Page 62 - เขตการใช้ที่ดินพิชเศรษฐกิจมะม่วง
P. 62

2-46





                  ส่งออกผลิตภัณฑ์มะม่วงแปรรูป เพื่อท าการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ ส่วนผลิตภัณฑ์มะม่วงแปรรูป

                  ที่ถูกจ าหน่ายในประเทศ โรงงานแปรรูปอาจจะท าการจ าหน่ายสินค้าให้กับผู้บริโภคเองโดยตรง

                  จ าหน่ายให้กับพ่อค้าขายส่งโดยการขายขาดไปเลยซึ่งโรงงานไม่ต้องรับผิดชอบกรณีที่จ าหน่ายสินค้าไม่
                  หมด จ าหน่ายผ่านตัวแทนจ าหน่ายซึ่งตัวแทนจะเป็นผู้รับผิดชอบในการจ าหน่ายสินค้าเสมือนเป็น

                  เจ้าของสินค้านั้นเอง จ าหน่ายให้กับพ่อค้าขายปลีก ร้านค้า หรือห้างสรรพสินค้าที่มาติดต่อกับทาง

                  โรงงานเพื่อน าสินค้าไปจ าหน่าย หรือจ าหน่ายให้กับโรงงานอื่นๆ ที่ติดต่อขอซื้อเพื่อน าไปแปรรูปต่อ

                  ส าหรับพ่อค้าขายส่ง ตัวแทนจ าหน่ายนั้น จะจ าหน่ายผลิตภัณฑ์มะม่วงแปรรูปต่อให้กับพ่อค้าขายปลีก
                  ร้านค้า หรือห้างสรรพสินค้า ซึ่งพ่อค้าขายปลีก ร้านค้า หรือห้างสรรพสินค้าเหล่านี้จะเป็นผู้จ าหน่าย

                  ผลิตภัณฑ์ต่อให้กับผู้บริโภค การผลิตมะม่วงเพื่อส่งโรงงานแปรรูปนี้ เกษตรกรควรมีการติดต่อตลาด

                  ไว้ล่วงหน้าก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิต และควรศึกษาความต้องการของโรงงานให้ละเอียด ทั้งชนิดพันธุ์ สี

                  คุณภาพ ขนาด ความอ่อนแก่ ปริมาณความต้องการของโรงงาน เพื่อประโยชน์ในการจ าหน่ายผลผลิต
                              การจ าหน่ายผลผลิตมะม่วง การจ าหน่ายผลผลิตมะม่วงของเกษตรกร แบ่งได้เป็น 2

                  ลักษณะ คือ

                              เกษตรกรน าผลผลิตไปจ าหน่ายในตลาดระดับต่างๆ ด้วยตนเอง การจ าหน่ายในกรณี
                  นี้ส่วนใหญ่เป็นการจ าหน่ายผลผลิตของเจ้าของสวนรายเล็กๆ เมื่อมะม่วงแก่เต็มที่แล้วเกษตรกรจะเป็นผู้

                  เก็บผลผลิตมะม่วงไปจ าหน่ายในตลาดระดับต่างๆ โดยตรง

                              เกษตรกรจ าหน่ายผลผลิตที่สวน เกษตรกรเจ้าของสวนมะม่วงรายใหญ่ มักจะขาย
                  ผลผลิตโดยวิธีนี้ เนื่องจากไม่มีเวลาที่จะน าผลผลิตของตนเองไปจ าหน่ายในตลาดระดับต่างๆ ด้วย

                  ตนเอง ส่วนมากจะมีพ่อค้าคนกลางเข้าไปรับซื้อผลผลิตถึงสวน ราคาซื้อขายส่วนใหญ่พ่อค้าคนกลางที่

                  เข้าไปรับซื้อผลผลิตจะเป็นผู้ก าหนดและถ้าหากพ่อค้าคนกลางเป็นผู้เก็บผลผลิตเอง ราคาที่เกษตรกร
                  จ าหน่ายได้อาจจะต ่ากว่าราคากลางตลาดเล็กน้อย เนื่องจากจะถูกหักค่าแรงงานในการเก็บผลผลิต

                  มะม่วง

                              ลักษณะการบริโภคมะม่วง ความนิยมในการรับประทานมะม่วงของผู้บริโภคซึ่งเป็น

                  ผลไม้เศรษฐกิจของประเทศไทยสามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภท ดังนี้

                              รับประทานดิบ โดยผลจะมีเปลือกสีขาว เนื้อสีขาว แบ่งได้เป็น 2 จ าพวก คือ
                  1) จ าพวกมีรสเปรี้ยวเมื่อเนื้ออ่อน และมีรสหวานมันเมื่อแก่จัดแต่ยังไม่สุก มะม่วงจ าพวกนี้นิยม

                  รับประทานกับน ้าปลาหวาน เช่น มะม่วงเขียวเสวย มะม่วงแรด มะม่วงพิมเสนมัน เป็นต้น 2) จ าพวกมี

                  รสมันไม่เปรี้ยวเมื่ออ่อนและมีรสชาติหวานชืดเมื่อสุก เรียกว่ามะม่วงมัน เช่น มะม่วงฟ้าลั่น มะม่วง
                  หนองแซง เป็นต้น









                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะม่วง                     กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67