Page 179 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ
P. 179

4-11





                            2) โรงงานยาสูบสนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มของเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบ เพื่อด าเนิน

                  กิจกรรมตั้งแต่การจัดหาปัจจัยในการผลิตจนถึงการจ าหน่ายผลผลิต และสามารถสร้างความร่วมมือในการ
                  บริหารจัดการป้องกันศัตรูพืช การควบคุมคุณภาพผลผลิต การถ่ายทอดเทคโนโลยีต่างๆ ในหมู่สมาชิก
                        4.3.4 มาตรการจูงใจเจ้าของที่ดินในการปลูกยาสูบ เนื่องจากพื้นที่ปลูกยาสูบของประเทศลดลง

                  โดยมีการเปลี่ยนการใช้ที่ดินจากพื้นที่ปลูกยาสูบเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า
                  เนื่องจากมาตรการจัดเก็บภาษีที่สูงขึ้น และผลกระทบของยาสูบต่อสุขภาพ อันจะส่งผลให้ขาดแคลนยาสูบ
                  ในอนาคต แต่เนื่องจากประโยชน์ของยาสูบสามารถใช้ท าผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้ นอกเหนือจากการน าไปใช้
                  ท าบุหรี่ หรือยาเส้นเพื่อใช้สูบ ดังนั้น ภาครัฐและองค์กรที่เกี่ยวข้องควรมีมาตรการที่ชัดเจนเพื่อไม่ให้เกิด
                  ปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบเพื่ออุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมผลิตสารก าจัดแมลงจากยาสูบ เป็นต้น

                  โดยควรมีมาตรการต่างๆ ดังนี้
                            1)  นโยบายส่งเสริมและจ่ายค่าชดเชยให้เกษตรกรที่มีการขึ้นทะเบียนกับโรงงานยาสูบ หรือ
                  กรมสรรพสามิต เช่น ชดเชยค่าต้นพันธุ์ในการปลูกยาสูบทดแทนในแปลงที่ได้รับผลกระทบจากภัย

                  ธรรมชาติ ได้แก่ ภัยธรรมชาติจากพายุลูกเห็บ (ปี พ.ศ. 2561) อุทกภัย ภัยแล้ง เป็นต้น
                            2)  การปรับเปลี่ยนการปลูกพืชในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมเพื่อปลูกยาสูบ ตามโครงการ Zoning by
                  Agri-Map โดยรัฐบาลจะเข้ามาสนับสนุนปัจจัยการผลิตบางรายการ
                            3)  สร้างความมั่นคงและความมั่นใจให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกยาสูบ โดยใช้มาตรการที่ด าเนินกับ

                  พืชเศรษฐกิจอื่น เช่น การประกันรายได้เกษตรกร การใช้ระบบตลาดเพื่อรักษาเสถียรภาพของผลผลิตยาสูบ
                  และใช้กลไกตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าให้แก่เกษตรกร

                  4.4  สรุปและข้อเสนอแนะ
                        สรุป

                          การก าหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบนี้ เป็นการพิจารณาจัดท าเขตการใช้ที่ดิน
                  พืชเศรษฐกิจยาสูบเฉพาะในพื้นที่เกษตรกรรม ตามรายงานเขตความเหมาะสมของดินกับการปลูก
                  พืชเศรษฐกิจเท่านั้น ไมรวมพื้นที่ในเขตสงวนของรัฐ เช่น เขตป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งในหลายพื้นที่มีราษฎร

                  บุกรุกพื้นที่เพื่อใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม ดังนั้น การก าหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ
                  ในรายงานฉบับนี้มีการก าหนดการใช้ที่ดิน แบ่งเป็น 3 เขตหลัก เพื่อตอบสนองความต้องการผลผลิตยาสูบ
                  จากการก าหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ ได้แก่
                          1) เขตการใช้ที่ดินมีความเหมาะสมมากส าหรับปลูกยาสูบ (Z-I) มีการปลูกยาสูบพันธุ์เบอร์เลย์
                  และพันธุ์เวอร์ยิเนีย รวมทั้งพื้นที่เหมาะสมมากส าหรับปลูกยาสูบพันธุ์เตอร์กิชในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด

                  นครพนม และจังหวัดมหาสารคาม จะต้องให้ได้ผลผลิตต่อไร่ 450 กิโลกรัมต่อไร่ ส าหรับยาสูบพันธุ์เบอร์เลย์
                  จะต้องให้ได้ผลผลิตต่อไร่ 350 กิโลกรัมต่อไร่ ส าหรับยาสูบพันธุ์เวอร์ยิเนีย และจะต้องให้ได้ผลผลิตต่อไร่
                  200 กิโลกรัมต่อไร่ ส าหรับยาสูบพันธุ์เตอร์กิช โดยได้ผลผลิตรวม 134,744 ตัน

                          2) เขตการใช้ที่ดินมีความเหมาะสมปานกลางส าหรับปลูกยาสูบ (Z-II) เป็นพื้นที่ปลูกยาสูบพันธุ์
                  เวอร์ยิเนีย พันธุ์เบอร์เลย์และพันธุ์พื้นเมือง ที่มีความเหมาะสมปานกลาง จะต้องให้ได้ผลผลิตต่อไร่ 400 กิโลกรัมต่อไร่
                  ส าหรับยาสูบพันธุ์เบอร์เลย์ และจะต้องให้ได้ผลผลิตต่อไร่ 300 กิโลกรัมต่อไร่ส าหรับยาสูบพันธุ์เวอร์ยิเนีย
                  และพันธุ์พื้นเมือง และได้ผลผลิตรวม 2,642 ตัน





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ                             กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   174   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184