Page 181 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ
P. 181

4-13





                        10.  สนันสนุนปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยหมัก ส่งเสริมการลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกร เช่น ส่งเสริมการ

                  จัดตั้งกลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ส่งเสริมการท าปุ๋ยผสมเอง รวมทั้งส่งเสริมปลูกพืชที่เหมาะสมในพื้นที่ Zoning
                  เพื่อให้ได้ปริมาณผลผลิตสูง และลดปริมาณการใช้ปุ๋ย ท าให้รายได้เกษตรกรสูงขึ้น
                        11.  สนับสนุนการขุดบ่อน้ าในไร่นานอกเขตชลประทานแก่เกษตรกรอย่างทั่วถึง พร้อมทั้งส่งเสริม

                  การท าเกษตรผสมผสาน
                        12.  แนะน าเกษตรกรให้ผลิตพืชตามพื้นที่ที่เหมาะสม
                        13.  ให้ความรู้ในเรื่องการจัดการดิน น้ า และพืชอย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง พร้อมทั้งจัดหาพื้นที่
                  จัดท าแก้มลิง เพื่อเพิ่มพื้นที่เก็บกักน้ า และพื้นที่ระบายน้ า
                        14.  สนับสนุนเงินทุน เงินกู้ดอกเบี้ยต่ า และสนับสนุนปัจจัยการผลิต โดยเกษตรกรต้องปฏิบัติ

                  ตามค าแนะน าในการปลูกยาสูบเพื่อให้ได้มาตรฐานตามที่โรงงานยาสูบต้องการ และไม่มีสารเคมีที่
                  เป็นอันตรายร้ายแรงต่อผู้บริโภค ทั้งนี้ต้องมีการแจ้งจดทะเบียนกับกรมสรรพสามิตให้ถูกต้องตาม
                  กฎหมาย

                        15.  ภาครัฐ ภาคเอกชนรวมทั้งเกษตรกรต้องมีการติดตามสถานการณ์และร่วมกันแก้ไขปัญหา
                  และต้องมีการปรับตัวโดยเฉพาะกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ
                  มาตรฐานสากลในราคาที่สามารถแข่งขันตลาดต่างประเทศได้
                        16.  สร้างภาพลักษณ์ให้แก่ผลิตภัณฑ์ยาสูบของประเทศไทย มีเครื่องหมายรับรองที่เป็นของทาง

                  ราชการและเครื่องหมายการค้าของผู้ส่งออกที่ได้รับมาตรฐานจากทางราชการอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้าง
                  ความมั่นใจให้กับผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ
                        17.  โครงการและนโยบายของรัฐ ที่เกี่ยวข้องในเชิงพื้นที่ เช่นโครงการขึ้นทะเบียนเกษตรกร
                  ผู้ปลูกยาสูบ โครงการประกันรายได้เกษตรกร และอื่นๆ ควรใช้เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ

                  เป็นฐานข้อมูลเพื่อช่วยในการก าหนดมาตรการ ตัดสินใจ
                        18.  การประกันรายได้เกษตรกรที่ปลูกยาสูบ ควรด าเนินการเฉพาะเกษตรกรที่ท าการผลิตใน
                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบที่มีความเหมาะสมสูง และปานกลาง
                        19.  การให้การสนับสนุนด้านปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพ และราคายุติธรรมแก่เกษตรกรที่ปลูก

                        20.  ภาครัฐควรให้สิทธิพิเศษส าหรับเกษตรกรที่ปลูกพืชตามเขตการใช้ที่ดินที่ก าหนด เช่น
                  การสนับสนุนด้านเงินทุนดอกเบี้ยต่ าและใช้มาตรการด้านภาษี
                        21.  สามารถใช้พื้นที่ตามเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบเป็นฐานข้อมูลและเงื่อนไขในการ

                  พัฒนาระบบโลจิสติกส์และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อใช้ในการบริหาร การจัดการให้มีประสิทธิภาพ
                  ตั้งแต่การปลูก การเก็บเกี่ยว และการขนส่ง โดยด าเนินการจัดสรรโควตาได้ตั้งแต่วันที่ปลูก เพื่อเป็นการลด
                  ต้นทุนโดยรวม และลดความเสียหายคุณภาพของสินค้าเกษตร
                        22.  ในการก าหนดเขตพัฒนาที่ดินเพื่อเป็นพื้นที่ด าเนินการพัฒนา โดยการบูรณาการกิจกรรม
                  ที่เกี่ยวข้อง เช่น การจัดท าระบบอนุรักษ์ดินและน้ าทั้งวิธีกลและวิธีพืชป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน

                  การปรับปรุงบ ารุงดินที่มีปัญหา รวมทั้งการฟื้นฟูดินเสื่อมโทรมในพื้นที่ที่ดินขาดอินทรียวัตถุ ตาม
                  สภาพปัญหาของพื้นที่นั้นๆ  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาดินที่มีปัญหาต่างๆ ให้ใช้ประโยชน์ได้อย่าง
                  มีประสิทธิภาพและยั่งยืน และเป็นการสาธิตให้เกษตรกรและประชาชนทั่วไปได้เห็นถึงประโยชน์ของ

                  การพัฒนาที่ดิน สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานและประกอบเป็นข้อมูลในการด าเนินงาน




                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ                             กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185   186