Page 51 - โครงการศึกษาการจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศพืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของประเทศไทย
P. 51

2-23





                        2.4.5 สถิติภูมิอากาศในพื้นที่ปลูกพืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ภาคใต้

                             สถิติภูมิอากาศในพื้นที่ปลูกพืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่เลือกน ามาศึกษา ในพื้นที่ภาคใต้
                  มีรายละเอียดดังนี้
                             1) สถิติภูมิอากาศจังหวัดสุราษฎร์ธานี (เกาะสมุย) (ตารางที่ 2-34 และ รูปที่ 2-34)

                               เนื่องจากเกาะพะงันไม่มีสถานีตรวจวัดอากาศ จึงใช้สถิติภูมิอากาศจังหวัดสุราษฎร์ธานี
                  (เกาะสมุย) เป็นตัวแทน ในการพิจารณาสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ปลูกมะพร้าวเกาะพะงัน ซึ่งปลูกในพื้นที่
                  อ าเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยเกาะพะงันเป็นเกาะที่ตั้งอยู่ในพื้นที่กลางทะเลอ่าวไทย จาก
                  การวิเคราะห์สมดุลน้ าเพื่อการเกษตรจังหวัดจังหวัดสุราษฎร์ธานี (เกาะสมุย) พบว่า สามารถปลูกพืชได้
                  ทั้งปี เนื่องจากช่วงน้ ามากเกินพอเกือบทั้งปี ที่เหลือก็เป็นช่วงที่มีน้ าเพียงพอ และในช่วงเดือนกุมภาพันธ์

                  แม้ปริมาณฝนจะน้อย แต่ปริมาณฝนใช้การเพียงพอต่อการเพาะปลูก ดังนั้น พื้นที่ปลูกมะพร้าวเกาะพะงัน
                  ซึ่งใช้สถิติข้อมูลเทียบเคียงเกาะสมุย จึงไม่ประสบกับปัญหาการขาดน้ าในพื้นที่เพาะปลูก
                             2) สถิติภูมิอากาศจังหวัดสุราษฎร์ธานี (ตารางที่ 2-35 และ รูปที่ 2-35)

                               ใช้พิจารณาพื้นที่ปลูกเงาะโรงเรียนนาสาร ซึ่งปลูกพื้นที่อ าเภอบ้านนาสาร อ าเภอ
                  บ้านนาเดิม และอ าเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จากการวิเคราะห์สมดุลน้ าเพื่อการเกษตรจังหวัด
                  สุราษฎร์ธานี พบว่า พื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี สามารถปลูกพืชได้เกือบทั้งปี แต่มีช่วงที่พืชเสี่ยงต่อการ
                  ขาดน้ าในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ถึงกลางเดือนมีนาคม จึงควรมีแหล่งน้ าส ารองเพื่อใช้ในการเขตกรรม

                  ในพื้นที่ปลูกเงาะโรงเรียนนาสาร ในช่วงฝนทิ้งช่วงดังกล่าว
                             3) สถิติภูมิอากาศจังหวัดนครศรีธรรมราช (ตารางที่ 2-29 และ รูปที่ 2-29)
                               ใช้พิจารณาพื้นที่ปลูกส้มโอทับทิมสยามปากพนัง ซึ่งปลูกในพื้นที่อ าเภอปากพนัง
                  จังหวัดนครศรีธรรมราช จากการวิเคราะห์สมดุลน้ าเพื่อการเกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราชพบว่า พื้นที่

                  จังหวัดนครศรีธรรมราชสามารถปลูกพืชได้เกือบทั้งปี แต่มีช่วงที่พืชเสี่ยงต่อการขาดน้ าในช่วงปลาย
                  เดือนพฤศจิกายน ถึงต้นเดือนมีนาคม จึงควรมีแหล่งน้ าส ารองเพื่อใช้ในการเขตกรรมในพื้นที่ปลูกส้มโอ
                  ทับทิมสยามปากพนัง ในช่วงฝนทิ้งช่วงดังกล่าว
                             4) สถิติภูมิอากาศจังหวัดพัทลุง (ตารางที่ 2-31 และ รูปที่ 2-31)

                               ใช้พิจารณาพื้นที่ปลูกข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง ซึ่งปลูกในพื้นที่จังหวัดพัทลุง จากการ
                  วิเคราะห์สมดุลน้ าเพื่อการเกษตรจังหวัดพัทลุงพบว่า พื้นที่จังหวัดพัทลุง สามารถปลูกพืชได้ทั้งปี จึงไม่มี
                  ข้อจ ากัดเรื่องการขาดแคลนน้ าในการปลูกข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง

                             5) สถิติภูมิอากาศจังหวัดภูเก็ต (ตารางที่ 2-32 และ รูปที่ 2-32)
                               ใช้พิจารณาพื้นที่ปลูกสับปะรดภูเก็ต ซึ่งปลูกในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต จากการวิเคราะห์
                  สมดุลน้ าเพื่อการเกษตรจังหวัดภูเก็ตพบว่า พื้นที่จังหวัดภูเก็ตสามารถปลูกพืชได้เกือบทั้งปี แต่มีช่วงที่พืช
                  เสี่ยงต่อการขาดน้ าในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ จึงควรมีแหล่งน้ าส ารองเพื่อใช้ในการเขตกรรมในพื้นที่ปลูก
                  สับปะรดภูเก็ต ในช่วงฝนทิ้งช่วงดังกล่าว

                             6) สถิติภูมิอากาศจังหวัดพังงา (ตารางที่ 2-30 และ รูปที่ 2-30)
                               ใช้พิจารณาพื้นที่ปลูกทุเรียนสาลิกาพังงา และข้าวไร่ดอกข่าพังงา ซึ่งปลูกในพื้นที่จังหวัด
                  พังงา จากการวิเคราะห์สมดุลน้ าเพื่อการเกษตรจังหวัดพังงาพบว่า พื้นที่จังหวัดพังงาสามารถปลูกพืชได้
                  ทั้งปี โดยไม่มีข้อจ ากัดเรื่องการขาดแคลนน้ าในการปลูกทุเรียนสาลิกาพังงา และข้าวไร่ดอกข่าพังงา
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56