Page 50 - โครงการศึกษาการจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศพืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของประเทศไทย
P. 50

2-22





                        2.4.4 สถิติภูมิอากาศในพื้นที่ปลูกพืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                             สถิติภูมิอากาศในพื้นที่ปลูกพืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่เลือกน ามาศึกษา ในพื้นที่ภาค
                  ตะวันออกเฉียงเหนือมีรายละเอียดดังนี้
                             1) สถิติภูมิอากาศจังหวัดบุรีรัมย์ (ตารางที่ 2-24 และ รูปที่ 2-24)

                                ใช้พิจารณาพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิดินภูเขาไฟบุรีรัมย์ ซึ่งมีพื้นที่ปลูกในพื้นที่อ าเภอ
                  เมืองบุรีรัมย์ อ าเภอห้วยราช อ าเภอประโคนชัย อ าเภอเฉลิมพระเกียรติ และอ าเภอปะค า อ าเภอละหาน
                  ทราย และอ าเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ จากการวิเคราะห์สมดุลน้ าเพื่อการเกษตรจังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า
                  พื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ สามารถปลูกข้าวหอมมะลิดินภูเขาไฟบุรีรัมย์ ในฤดูเพาะปลูก (ต้นเดือนมีนาคมถึง
                  ปลายเดือนพฤศจิกายน) โดยมีปริมาณน้ ามากเกินพอในช่วงการด านา แต่หากมีแหล่งน้ าส ารองเพื่อใช้

                  ในการเขตกรรมในพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิดินภูเขาไฟบุรีรัมย์ ก็สามารถจัดการระบบเพาะปลูกได้ดียิ่งขึ้น
                             2) สถิติภูมิอากาศจังหวัดศรีสะเกษ (ตารางที่ 2-27 และ รูปที่ 2-27)
                                ใช้พิจารณาพื้นที่ปลูกหอมแดงศรีสะเกษ กระเทียมศรีสะเกษ และทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ

                  ซึ่งมีพื้นที่ปลูกในจังหวัดศรีสะเกษ จากการวิเคราะห์สมดุลน้ าเพื่อการเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ พบว่า พื้นที่
                  จังหวัดศรีสะเกษ สามารถปลูกพืชได้เกือบทั้งปี แต่มีช่วงที่พืชเสี่ยงต่อการขาดน้ าในช่วงต้นเดือน
                  พฤศจิกายน ถึงกลางเดือนเมษายน จึงควรมีแหล่งน้ าส ารองเพื่อใช้ในการเขตกรรมในพื้นที่ปลูกหอมแดง
                  ศรีสะเกษ กระเทียมศรีสะเกษ และทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ ในช่วงฝนทิ้งช่วงดังกล่าว

                             3) สถิติภูมิอากาศจังหวัดนครพนม (ตารางที่ 2-23 และ รูปที่ 2-23)
                               ใช้พิจารณาพื้นที่ปลูกสับปะรดท่าอุเทน และลิ้นจี่นครพนม ซึ่งมีพื้นที่ปลูกอยู่ในจังหวัด
                  นครพนม จากการวิเคราะห์สมดุลน้ าเพื่อการเกษตรจังหวัดนครพนมพบว่า พื้นที่จังหวัดนครพนม
                  สามารถปลูกพืชได้เกือบทั้งปี แต่มีช่วงที่พืชเสี่ยงต่อการขาดน้ าในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน ถึงต้นเดือน

                  เมษายน จึงควรมีแหล่งน้ าส ารองเพื่อใช้ในการเขตกรรมในพื้นที่ปลูกสับปะรดท่าอุเทน และลิ้นจี่
                  นครพนม ในช่วงฝนทิ้งช่วงดังกล่าว
                             4) สถิติภูมิอากาศจังหวัดจังหวัดชัยภูมิ (ตารางที่ 2-22 และ รูปที่ 2-22)
                               ใช้พิจารณาพื้นที่ปลูกส้มโอทองดีบ้านแท่น ซึ่งปลูกในพื้นที่อ าเภอบ้านแท่น จังหวัด

                  ชัยภูมิ จากการวิเคราะห์สมดุลน้ าเพื่อการเกษตรจังหวัดชัยภูมิ พบว่า พื้นที่จังหวัดชัยภูมิสามารถปลูกพืช
                  ได้เกือบทั้งปี แต่มีช่วงที่พืชเสี่ยงต่อการขาดน้ าในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน ถึงต้นเดือนมีนาคม จึงควร
                  มีแหล่งน้ าส ารองเพื่อใช้ในการเขตกรรมในพื้นที่ปลูกส้มโอทองดีบ้านแท่น ในช่วงฝนทิ้งช่วงดังกล่าว

                             5) สถิติภูมิอากาศภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ตารางที่ 2-40)
                               ใช้พิจารณาพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ซึ่งปลูกในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่
                  จังหวัดมหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร ศรีสะเกษ และสุรินทร์ โดยใช้สถิติภูมิอากาศระดับภาคในการ
                  พิจารณา พบว่า พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือสามารถปลูกข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ โดยมีปริมาณ
                  น้ าฝนอย่างเพียงพอ ส่งผลให้มีฝนใช้การเพียงพอต่อการท านา แต่ไม่ควรท านาปรัง เนื่องจากมีช่วงที่พืช

                  เสี่ยงต่อการขาดน้ าในช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนเมษายน จึงควรมีแหล่งน้ าส ารองเพื่อใช้ในการเขต
                  กรรมในพื้นที่ปลูกพืช หากมีการท านาปรังในช่วงฝนทิ้งช่วงดังกล่าว
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55