตจาก

                  กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลังก่อน ปัจจุบันแนวโน้มของเนื้อที่ปลูกยาสูบโดยรวมเปลี่ยนไป หลังรัฐมี
                  การออกนโยบายในการเก็บภาษีใบยาเพิ่มขึ้น และการยาสูบแห่งประเทศไทยวางแผนเพื่อลดโควตารับซื้อ
                  ใบยาสูบในอนาคต และวางแผนเพื่อลดพื้นที่ปลูกยาสูบลงร้อยละ 50 โดยแนวโน้มการผลิตยาสูบตาม

                  โควตาของการยาสูบแห่งประเทศไทยลดลง จากปี พ.ศ. 2552 ซึ่งมีพื้นที่ปลูกยาสูบ 207,147 ไร่ ลดลง
                  เหลือ 134,165 ไร่ ในปี พ.ศ. 2560 ปัจจุบันราคาประกันของโรงงานที่ต่ ากว่าปีก่อนๆ ท าให้พื้นที่ปลูก
                  ยาสูบลดน้อยลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนพื้นที่นอกโควตาของการยาสูบแห่งประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น
                  ลดลงในแต่ละปีไม่แน่นอนขึ้นกับราคายาสูบในแต่ละปี และขึ้นกับสภาพภูมิอากาศที่เอื้ออ านวย หากรัฐ

                  ไม่ให้ความส าคัญในการก าหนดยุทธศาสตร์ยาสูบ การควบคุมกลไกราคาที่เหมาะสม พื้นที่เพาะปลูกยาสูบ
                  ของประเทศไทยจะค่อยๆ หมดไป โดยจะมีการปรับเปลี่ยนการใช้ที่ดินเป็นพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า
                  มีกลไกการก าหนดราคาและมีตลาดรองรับที่แน่นอนกว่ายาสูบ
                            ดังนั้น ในการวางแผนการใช้ที่ดินเพื่อก าหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ จะพิจารณา

                  จัดท าเขตการใช้ที่ดิน โดยคัดเลือกพื้นที่ปลูกยาสูบในพื้นที่เกษตรกรรม มาวิเคราะห์ก าหนดเขตพืชเศรษฐกิจ
                  ยาสูบที่มีศักยภาพในการปลูกในระดับที่เหมาะสมมาก ปานกลาง และเล็กน้อย โดยมีการน าข้อมูลด้าน
                  กายภาพ มาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลเศรษฐกิจ-สังคม และข้อมูลนโยบายของประเทศ เพื่อวางแผนก าหนด
                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ สามารถก าหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบโดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้

                             1) เขตการใช้ที่ดินมีความเหมาะสมมากส าหรับปลูกยาสูบ ใช้สัญลักษณ์ Z-I เป็นบริเวณซึ่ง
                  ที่ดินมีระดับความเหมาะสมทางกายภาพของดินสูง (S1) และปานกลาง (S2) ส าหรับสภาพการใช้ที่ดินเขตนี้
                  มีการปลูกยาสูบพันธุ์เวอร์ยิเนีย พันธุ์เบอร์เลย์ และพันธุ์พื้นเมือง อยู่ในปัจจุบัน มีแหล่งน้ าชลประทานที่

                  สร้างขึ้น และพื้นที่แหล่งน้ าธรรมชาติใช้ในการเขตกรรมเมื่อช่วงฝนทิ้งช่วงในระหว่างการเพาะปลูก มีการ
                  ส่งเสริมคุณภาพของยาสูบ และมีการรวมกลุ่มของเกษตรกร มีการจัดตั้งองค์กรดูแลด้านการตลาด และการ
                  ขนส่งผลผลิตที่เข้มแข็ง รวมทั้งพื้นที่เหมาะสมมากส าหรับปลูกยาสูบพันธุ์เตอร์กิช ซึ่งมีสภาพพื้นที่ที่ไม่
                  เหมาะสมในการปลูกยาสูบพันธุ์อื่นๆ แต่เหมาะสมสูงต่อการปลูกยาสูบพันธุ์เตอร์กิช เนื่องจากการปลูกยาสูบ
                  พันธุ์เตอร์กิช ต้องการพื้นที่ปลูกที่ลักษณะดินมีข้อจ ากัด ได้แก่ ดินตื้น ดินทรายจัด และมีสภาพภูมิอากาศที่

                  ค่อนข้างแล้ง โดยลักษณะที่มีข้อจ ากัดดังกล่าวจะส่งผลให้ล าต้นยาสูบมีลักษณะแคระแกร็น แต่จะท าให้
                  ยาสูบมีคุณภาพดี มีกลิ่นหอม ตรงกับที่ผู้รับซื้อต้องการ ซึ่งลักษณะดินที่เหมาะสมต่อการปลูกยาสูบพันธุ์
                  เตอร์กิชอยู่ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด นครพนม และจังหวัดมหาสารคาม มีลักษณะทางกายภาพและสมบัติดิน

                  ที่ส่งผลให้ยาสูบพันธุ์เตอร์กิชมีคุณภาพดี
   165   166   167   168   169   170   171   172   173   174   175