Page 180 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ
P. 180

4-12





                          3) เขตการใช้ที่ดินมีความเหมาะสมเล็กน้อยส าหรับปลูกยาสูบ (Z-III)  เป็นพื้นที่ปลูกยาสูบ

                  พันธุ์เบอร์เลย์ พันธุ์เวอร์ยิเนีย และพันธุ์พื้นเมือง สภาพพื้นที่เหมาะสมต่อการปลูกยาสูบเล็กน้อย ให้
                  ผลผลิตคาดการณ์รวม 7,325  ตัน ซึ่งปริมาณผลผลิตเกินจากเป้าหมายที่ก าหนด เป็นเขตที่ต้อง
                  ปรับเปลี่ยนการใช้ที่ดิน รัฐต้องส่งเสริมให้เกษตรกรที่ปลูกยาสูบหลังนา หันมาปลูกพืชชนิดอื่นที่ให้

                  ผลตอบแทนสูงและไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ และควรส่งเสริมให้มีการปลูกยาสูบหลังนาในพื้นที่
                  เกษตรกรรม ไม่ปลูกในเขตป่าไม้ตามกฎหมาย ส าหรับการจัดเก็บภาษีที่เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 40 และแผน
                  ยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติ ฉบับที่สอง พ.ศ. 2559-2562 เพื่อสร้างเสริมความเข้มแข็งและพัฒนาขีด
                  ความสามารถในการควบคุมยาสูบของประเทศ การป้องกันมิให้เกิดผู้เสพยาสูบรายใหม่และเฝ้าระวังธุรกิจ
                  ยาสูบที่มุ่งเป้าไปยังเด็ก เยาวชน และนักสูบหน้าใหม่ การช่วยผู้เสพให้เลิกใช้ยาสูบ การควบคุมและเปิดเผย

                  ส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบ การท าสิ่งแวดล้อมให้ปลอดควันบุหรี่ และการใช้มาตรการทางภาษี และ
                  ปราบปรามเพื่อควบคุมยาสูบ เป็นผลให้เกษตรกรหลายราย หันไปปลูกพืชชนิดอื่น การวางแผนการใช้ที่ดิน
                  พืชเศรษฐกิจยาสูบอาจต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม หากมีการเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์พืชเศรษฐกิจ

                  ยาสูบในอนาคต

                        ข้อเสนอแนะ
                        1. ควรมีการขึ้นทะเบียนเกษตรกรที่ปลูกยาสูบเพื่อมุ่งสงเสริมใหเกษตรกรมี GAP (Good
                  Agricultural Practice)
                        2.  ส่งเสริมให้เกษตรกรมีการขึ้นทะเบียนปลูกยาสูบ และใช้พันธุ์ยาสูบที่ทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศ

                  ที่หน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ท าการส่งเสริม
                        3.  ส่งเสริมให้เกษตรกรผู้ปลูกยาสูบมีการรวมกลุ่มในการจัดการด้านอุปทานยาสูบที่ป้อนเข้าสู่โรงงาน
                  แปรรูป เพื่อรักษาเสถียรภาพด้านราคายาสูบและเป็นหลักประกันการมีวัตถุดิบป้อนโรงงานแปรรูป โดยไม่ให้
                  เกิดการขาดแคลน และน าความรู้ทางด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้เพื่อการผลิตยาสูบ

                        4.  ส่งเสริมและสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่เกษตรกรและ
                  ผู้ประกอบการ
                        5.  พัฒนาเทคโนโลยีการควบคุมศัตรูพืชในยาสูบ รวมทั้งส่งเสริมและสร้างความเข้มแข็งให้แก่

                  เกษตรกร
                        6.  ควรมียุทธศาสตร์ยาสูบของประเทศ รัฐควรให้ความส าคัญกับพืชหลังนา ที่มีการใช้พื้นที่ตรง
                  ตามศักยภาพ หากมีการท าระบบเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับรองมาตรฐาน เช่น GAP หรือมาตรฐานอื่นๆ ควร
                  มีการท า MOU กับโรงงาน เพื่อเพิ่มราคาให้ผู้ผลิต เป็นการส่งเสริมให้เกษตรกรตระหนักถึงผลกระทบต่อ
                  สิ่งแวดล้อมให้มากยิ่งขึ้น

                        7.  ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการวางแผนการผลิตอย่างเป็นระบบ เน้นการ
                  ผลิตสินค้าคุณภาพ ตอบสนองความต้องการของตลาดเพื่อแก้ปัญหาสินค้าเกษตรล้นตลาดและราคา
                  สินค้าเกษตรตกต่ า

                        8.  ส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่สามารถใช้ยาสูบ
                  เป็นวัตถุดิบ เช่น สารก าจัดแมลง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และเพิ่มความหลายหลายของสินค้าในเชิง
                  พาณิชย์
                        9.  ส่งเสริมพันธุ์ยาสูบที่ให้ผลผลิตสูง เพื่อทดแทนพันธุ์ยาสูบที่ให้ผลผลิตต่ า
   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185