Page 166 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ
P. 166

3-86




                             8)  สายพันธุ์ยาสูบแต่ละสายพันธุ์มีลักษณะทางเคมีที่ต่างกัน ในการผสมเพื่อผลิตบุหรี่ จะมี

                  อัตราส่วนที่แตกต่างกัน แต่จ้าเป็นต้องใช้ยาสูบทั ง 3 สายพันธุ์ (เบอร์เลย์ เวอร์ยิเนีย และเตอร์กิช) เพื่อจะได้
                  บุหรี่ที่ตรงกับความต้องการของท้องตลาด
                             9)  อุตสาหกรรมยาสูบ เป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการมหาศาล รายรับ

                  ของบริษัทบุหรี่หลายบริษัท มีขนาดใหญ่กว่าเศรษฐกิจของหลายประเทศ
                        3.4.2 จุดอ่อน
                             1)  การปลูกยาสูบต้องน้าเข้าเมล็ดพันธุ์ดีจากต่างประเทศ
                             2)  เกษตรกรที่ท้าการปลูกยาสูบต้องเป็นบุคคลที่มีประสบการณ์ ใส่ใจ ช่างสังเกต และมีความ
                  ละเอียด ต่อการปลูก การผลิตเพื่อรักษาคุณภาพผลผลิตให้มีมาตรฐานที่ดี

                             3)  ส่วนใหญ่การปลูกยาสูบมีการใช้สารเคมีเพื่อรักษาโรคแมลงเป็นจ้านวนมาก ท้าให้มี
                  สารเคมีตกค้างในใบยาสูบเกินมาตรฐาน
                             4)  ประเทศไทยมีการน้าเข้าใบยาสูบแห้งจากต่างประเทศ โดยน้าเข้ามาผสมกับใบยาที่ผลิตได้

                  ในประเทศเพื่อปรุงแต่งรสบุหรี่ของไทยให้ทัดเทียมกับบุหรี่จากต่างประเทศ คือ บุหรี่รสอเมริกันและอังกฤษ
                  เนื่องจากคุณภาพใบยาสูบไทยโดยเฉพาะใบยาเวอร์ยิเนียของไทยมีคุณภาพเป็นกลาง คือ มีนิโคตินและ
                  ทาร์ต่้า มีกลิ่นรสอ่อน เหมาะที่จะใช้เป็นตัวประกอบ (Filter) ไม่ใช่เป็นตัวการ (Flavour) เหมือนใบยา
                  จากต่างประเทศ

                             5)  ขาดการจูงใจให้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยาสูบ
                             6)  การพัฒนาด้านผลิตกัณฑ์และการตลาดสู่ต่างประเทศไม่ถึงเกณฑ์มาตรฐาน  ท้าให้ปริมาณ
                  การขายลดลงจึงจ้าเป็นต้องลดโควตาการผลิตลง
                             7)  ในการปลูกยาสูบให้ได้มาตรฐานจ้าเป็นต้องใช้ปุ๋ยเคมีและยาของบริษัทที่เข้ามาส่งเสริม

                  การปลูกเท่านั น
                             8)  การปลูกยาสูบได้จะต้องใช้เงินลงทุนในด้านโครงสร้างเพิ่มเติม เช่น โรงบ่ม เป็นต้น ท้าให้
                  ต้องใช้งบประมาณสูง
                             9)  ขาดแรงงานในการเก็บเกี่ยวผลผลิต และการจัดการผลผลิตหลังเก็บเกี่ยว

                             10) เกษตรกรต้องมีทักษะในการปลูก ดูแล รวมไปถึงกระบวนการเก็บ บ่มยาสูบให้ได้ตาม
                  มาตรฐาน
                             11) ยาสูบเป็นพืชที่ไวต่อคลอรีน คลอรีนในดินจะกระทบต่อคุณภาพใบยา จึงไม่ควรใช้

                  น ้าประปารดยาสูบ ดินที่ใช้ปลูกต้องมีคลอไรด์ได้ไม่เกิน 15 ppm ส้าหรับพันธุ์เวอร์ยิเนีย และเบอร์เลย์ ไม่
                  ควรมีคลอไรด์เกิน 25 ppm
                             12) ยาสูบเป็นพืชที่มีโรค และแมลงศัตรูพืชเยอะ โรคที่พบ ได้แก่ โรคโคนเน่า โรคเหี่ยวด้านเดียว
                  โรคแอนแทรคโนส โรคแข้งด้า โรคตากบ โรคใบจุดสีน ้าตาล โรคเหี่ยวเฉา โรคล้าต้นกลวง และโรคเน่าในโรงบ่ม
                  แมลงศัตรูพืชได้แก่ แมลงหวี่ขาว เพลี ยไฟ เพลี ยอ่อน หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนกระทู้ หนอนเจาะสมอฝ้าย

                  (หนอนกินยอดยาสูบ) เป็นต้น












                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ                                 กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   161   162   163   164   165   166   167   168   169   170   171