Page 60 - เขตการใช้ที่ดินพิชเศรษฐกิจมะม่วง
P. 60

2-44





                  ของสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย ท าให้ผลผลิตมะม่วงสามารถเก็บเกี่ยวและทยอยออกสู่ตลาดได้ตาม

                  เวลาที่แตกต่างกันตลอดทั้งปี (ตารางที่ 2-1) ดังนี้

                              มะม่วงนอกฤดูแบบต้นฤดู เก็บเกี่ยวผลผลิตและออกสู่ตลาดช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม
                  ได้แก่ พื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง เช่น จังหวัดพิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย ชัยภูมิ

                              มะม่วงในฤดู เก็บเกี่ยวผลผลิตและออกสู่ตลาดช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม ได้แก่

                  พื้นที่ภาคเหนือตอนบน เช่น จังหวัดเชียงใหม่ และภาคเหนือตอนล่างในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก และ

                  จังหวัดสุโขทัย บางส่วน
                              มะม่วงล่าฤดู เก็บเกี่ยวผลผลิตและออกสู่ตลาดช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ได้แก่

                  พื้นที่ภาคเหนือตอนบน เช่น จังหวัดเชียงใหม่

                              มะม่วงนอกฤดูแบบหลังฤดู เก็บเกี่ยวผลผลิตและออกสู่ตลาดช่วงเดือนสิงหาคม-

                  ธันวาคม ได้แก่ พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น จังหวัดนครราชสีมา ภาคตะวันออก เช่น จังหวัด
                  ฉะเชิงเทรา และภาคกลาง เช่น จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และสุพรรณบุรี



                      ช่วงเวลาการเก็บเกี่ยว                            ปี 2560

                        ผลผลิตมะม่วง       ม.ค  ก.พ  มี.ค  เม.ย  พ.ค  มิ.ย  ก.ค.  ส.ค.  ก.ย.  ต.ค.  พ.ย.  ธ.ค.

                   1. มะม่วงนอกฤดูแบบต้นฤดู

                   2. มะม่วงในฤดู

                   3. มะม่วงล่าฤดู

                   4. มะม่วงนอกฤดูแบบหลังฤดู
                  ตารางที่ 2-1 ช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวผลผลิตมะม่วง


                        2.6.2  การตลาดและราคาผลผลิตมะม่วง

                            1)  การตลาดมะม่วง

                              โครงสร้างการตลาดมะม่วง มะม่วงเป็นผลไม้ที่ตลาดมีความต้องการต่อเนื่อง
                  ตลอดทั้งปี โดยความต้องการผลผลิตมะม่วงของตลาดจะมี 2 รูปแบบ คือ ส าหรับบริโภคสดและ

                  ส าหรับแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์มะม่วงแปรรูป โครงสร้างการตลาดมะม่วงอาจแบ่งได้ 3 ระดับ คือ

                  (รูปที่ 2-6)
                              ตลาดระดับท้องถิ่น ประกอบด้วยพ่อค้ารวบรวมระดับท้องถิ่น ซึ่งอาจจะเป็นผู้ที่อยู่

                  ในท้องถิ่น หรืออาจจะเป็นพ่อค้าจรที่เข้าไปรับซื้อรวบรวมผลผลิตแล้วกระจายผลผลิตให้กับพ่อค้าขาย










                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะม่วง                     กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65