Page 44 - โครงการศึกษาการจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศพืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของประเทศไทย
P. 44
2-16
2.4 สภาพภูมิอากาศ
- ลมมรสุม
ประเทศไทยอยู่ภายใต้อิทธิพลของมรสุมสองชนิด คือ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้และมรสุม
ตะวันออกเฉียงเหนือ โดยลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยระหว่างกลางเดือนพฤษภาคมถึง
กลางเดือนตุลาคม โดยมีแหล่งก าเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูงในซีกโลกใต้ บริเวณมหาสมุทรอินเดีย
ซึ่งพัดออกจากศูนย์กลางเป็นลมตะวันออกเฉียงใต้ และเปลี่ยนเป็นลมตะวันตกเฉียงใต้เมื่อพัดข้ามเส้นศูนย์สูตร
มรสุมนี้จะน ามวลอากาศชื้นจากมหาสมุทรอินเดียมาสู่ประเทศไทย ท าให้มีเมฆมากและฝนตกชุกทั่วไป
โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามบริเวณชายฝั่งทะเลและเทือกเขาด้านรับลมจะมีฝนมากกว่าบริเวณอื่น ส่วนลมมรสุม
ตะวันออกเฉียงเหนือพัดมาปกคลุมประเทศไทยจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ มรสุมนี้มีแหล่งก าเนิดจาก
บริเวณความกดอากาศสูงในซีกโลกเหนือ แถบประเทศมองโกเลียและสาธารณรัฐประชาชนจีน จึงพัดพา
เอามวลอากาศเย็นและแห้ง จากแหล่งก าเนิดเข้ามาปกคลุมประเทศไทย ท าให้ท้องฟ้าโปร่ง อากาศหนาวเย็น
และแห้งแล้งทั่วไป โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้จะมีฝนชุกโดยเฉพาะ
ภาคใต้ฝั่งตะวันออก เนื่องจากมรสุมนี้ น าความชุ่มชื้นจากอ่าวไทยเข้ามาปกคลุม
- ฤดูกาล
จากสภาพทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยจัดอยู่ในประเทศเขตร้อนอันมีที่ตั้งอยู่เหนือเส้นศูนย์
สูตรขึ้นมาเพียงเล็กน้อย สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป จึงเป็นแบบร้อนชื้น อากาศหนาวพัดผ่านเข้ามา
ในระยะเวลาช่วงสั้นๆ เท่านั้น ฤดูกาลส าหรับประเทศไทยแบ่งออกได้เป็น 3 ฤดูกาลประกอบด้วย
1) ฤดูฝน จะมีปริมาณฝนตกชุก เนื่องจากอิทธิพลของลมเมื่อลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
พัดปกคลุมประเทศ เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมไปจนถึงกลางเดือนตุลาคม
2) ฤดูหนาว เริ่มเมื่อลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดเข้าสู่ประเทศไทย โดยมีช่วง
ระยะเวลาตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายนไปจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ระยะนี้ภูมิอากาศของประเทศไทย
จะหนาวเย็น ยกเว้นภาคใต้ที่ยังคงถือว่าเป็นฤดูฝนเพราะยังคงมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง
3) ฤดูร้อน จะมีช่วงระยะเวลาตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม
ช่วงระยะเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่โลกเคลื่อนที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ท าให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนอบอ้าว
และจะร้อนที่สุดในช่วงเดือนเมษายน
- ปริมาณน้้าฝน
การวิเคราะห์ข้อมูลสภาพภูมิอากาศรายจังหวัด จากข้อมูลสถานีตรวจอากาศ (กรมอุตุนิยมวิทยา,
2562 ; 2563) ท าการวิเคราะห์ในพื้นที่จังหวัดที่มีการปลูกพืช GI 48 พืช ได้แก่
1) ข้าว 6 รายการ ได้แก่ ข้าวหอมมะลิดินภูเขาไฟบุรีรัมย์ ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง ข้าวก่ า
ล้านนา ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ข้าวเหลืองปะทิวชุมพร และข้าวไร่ดอกข่าพังงา
2) ผัก/ผลไม้ 42 รายการ ได้แก่ หอมแดงศรีสะเกษ กระเทียมศรีสะเกษ พริกบางช้าง
ทุเรียนปราจีน ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ ทุเรียนสาลิกาพังงา ทุเรียนในวงระนอง มะพร้าวน้ าหอมราชบุรี
มะพร้าวเกาะพะงัน มะพร้าวทับสะแก มะพร้าวน้ าหอมบ้านแพ้ว มะพร้าวน้ าหอมบางคล้า สับปะรดภูแล
เชียงราย สับปะรดนางแล สับปะรดห้วยมุ่น สับปะรดภูเก็ต สับปะรดบ้านคา สับปะรดทองระยอง