Page 29 - beans
P. 29
2-13
ประกอบกับยังขาดการพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยในการเก็บเกี่ยว เกษตรกรจึงปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่น
เช่น ข้าว อ้อยโรงงาน และมันส าปะหลัง เป็นต้น (ตารางที่ 2-2)
ตารางที่ 2-2 เนื อที่เพาะปลูก ผลผลิตรวม และผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ รวมทั งประเทศของถั่วเขียว
ปี 2560–2564
ถั่วเขียวรวมรุ่น
ปี เนื อที่เพาะปลูก ผลผลิตรวม ผลผลิตเฉลี่ย
(ไร่) (ตัน) (กก./ไร่)
2560 831,674 109,935 132
2561 813,847 96,443 119
2562 803,522 92,472 115
2563 773,772 90,898 142
2564 743,180 108,474 146
เฉลี่ย 793,199 103477 131
อัตราการเปลี่ยนแปลงเฉลี่ย (%) -2.77 0.30 3.27
ที่มา: ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร (2565ก)
ถั่วเหลือง
การเพาะปลูกถั่วเหลืองของประเทศไทย สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รุ่น คือ ถั่วเหลืองรุ่น 1
หรือถั่วเหลืองฤดูฝน เกษตรกรจะท าการเพาะปลูกระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคมของปี
เก็บเกี่ยวช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนมกราคมของปีถัดไป และถั่วเหลืองรุ่น 2 หรือถั่วเหลืองฤดูแล้ง
เกษตรกรจะท าการเพาะปลูกระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายนของปีถัดไป เก็บเกี่ยวช่วง
เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายนของปี (ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2557ก)
พิจารณาการผลิตในช่วง 5 ปี ตั งแต่ปี 2560–2564 พบว่าเนื อที่เพาะปลูก เนื อที่เก็บเกี่ยว
และผลผลิตถั่วเหลืองรวมรุ่น มีอัตราการเปลี่ยนแปลงเฉลี่ยลดลงอย่างต่อเนื่องทุกปี ร้อยละ 11.70
เนื่องจากถั่วเหลืองเป็นพืชที่ดูแลรักษายาก ผลตอบแทนที่ได้รับไม่คุ้มกับการลงทุน ขาดแคลนเมล็ด
พันธุ์ที่ดี ปัจจัยการผลิตมีราคาสูง เช่น ค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าแรงงานในการเก็บเกี่ยว และค่ายาปราบศัตรูพืช
ประกอบกับยังขาดการพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยในการเก็บเกี่ยวถั่วเหลือง เกษตรกรจึงปรับเปลี่ยนไปปลูก
พืชอื่น เช่น ข้าว ข้าวโพดเลี ยงสัตว์ งา พืชผัก และบางส่วนปล่อยพื นที่ให้ว่าง (ตารางที่ 2-3)
เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจพืชตระกูลถั่วฤดูแล้ง (ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วลิสง) กองนโยบานและแผนการใช้ที่ดิน