Page 57 - เขตการใช้ที่ดินพิชเศรษฐกิจมะม่วง
P. 57

2-41





                  ทั่วไป แต่ปริมาณและคุณภาพของผลผลิตมะม่วงที่ได้รับจะแตกต่างกันไปตามแหล่งที่ปลูก ดังนั้น

                  การปลูกมะม่วงเพื่อการค้าจึงควรศึกษาถึงปัจจัยความเหมาะสมต่างๆ ตั้งแต่การผลิตจนกระทั่ง

                  การตลาด เพื่อให้ได้พื้นที่ที่เหมาะส าหรับการปลูก ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิต ตลอดจนสามารถ
                  เพิ่มผลผลิตมะม่วงที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานให้ออกสู่ตลาดเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคต่อไป


                        2.6.1  แหล่งผลิตมะม่วงที่ส าคัญ

                            มะม่วงเป็ นไม้ผลที่สามารถปลูกได้ทั่วไปและปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย
                  แต่มะม่วงเป็นไม้ผลที่ต้องการช่วงของความแห้งแล้งหรือช่วงที่ปราศจากฝนส าหรับการพักตัว

                  เพื่อสะสมอาหารก่อนที่จะออกดอก ซึ่งบางจังหวัดในภาคใต้ที่มีฝนตกปริมาณมากและมีการกระจาย

                  ของฝนเกือบตลอดทั้งปี จะท าให้มะม่วงเจริญเติบโตทางล าต้นมาก แต่ไม่ให้ผลผลิตเท่าที่ควร ดังนั้น
                  สภาพพื้นที่ปลูก สภาพภูมิอากาศ และสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ จะท าให้ผลผลิต

                  ที่ได้รับแตกต่างกันไป

                            1)  เนื้อที่ปลูก เนื้อที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตรวม และผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ทั้งประเทศ

                  ปี 2551-2560
                              จากข้อมูลของส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร (2560) พบว่า ยังไม่พบข้อมูลในส่วน

                  ของเนื้อที่ปลูกมะม่วง ส่วนเนื้อที่เก็บเกี่ยว ในปี 2551-2557 เพิ่มขึ้นจาก 1,906,960 ไร่ เป็น 2,131,590 ไร่

                  หลังจากนั้นในปี 2558-2560 ลดลงจาก 2,131,590 ไร่ เป็น 1,967,904 ไร่
                              ส าหรับผลผลิตมะม่วงรวมทั้งประเทศตั้งแต่ปี 2551-2560 มีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่

                  เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 2.65 โดยเพิ่มขึ้นสูงสุดในปี 2557 มีผลผลิตรวมทั้งประเทศ 3,308,230 ตัน และ

                  เริ่มลดลงในปี  2558-2560 หรือลดลงร้อยละ 28.10 ส่วนผลผลิตมะม่วงเฉลี่ยต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยวทั้งประเทศ
                  ตั้งแต่ปี 2551-2560 มีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 2.06 โดยเพิ่มขึ้นสูงสุดในปี

                  2557 มีผลผลิตเฉลี่ย 1,552 กิโลกรัมต่อไร่ แต่หลังจากนั้น ตั้งแต่ปี 2558-2560 ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่มีการ

                  เปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ลดลง เนื่องจากผลผลิตรวมที่ออกสู่ตลาดมีน้อยเกิดจากสภาพอากาศที่

                  เปลี่ยนแปลงท าให้มะม่วงไม่ติดดอกออกช่อตามฤดูกาล (ตารางผนวกที่ 1-6 และ รูปที่ 2-2 2-3 และ 2-4)























                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะม่วง                     กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62