Page 173 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ
P. 173

4-5





                  4.2  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ

                        จากการใช้หลักเกณฑ์ในการจัดท าเขตการใช้ที่ดินพืช ดังเนื้อหาที่ได้กล่าวไว้แล้ว สามารถก าหนดเขตการ
                  ใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบของประเทศไทยได้ 3 เขต ได้แก่ 1) เขตการใช้ที่ดินมีความเหมาะสมมาก

                  ส าหรับปลูกยาสูบ (Z-I) มีการปลูกยาสูบพันธุ์เบอร์เลย์ และพันธุ์เวอร์ยิเนีย รวมทั้งพื้นที่เหมาะสมมาก
                  ส าหรับปลูกยาสูบพันธุ์เตอร์กิชในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด นครพนม และจังหวัดมหาสารคาม 2) เขตการใช้
                  ที่ดินมีความเหมาะสมปานกลางส าหรับปลูกยาสูบ (Z-II) เป็นพื้นที่ปลูกยาสูบพันธุ์เวอร์ยิเนีย พันธุ์เบอร์เลย์
                  และพันธุ์พื้นเมือง ที่มีความเหมาะสมปานกลาง 3) เขตการใช้ที่ดินมีความเหมาะสมเล็กน้อยส าหรับปลูก

                  ยาสูบ เป็นพื้นที่ปลูกยาสูบ พันธุ์เบอร์เลย์ พันธุ์เวอร์ยิเนีย และพันธุ์พื้นเมือง สภาพพื้นที่เหมาะสมต่อการ
                  ปลูกยาสูบเล็กน้อย สามารถก าหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบของประเทศไทย เป็นรายประเทศ ได้
                  ดังรายละเอียดดังตารางที่ 4-2 และรูปที่ 4-1

                  ตารางที่ 4-2  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบของประเทศไทย

                  สัญลักษณ์                      เขตการใช้ที่ดิน                   เนื้อที่ (ไร่)   ร้อยละ

                  Z-I        เขตเหมาะสมมากส าหรับปลูกยาสูบ                          178,338     78.46
                  Z-II       เขตเหมาะสมปานกลางส าหรับปลูกยาสูบ                          119      0.05

                  Z-III      เขตเหมาะสมเล็กน้อยส าหรับปลูกยาสูบ                      48,833     21.49
                                            รวมทั้งหมด                              227,290    100.00

                  ที่มา: จากการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
                        ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อก าหนดเขตการใช้ที่ดิน มุ่งเน้นเฉพาะพื้นที่ปลูกยาสูบในพื้นที่ภาคเหนือ และ

                  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยพื้นที่ปลูกยาสูบพันธุ์เบอร์เลย์ เวอร์ยิเนีย เตอร์กิช และพันธุ์พื้นเมือง โดยไม่รวม
                  พื้นที่ปลูกยาสูบพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกไว้เพื่อมวนยาเองในพื้นที่ภาคใต้ และจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกเพียงเล็กน้อย
                        เนื่องจากข้อมูลสภาพการใช้ที่ดินของกรมพัฒนาที่ดิน ไม่สามารถจ าแนกยาสูบพันธุ์พื้นเมืองที่ใช้ในการ

                  ท ายาเส้นออกไปได้ แต่ในการจัดท าเขตการใช้ที่ดินมีการน าข้อมูลของกรมสรรพสามิต และข้อมูลของการ
                  ยาสูบแห่งประเทศไทยมาใช้ในการวิเคราะห์ร่วมด้วย ท าให้สามารถก าหนดเขตการใช้ที่ดินเฉพาะพื้นที่ปลูก
                  ยาสูบเพื่อวัตถุประสงค์ในการแปรรูปโดยโรงงานยาสูบ และบริษัทรับซื้อเพื่อการส่งออก
                        จากการส ารวจพื้นที่และรวบรวมข้อมูลพื้นที่เพาะปลูกยาสูบ ในปีเพาะปลูก พ.ศ. 2561/62 พบว่าพื้นที่

                  เพาะปลูกยาสูบในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีการปลูกยาสูบอยู่เดิม บางพื้นที่ปรับเปลี่ยนไป
                  ปลูกพืชชนิดอื่นที่ให้ผลตอบแทนใกล้เคียงกัน บางพื้นที่มีการปลูกพืชหมุนเวียน เนื่องจากเกษตรกรต้องการลด
                  ปัญหาเรื่องโรคแมลง ต้องมีการปลูกพืชหมุนเวียนสลับกับการปลูกยาสูบ เพื่อตัดวงจรโรคแมลง ส่วนแปลงปลูก
                  ยาสูบจะย้ายไปในบริเวณใกล้เคียงซึ่งต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของเกษตรกรรายเดิม เนื่องจากข้อผูกมัดในการขอ

                  อนุญาตปลูกยาสูบจากกรมสรรพสามิต มีการระบุพื้นที่ และเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินชัดเจน ทั้งนี้การปลูกยาสูบ
                  ในพื้นที่ป่าไม้ตามกฎหมายซึ่งไม่มีกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิในที่ดินจะไม่สามารถขอโควตาการปลูกยาสูบจากการ
                  ยาสูบแห่งประเทศไทยได้ และจะไม่ได้รับการเงินชดเชยกรณีปรับลดโควตายาสูบ
                        การก าหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบของประเทศไทย 227,290 ไร่ สามารถวิเคราะห์

                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบเป็นรายภาค ได้แก่ เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบภาคเหนือ





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ                             กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   168   169   170   171   172   173   174   175   176   177   178