Page 178 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ
P. 178

4-10





                        4.3.1 มาตรการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

                            กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวง
                  การท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์กระทรวงมหาดไทย และ
                  ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเกี่ยวกับการจัดท าความตกลงเพื่อการ
                  ส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่างไทยกับประเทศต่างๆ ในระยะแรกไม่มีการระบุถึงข้อยกเว้น
                  ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพสาธารณะไว้อย่างชัดเจน ดังนั้น การออกนโยบายหรือมาตรการเกี่ยวข้องกับการ

                  ควบคุมยาสูบ จึงต้องระมัดระวังเพื่อมิให้กระทบสิทธิของนักลงทุนที่ได้รับภายใต้ความตกลงเหล่านั้น
                            แผนดังกล่าวต้องได้รับความร่วมมือกับทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อให้เกิดการบูรณาการหลายๆ ด้าน
                  จากทุกภาคส่วน โดยกรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และ
                  หน่วยงานของกระทรวงมหาดไทย ประกอบด้วย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและองค์กรปกครองส่วน
                  ท้องถิ่น และกรมการพัฒนาชุมชน ต้องมีส่วนร่วมในการพิจารณาแผนยุทธศาสตร์ฯ ให้สอดคล้องกับ
                  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2565 และการขยายสาระในเรื่องการท า

                  สิ่งแวดล้อมให้ปลอดควันบุหรี่ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 5ให้ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ยาสูบไร้ควัน
                        4.3.2  มาตรการในการเพิ่มผลผลิตยาสูบ เนื่องจากพื้นที่ปลูกยาสูบของประเทศมีแนวโน้มลดลง
                  ดังนั้นการที่จะเพิ่มผลผลิตของยาสูบให้เพียงพอต่อโรงงานยาสูบ หรือแหล่งรับซื้อ จึงต้องเพิ่มประสิทธิภาพ

                  ของพื้นที่ปลูก เป็นการยกระดับผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่ให้สูงขึ้น
                            1)  ปรับปรุงพันธุ์ยาสูบเป็นพันธุ์ส่งเสริมที่ให้ผลผลิตสูงกว่า ส่งเสริมและแนะน าให้เกษตรกร
                  ใช้ยาสูบพันธุ์ดีหรือพันธุ์ลูกผสมที่โตเร็ว ทนต่อสภาพดินฟ้ากาศ และให้ผลผลิตสูง มาตรการที่ด าเนินการ
                  โดยกรมวิชาการเกษตร คือการใช้เทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตที่มีประสิทธิภาพ
                            2)  ส่งเสริมประชาสัมพันธ์และสาธิตให้เกษตรกรบ ารุงรักษาแปลงปลูก โดยการใส่ปุ๋ยปรับปรุง
                  บ ารุงดิน อาจมีการปลูกพืชคลุมดินเพื่อรักษาความชื้นในดิน หรือปลูกพืชตามหลังยาสูบในพื้นที่ที่สามารถ

                  จัดการเรื่องน้ าได้ อันจะเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกยาสูบอีกแนวทางหนึ่ง
                            3)  ด าเนินการปรับปรุงบ ารุงดินตามมาตรการของกรมพัฒนาที่ดิน โดยการให้ข้อมูลจาก
                  โปรแกรมปุ๋ยรายแปลงเพื่อทราบสถานภาพความอุดมสมบูรณ์ของที่ดิน เพื่อที่สามารถก าหนดแนวทางและ
                  ปริมาณของวัสดุในการปรับปรุงบ ารุงดิน เช่น ปริมาณของปุ๋ยหรือเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสด ตลอดจนวิธีการใน

                  การอนุรักษ์ดินและน้ า เพื่อที่จะจัดการให้ที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์และสามารถส่งเสริมให้ต้นยาสูบมีความ
                  แข็งแรงเจริญเติบโตดี ผลผลิตสูงอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยกรมพัฒนาที่ดินได้ด าเนินการถ่ายทอด
                  เทคโนโลยีการปรับปรุงบ ารุงดินและการอนุรักษ์ดินและน้ า โดยการอบรมและสาธิตให้แก่เกษตรกรในแต่ละ
                  จังหวัดเป็นประจ าทุกปี
                        4.3.3 มาตรการด้านการตลาด ปัจจัยส าคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจของเกษตรกรผู้ผลิตยาสูบคือ

                  ราคาผลตอบแทน จากสถิติที่ผ่านมาราคาจ าหน่ายยาสูบของเกษตรกรขึ้นกับราคาที่ก าหนดโดยโรงงานยาสูบ
                  และราคาที่ก าหนดโดยพ่อค้าคนกลางที่รับซื้อในแต่ละปี ตามปริมาณผลผลิตที่ตอบสนองต่อความต้องการของ
                  ตลาดยาสูบ ดังนั้น เพื่อความมีเสถียรภาพของตลาดยาสูบของไทย จึงควรมีมาตรการสนับสนุนด้านการตลาด
                  และราคาผลผลิตดังนี้

                            1) มีการส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าบุหรี่ เพื่อให้คนไทยหัน
                  มานิยมบุหรี่ที่ผลิตในประเทศ แทนการใช้บุหรี่ที่น าเข้าจากต่างประเทศ
   173   174   175   176   177   178   179   180   181   182   183