Page 48 - โครงการศึกษาการจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศพืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของประเทศไทย
P. 48
2-20
4) สถิติภูมิอากาศจังหวัดเพชรบุรี (ตารางที่ 2-12 และ รูปที่ 2-12)
ใช้พิจารณาพื้นที่ปลูกชมพู่เพชร และมะนาวเพชรบุรี ซึ่งปลูกในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี
จากการวิเคราะห์สมดุลน้ าเพื่อการเกษตรจังหวัดเพชรบุรีพบว่า พื้นที่จังหวัดเพชรบุรีสามารถปลูกพืชได้
เกือบทั้งปี แต่มีช่วงที่พืชเสี่ยงต่อการขาดน้ าในช่วงต้นเดือนธันวาคม ถึงปลายเดือนเมษายน จึงควรมี
แหล่งน้ าส ารองเพื่อใช้ในการเขตกรรมในพื้นที่ปลูกชมพู่เพชร และ มะนาวเพชรบุรี เมื่อฝนทิ้งช่วง
5) สถิติภูมิอากาศจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ตารางที่ 2-11 และ รูปที่ 2-11)
ใช้พิจารณาพื้นที่ปลูกมะพร้าวทับสะแก ซึ่งปลูกในพื้นที่อ าเภอทับสะแก อ าเภอบาง
สะพาน อ าเภอบางสะพานน้อย และอ าเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จากการ
วิเคราะห์สมดุลน้ าเพื่อการเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่า พื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สามารถ
ปลูกพืชได้เกือบทั้งปี แต่มีช่วงที่พืชเสี่ยงต่อการขาดน้ าในช่วงปลายเดือนมกราคม ถึงปลายเดือนเมษายน
จึงควรมีแหล่งน้ าส ารองเพื่อใช้ในการเขตกรรมในพื้นที่ปลูกพืชเมื่อฝนทิ้งช่วง ถึงแม้ว่ามะพร้าวจะ
สามารถให้ผลผลิตได้ในช่วงฤดูแล้ง แต่ผลผลิตมะพร้าวจะไม่ดีเท่าที่ควร หากไม่มีการจัดการระบบ
เพาะปลูก ดังนั้น ควรมีแหล่งน้ าส ารองเพื่อใช้ในการเขตกรรมในพื้นที่ปลูกมะพร้าวทับสะแก เพื่อให้
สามารถจัดการระบบเพาะปลูกได้ดียิ่งขึ้น ผลผลิตจะเพิ่มขึ้น ผลตอบแทนต่อพื้นที่จะสูงขึ้น
6) สถิติภูมิอากาศจังหวัดลพบุรี (ตารางที่ 2-14 และ รูปที่ 2-14)
ใช้พิจารณาพื้นที่ปลูกกระท้อนตะลุง ซึ่งมีพื้นที่ปลูกในอ าเภอโพธิ์เก้าต้น จังหวัดลพบุรี
จากการวิเคราะห์สมดุลน้ าเพื่อการเกษตรจังหวัดลพบุรี พบว่า พื้นที่จังหวัดลพบุรีสามารถปลูกพืชได้
เกือบทั้งปี แต่มีช่วงที่พืชเสี่ยงต่อการขาดน้ าในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน ถึงปลายเดือนมีนาคม จึงควร
มีแหล่งน้ าส ารองเพื่อใช้ในการเขตกรรมในพื้นที่ปลูกกระท้อนตะลุง ในช่วงฝนทิ้งช่วงดังกล่าว
7) สถิติภูมิอากาศภาคกลาง (ตารางที่ 2-38)
ใช้พิจารณาพื้นที่ปลูกส้มโอขาวใหญ่สมุทรสงคราม และลิ้นจี่ค่อมสมุทรสงคราม ซึ่งมี
พื้นที่ปลูกอยู่ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม และมะพร้าวน้ าหอมบ้านแพ้ว และล าไยพวงทองบ้านแพ้ว
ซึ่งปลูกในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร จากการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติภูมิอากาศ ร่วมกับลักษณะสภาพพื้นที่
ปลูกของจังหวัดสมุทรสงคราม และ สมุทรสาคร พบว่า พื้นที่ในบริเวณดังกล่าวมีน้ าส ารองตลอดปี
เนื่องจาก ส่วนใหญ่มีการปลูกพืชในพื้นที่ดินยกร่อง และล้อมรอบไปด้วยร่องน้ า หรือแหล่งน้ า จึงมีน้ า
เพื่อการเขตกรรมในพื้นที่เพาะปลูกในช่วงฝนทิ้งช่วงตลอดฤดูเพาะปลูก ส่วนพื้นที่ปลูกมะยงชิด
นครนายก และมะปรางหวานนครนายก ซึ่งมีพื้นที่ปลูกอยู่ในจังหวัดนครนายก และพื้นที่ปลูกละมุดบ้าน
ใหม่ ซึ่งปลูกในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีช่วงเวลาที่พืชมีโอกาสเสี่ยงต่อการขาดน้ าในการ
เพาะปลูก ช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายน จึงควรมีแหล่งน้ าส ารองเพื่อใช้ในการเขตกรรมในพื้นที่
ปลูกมะยงชิดนครนายก มะปรางหวาน และละมุดบ้านใหม่ ในช่วงฝนทิ้งช่วงดังกล่าว