Page 56 - เขตการใช้ที่ดินพิชเศรษฐกิจมะม่วง
P. 56

2-40





                  ประเทศ โดยพบพื้นที่ปลูกมะม่วงในเขตป่าไม้ประมาณ 3,515 ไร่ หรือร้อยละ 0.35 ของพื้นที่ปลูกมะม่วง

                  ทั้งประเทศ

                          ภาคใต้ พบพื้นที่ปลูกมะม่วงมากที่สุดในจังหวัดสงขลา รองลงมา ได้แก่ จังหวัดพัทลุง

                  จังหวัดพัทลุง และจังหวัดนราธิวาส ครอบคลุมเนื้อที่ 1,389  301 และ 90 ไร่ ตามล าดับ โดยพื้นที่ปลูก
                  มะม่วงในภาคใต้รวมทั้งหมดประมาณ 1,829 ไร่ หรือร้อยละ 0.18 ของพื้นที่ปลูกมะม่วงทั้งประเทศ

                        จากการส ารวจของกลุ่มวิเคราะห์สภาพการใช้ที่ดิน กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน พบว่า

                  ในปี  2560 ประเทศไทยมีเนื้อที่ปลูกมะม่วงซึ่งเป็ นสวนเดี่ยวนอกเขตป่ าไม้ 861,137 ไร่
                  ในเขตป่าไม้ 132,950 ไร่ รวมทั้งประเทศ 994,087 ไร่ โดยจังหวัดพิษณุโลก เลย และนครราชสีมา

                  มีเนื้อที่ปลูกมะม่วงทั้งนอกเขตป่าและในเขตป่ามากสุด 3 อันดับแรก เท่ากับ 97,093 ไร่ 63,623 ไร่ และ

                  54,591 ไร่ ตามล าดับ ซึ่งจังหวัดที่มีเนื้อที่ปลูกมะม่วงนอกเขตป่ามากที่สุด 3 อันดับแรก คือ จังหวัด

                  พิษณุโลก สุพรรณบุรี และประจวบคีรีขันธ์ เท่ากับ 85,253 ไร่ 59,337 ไร่ และ 49,689 ไร่ ตามล าดับ
                  ส่วนจังหวัดที่มีเนื้อที่ปลูกมะม่วงในเขตป่ามากสุด คือ จังหวัดเลย เชียงใหม่ และล าพูน เท่ากับ 36,629 ไร่

                  20,202 ไร่ และ 13,180 ไร่ ตามล าดับ โดยแหล่งปลูกมะม่วงเพื่อการค้าและการส่งออกที่ส าคัญในภาค

                  ตะวันออก ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา สระแก้ว ภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก พิจิตร เชียงใหม่
                  เพชรบูรณ์ สุโขทัย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ ขอนแก่น ภาคกลาง

                  ได้แก่ จังหวัดราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง สระบุรี


                  2.6  สภาวะการผลิตและการตลาด


                        มะม่วงเป็นไม้ยืนต้นในสกุล Mangifera ซึ่งเป็นไม้ผลเมืองร้อนในวงศ์ Anacardiaceae
                  (กลุ่มเดียวกับถั่วพิสตาชีโอและมะม่วงหิมพานต์) ชื่อวิทยาศาสตร์: Mangifera indica มีถิ่นก าเนิดในอินเดีย

                  นับย้อนไปได้ถึง 25-30 ล้านปีก่อนมะม่วงมีความแตกต่างประมาณ 49 สายพันธุ์กระจายอยู่ตามประเทศ

                  ในเขตร้อนตั้งแต่อินเดียไปจนถึงฟิลิปปินส์ จากนั้นจึงแพร่หลายไปทั่วโลก เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง

                  ใบโต ยาว ปลายแหลม ขอบใบเรียบ ใบอ่อนสีแดง ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็กสีขาว
                  ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเหลือง เมล็ดแบน เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง มะม่วงเป็นผลไม้เศรษฐกิจ ปลูกเป็นพืชสวน

                  ประเทศไทยส่งออกมะม่วงเป็นอันดับ 3 รองจากฟิลิปปินส์ และเม็กซิโก เป็นผลไม้ประจ าชาติ

                  ของอินเดีย ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ และบังกลาเทศ
                        ประเทศไทยนิยมปลูกมะม่วงกันมากทั้งปลูกไว้รับประทานเองและปลูกเพื่อการค้า ส าหรับ

                  มะม่วงพันธุ์ยอดนิยมของไทย เช่น มะม่วงเขียวเสวย มะม่วงแรด นิยมกินตอนดิบ เพราะมีรสมัน อาจจะ

                  กินเปล่าๆ หรือ กินกับน ้าปลาหวานและเครื่องจิ้มอื่นๆ ก็ได้ตามชอบ ส่วนมะม่วงที่นิยมกิน
                  ตอนสุกแล้วก็คือ มะม่วงอกร่อง และมะม่วงน ้าดอกไม้ สามารถปลูกได้ทุกภาคและปลูกได้ในดิน







                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะม่วง                     กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61