Page 45 - โครงการศึกษาการจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศพืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของประเทศไทย
P. 45

2-17





                  สับปะรดตราดสีทอง สับปะรดท่าอุเทน สับปะรดศรีราชา กล้วยไข่ก าแพงเพชร กล้วยเล็บมือนางชุมพร

                  ส้มโอทองดีบ้านแท่น ส้มโอทับทิมสยามปากพนัง ส้มโอขาวแตงกวาชัยนาท ส้มโอนครชัยศรี ส้มโอ
                  ขาวใหญ่สมุทรสงคราม ล าไยเบี้ยวเขียวล าพูน ล าไยพวงทองบ้านแพ้ว เงาะโรงเรียนนาสาร ลิ้นจี่แม่ใจ
                  พะเยา ลิ้นจี่ค่อมสมุทรสงคราม ลิ้นจี่นครพนม มะขามหวานเพชรบูรณ์ มะยงชิดนครนายก มะปราง

                  หวานนครนายก ละมุดบ้านใหม่ มะม่วงน้ าดอกไม้สีทองบางคล้า ชมพู่เพชร มะนาวเพชรบุรี และ
                  กระท้อนตะลุง สามารถวิเคราะห์ข้อมูลสภาพภูมิอากาศรายจังหวัด เพื่อเป็นฐานข้อมูลประกอบ
                  ค าแนะน าในการส่งเสริมเกษตรกรเพื่อปลูกพืช GI ดังตารางที่ 2-1 ถึง 2-36 และภาพที่ 2-1 ถึง 2-36
                  และจากข้อมูลสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมของปี พ.ศ. 2534-2563 น ามาพิจารณาเป็นตัวแทน
                  ลักษณะภูมิอากาศ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ปริมาณ

                  น้ าฝนในแต่ละพื้นที่เปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะภูมิประเทศนอกเหนือจากการผันแปรตามฤดูกาล จาก
                  ข้อมูลสถิติสภาพภูมิอากาศดังแสดงในตารางที่ 2-37 ถึง ตารางที่ 2-41
                             ปริมาณน้ าฝนรวมเฉลี่ยตลอดปีของแต่ละภาคนั้น ค านวณจากค่าเฉลี่ยของสถานีตรวจวัด

                  อากาศของจังหวัดที่มีการปลูกพืช GI มาเป็นค่าเฉลี่ย ในการวิเคราะห์สถิติภูมิอากาศของภาคนั้นๆ โดย
                  ภาคเหนือมีปริมาณน้ าฝน 1,243.3 มิลลิเมตร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีปริมาณน้ าฝน 1,388.9 มิลลิเมตร
                  ภาคกลางปริมาณน้ าฝน 1,380.0 มิลลิเมตร ภาคตะวันออกมีปริมาณน้ าฝน 2,144.2 มิลลิเมตร ภาคใต้
                  มีปริมาณน้ าฝน 2,452.2 มิลลิเมตร ปริมาณน้ าฝนในแต่ละพื้นที่เปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะภูมิประเทศ

                  นอกเหนือจากการผันแปรตามฤดูกาล ประเทศไทยตอนบนปกติจะแห้งแล้งและมีฝนน้อยในฤดูหนาว
                  เมื่อเข้าสู่ฤดูร้อนปริมาณน้ าฝนจะเพิ่มขึ้นบ้าง พร้อมทั้งมีพายุฝนฟ้าคะนอง และเมื่อเข้าสู่ฤดูฝนปริมาณฝน
                  จะเพิ่มขึ้นมากโดยจะมีปริมาณน้ าฝนมากที่สุดในเดือนสิงหาคมหรือเดือนกันยายน พื้นที่ที่มีปริมาณ
                  น้ าฝนมากส่วนใหญ่จะอยู่ด้านหน้าทิวเขาหรือด้านรับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนพื้นที่ที่มีฝนน้อย

                  ส่วนใหญ่อยู่ด้านหลังเขา ส าหรับภาคใต้มีฝนตกชุกเกือบตลอดปี

                        -  ความชื้นสัมพัทธ์
                           ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศเป็นอัตราส่วนของจ านวนไอน้ าที่มีอยู่ในอากาศต่อจ านวนไอน้ า

                  ที่อาจมีได้จนอิ่มตัวเต็มที่ในอากาศเดียวกันนั้น ความชื้นสัมพัทธ์จึงก าหนดเป็นเรือนร้อยโดยให้จ านวน
                  ความชื้นที่อิ่มตัวเต็มที่เป็น 100 ส่วน ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตรจึงมีอากาศร้อนชื้น
                  ปกคลุมเกือบตลอดปี ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปีแต่ละภาคมีค่าดังนี้ คือ ภาคเหนือ 75 เปอร์เซ็นต์
                  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 68 เปอร์เซ็นต์ ภาคกลาง 77 เปอร์เซ็นต์ ภาคตะวันออก 77 เปอร์เซ็นต์ และ
                  ภาคใต้ 81 เปอร์เซ็นต์


                        -  อุณหภูมิ
                          ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อน สภาวะอากาศโดยทั่วไปจึงร้อนอบอ้าวเกือบตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ย
                  ตลอดปีของประเทศไทยมีค่าประมาณ 26.8 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตามอุณหภูมิจะมีความแตกต่างกันไป
                  ในแต่ละพื้นที่และฤดูกาล พื้นที่ที่อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดินบริเวณตั้งแต่ภาคกลางและภาคตะวันออกตอนบน
                  ขึ้นไปจนถึงภาคเหนือจะมีอุณหภูมิแตกต่างกันมากระหว่างฤดูร้อนกับฤดูหนาว และระหว่างกลางวัน

                  กับกลางคืน ส าหรับพื้นที่ซึ่งอยู่ติดทะเล ได้แก่ ภาคตะวันออกตอนล่าง และภาคใต้ ความผันแปร
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50